เข้าใจอุปสรรคของผู้รอดชีวิตจากความรุนแรง

Victim of domestic violence

เหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว Source: Pexels/Anete Lusina

หลายฝ่ายชี้ผู้หญิงจากต่างวัฒนธรรมและภาษาอาจพบอุปสรรคแตกต่างกันไป ในการขอความช่วยเหลือ สถานที่ทำงานควรให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงในครอบครัวมากกว่านี้


คุณเฮเลน ครอสส์ (Helen Cross) ทำงานในโรงงานในเมลเบิร์น เธอเติบโตบนเกาะคีรีบัสในหมู่เกาะแปซิฟิก เธอพบว่าการขอความช่วยเหลือในออสเตรเลียนั้นยาก เมื่อเธอพยายามหลบหนีจากคู่ครองที่ทำร้ายเธอ

“การต้องถูกแยกออกจากโลกที่เหลือ เรามีวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของเรา และมีสิ่งที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเรา ฉันไม่เคยได้ยินคำว่า ลี้ภัย’ จนฉันมาอยู่ออสเตรเลีย”

Helen Cross
คุณเฮเลน ครอสส์ ผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงในครอบครัว Source: SBS


 

สถาบันสุขภาพและสวัสดิการกล่าวว่า 1 ใน 6 ของผู้หญิง และ 1 ใน 6 ของผู้ชาย ในออสเตรเลียประสบเหตุความรุนแรงทางร่างกายและเพศสัมพันธ์จากคู่ครองปัจจุบันหรือในอดีต ตั้งแต่อายุ 15 ปี

ผู้หญิง 1 ใน 4 และผู้ชาย 1 ใน 6 ประสบเหตุความรุนแรงทางจิตใจ

สำหรับชุมชนพหุวัฒนธรรม คุณเฮย์ลีย์ ฟอสเตอร์ (Hayley Foster) ผู้บริหารหน่วยงานช่วยเหลือจากการข่มขืนและความรุนแรงใจครอบครัวแห่งออสเตรเลีย (Rape and Domestic Violence Services Australia) กล่าวว่า ปัจจัยหลายอย่างอาจซับซับซ้อนมากขึ้น เมื่อพูดถึงเรื่องความรุนแรงในครอบครัว

“ปัจจัยอย่