นักสังคมสงเคราะห์คนไทยและการทำงานเพื่อช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว

BS cover-Interview-Pang-DV social worker.jpg

นักสังคมสงเคราะห์คนไทยกับการทำงานช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงคนไทยที่ออสเตรเลีย Credit: Supplied, Pexels/Anete Lusina

คุณชฎาภา (แป้ง) สิงห์ลอ อธิบายถึงการทำงานเป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่องค์กรไม่แสวงกำไรที่ Baptist Care Hope Street เมืองซิดนีย์ ให้ความรู้เรื่องความรุนแรงในครอบครัว และเคสที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้หญิงไทยที่ประสบปัญหานี้ รวมถึงหนทางและขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือเหยื่อ


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คุณชฎาภา (แป้ง) สิงห์ลอ นักสังคมสงเคราะห์ (case worker) ที่ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงไทยที่ประสบปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) เล่าถึงการให้บริการของ องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรที่คุณแป้งประจำอยู่ที่ซิดนีย์
Photo-Pang Chadapa (1).jpeg
คุณชฎาภา (แป้ง) นักสังคมสงเคราะห์คนไทยอธิบายการทำงานกับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
“การช่วยเหลือผู้หญิงและบุคคลข้ามเพศทุกคนที่อาศัยอยู่ในนิวเซาท์เวลส์ รวมไปถึงผู้หญิงที่มีพื้นเพเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและผู้หญิงที่ทำงานในสถานบริการด้วยค่ะ ด้วยตัวงานแล้วจะทำงานกับกลุ่มผู้หญิงคนไทยอย่างเดียวที่อยู่ในออสเตรเลีย มีเคสเข้ามาหลากหลาย รวมไปถึงเคสที่เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและความสัมพันธ์ด้วยค่ะ”
พร้อมสร้างความเข้าใจถึงกระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ร้องเรียนให้ได้รับความปลอดภัยและเข้าใจถึงสิทธิและสวัสดิการรัฐที่คนไทยทุกคนควรได้รับ

คุณแป้งอธิบายถึงความหมายของความรุนแรงในครอบครัว (Domestic Violence) ว่ามีความหลากหลายให้ได้เข้าใจและยื่นมือช่วยเหลือแก่หญิงไทยที่ประสบปัญหาอย่างเหมาะสม

“ความรุนแรงในครอบครัวคือพฤติกรรมที่มีการควบคุม ข่มขู่ทำร้าย ซึ่งทำให้คนในคนหนึ่งในความสัมพันธ์เกิดความหวาดกลัว พฤติกรรมเหล่านี้ครอบคลุมไปถึงการทำร้ายร่างกายทุกรูปแบบ การทำร้ายทางด้านจิตใจด้วยคำพูด เช่น การด่าทอ ด้อยค่า ดูถูกเหยียดหยาม การใส่ร้ายอีกฝ่ายว่ามีปัญหาทางจิตหรือเป็นต้นเหตุของความรุนแรงทั้งหลายทั้งมวล”

และได้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างพฤติกรรมอื่นๆ รวมถึงการบังคับควบคุม (coercive control)
ส่วนใหญ่คือจะใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือ รูปแบบของ coercive control คือการบังคับควบคุมที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ปลอดภัยทางด้านร่างกายและจิตใจค่ะ
เหยื่อของความรุนแรง
เหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวหาความช่วยเหลือ Credit: Pexels/RODNAE Productions
คุณแป้งยังเล่าถึงบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ที่ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงไทยที่ประสบปัญหาด้านความรุนแรงเพื่อความเข้าใจถึงความเป็นส่วนตัวและมืออาชีพ โดยให้ความปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่งแก่ผู้ร้องเรียน
นักสังคมสงเคราะห์ต้องรับฟังเรื่องราวของผู้ที่ประสบความรุนแรงแบบไม่ตัดสินและเชื่อเรื่องราวของผู้ที่มาร้องเรียน
"อีกทั้งยังมีหน้าที่ประเมินความเสี่ยงและวางแผนความปลอดภัยให้กับผู้หญิงที่มาขอความช่วยเหลือ พร้อมให้ความรู้เรื่องสิทธิหรือสวัสดิการที่ทางรัฐมีให้สำหรับผู้หญิงไทยที่ถือวีซ่าทุกประเภท โดยสามารถติดต่อและรับคำปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย”

คุณแป้งยังแชร์ถึงเคสความรุนแรงของผู้หญิงไทยที่พบบ่อยและความประทับใจในการทำงานเมื่อได้เห็นผู้หญิงไทยที่มาขอความช่วยเหลือได้มีออกมาเริ่มต้นชีวิตใหม่นับเป็นรางวัลของอาชีพนักสังคมสงเคราะห์
ฟังได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
กด ▶ ฟังบทสัมภาษณ์ของคุณชฎาภานักสังคมสงเคราะห์คนไทยฉบับเต็ม
Thai Interview DV Social worker 210823 image

นักสังคมสงเคราะห์คนไทยและการทำงานเพื่อช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว

SBS Thai

18/08/202316:25


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share