กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
สถิติระบุว่าประชาชนออสเตรเลียหลายคนตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงด้วยน้ำมือของคนในครอบครัว
ผู้หญิง 1 ใน 6 คนและผู้ชาย 1 ใน 18 คนประสบความรุนแรงทางร่างกายและความรุนแรงทางเพศโดยคู่ครอง
ดร. นาดา อิบราฮิม (Dr. Nada Ibrahim) ผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงในครอบครัวจากศูนย์คุ้มครองเด็ก (Centre for Child Protection) แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์ ออสเตรเลีย (University of South Australia) กล่าวว่าความรุนแรงในครอบครัวมีหลายรูปแบบ
“ปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเป็นคำที่ใช้เรียกความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวทุกประเภท รวมถึงคู่ครองและคู่นอนด้วย ยังหมายถึงการทารุณกรรมเด็ก การละเมิดผู้สูงอายุ การทารุณกรรมระหว่างพี่น้อง รูปแบบความรุนแรงใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นในบ้าน”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ความรุนแรงในครอบครัวและช่องทางช่วยเหลือในออสเตรเลีย
เหยื่อความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศส่วนมากเป็นผู้หญิง
เมื่อเราพูดถึงความรุนแรง มันไม่ใช่แค่ทางภายภาพ ความรุนแรงเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ได้แก่ ความรุนแรงทางร่างกาย การควบคุมทางการเงิน การคุกคาม หรือการบังคับควบคุม
ดร. อิบราฮิมกล่าวว่าหลายคนไม่ทราบว่าความรุนแรงอาจเป็นการแสดงออกโดยไม่ได้ตั้งใจหรือมีหลายวิธี
ในบางวัฒนธรรมอาจไม่ระบุถึงสิ่งอื่นนอกเหนือจากการทำร้ายร่างกายว่าเป็นความรุนแรงในครอบครัว
"พวกเขาอาจระบุว่าความรุนแรงทางร่างกายไม่เป็นที่ยอมรับในชุมชนเนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ แต่ไม่ได้ระบุถึงสิ่งอื่นๆ เช่น การใช้วาจาเพื่อทำร้ายจิตใจ การใช้จิตวิทยา การควบคุมการเงิน หรือการใช้วิธีทางสังคม”
บางกรณี ความเชื่อทางศาสนาหรือแรงกดดันจากครอบครัวอาจเพิ่มความซับซ้อนให้กับสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวได้
หน่วยงานความรุนแรงในครอบครัวบางหน่วยงานอาจไม่สามารถจัดการกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ แต่ยังมีบางองค์กรเช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความรุนแรงในครอบครัวสำหรับชุมชนผู้อพยพและผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะ
คุณอนุ คริชนัน (Anu Krishnan) ผู้อำนวยการคัลเจอร์บริลล์ (Kulturebrille) บริษัทที่ให้คำปรึกษาเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่าง เธอเตือนว่าบางครั้งความกดดันเนื่องจากการอพยพย้ายถิ่นกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว
“ชุมชนผู้อพยพมีความเครียดเรื่องการใช้ชีวิตในวัฒนธรรมใหม่ ปัญหาเรื่องการหางานและโอกาสในการทำงานมักเป็นความท้าทายเรื่องภาพลักษณ์ของแต่ละเพศ และการประสบกับวัฒนธรรมใหม่ที่เสรีกว่า ซึ่งแตกต่างไปในประเทศบ้านเกิด”
คุณคริชนันย้ำว่า การป้องกันความรุนแรงในครอบครัวนั้นจะได้ผลก็ต่อเมื่อทั้งชุมชนมีส่วนร่วม
ต้องมีการสนับสนุนอย่างมากให้ผู้หญิงกล้าหรือมั่นใจพอที่จะขอความช่วยเหลือ ต้องมีโครงการรณรงค์จากชุมชน
"เพื่อให้สมาชิกชุมชนคนอื่นๆ มีส่วนร่วมและช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เพื่อให้ไม่รู้สึกว่าถูกทอดทิ้งจากชุมชน บ่อยครั้งผู้หญิงไม่ขอความช่วยเหลือเพราะมีความละอายใจที่จะพูดถึงความรุนแรงของคู่นอนของเธอ เราต้องขจัดความอับอายนั้นออกไป และบอกพวกเขาว่ามันโอเคที่จะพูดถึงเรื่องนี้ พวกเขาจะไม่ถูกตำหนิ”
คุณคริชนันกล่าวว่าผู้หญิงที่เป็นผู้อพยพประสบกับอุปสรรคเมื่อพวกเขาพยายามขอความช่วยเหลือ พวกเธอมักรู้สึกโดดเดี่ยวและไม่ทราบว่าควรไปที่ไหน
“พวกเขากลัวที่จะรายงาน และหากพวกเขารายงานแล้วพวกเขาจะไปที่ไหน? พวกเขาไม่ชินกับการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นหรือไปอยู่ที่สถานสงเคราะห์เฉพาะสำหรับสตรี พวกเขามีภาพสถานสงเคราะห์ที่ไม่ดี ผู้หญิงหลายคนมีปัญหาเรื่องวีซ่า พวกเขาอาจพึ่งพาเรื่องค่าครองชีพจากคู่ครอง บางครั้งพวกเขาไม่สามารถพาลูกย้ายออกมาได้”
ผู้หญิงถูกเอามือปิดปากจากด้านหลัง Credit: Pexels/Anete Lusina
เธอกล่าวว่าสิ่งสำคัญคือผู้ชายควรเข้าร่วมโครงการรณรงค์เหล่านี้ด้วย
“ผู้ชายสามารถมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความสัมพันธ์ที่เคารพกันละกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง และมีทัศนคติที่ให้เกียรติต่อผู้หญิง รวมถึงแสดงทัศนคติกับสถานการณ์ที่ทำให้ความรุนแรงต่อสตรีเป็นเรื่องเล็กน้อย”
มีหลายบริการช่วยเหลือผู้อพยพที่เป็นผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว
หลายองค์กรทำงานร่วมกับล่ามเพื่อให้ความช่วยเหลือในทุกภาษา
หากคุณประสบกับเหตุความรุนแรง คุณยังสามารถรายงานกับแพทย์รักษาโรคทั่วไป (GP) ซึ่งสามารถให้คำแนะนำและส่งต่อไปยังบริการที่เกี่ยวข้องได้
แต่หากคุณตกอยู่ในอันตราย คุณลอบไวน์กล่าวว่าอย่าลังเลที่จะโทรเบอร์ฉุกเฉิน 000
“ฉันรู้ว่าผู้หญิงหลายคนกลัวการที่ให้ตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้อง พวกเขาคิดว่าจะเป็นการทำลายครอบครัวของพวกเขา แต่ตำรวจถูกฝึกฝนมาให้รับมือในการทำงานให้ทุกคนปลอดภัย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการยุติความสัมพันธ์หรือยุติการแต่งงาน ดังนั้น โปรดโทรหา ศูนย์ ศูนย์ ศูนย์”
บริการให้ความช่วยเหลือ:
- หากคุณหรือบุคคลอื่นตกอยู่ในอันตราย โทรสายด่วนฉุกเฉิน 000
- บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวหรือการประทุษร้ายทางเพศ (1800RESPECT) โทร 1800 737 732 หรือ
- บริการให้ข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพจิต 24 ชั่วโมง (Beyond Blue) 1300 224 636 หรือ
- ติดต่อบริการล่ามโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (TIS) โทร 131 450
ซีรีส์เรื่อง Safe Home เป็นละครเรื่องราวเบื้องหลังความรุนแรงในครอบครัว สามารถรับชมได้ทางช่อง SBS และ นะคะ
แหล่งบริการช่วยเหลือสำหรับเหยื่อความรุนแรง:
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เข้าใจอุปสรรคของผู้รอดชีวิตจากความรุนแรง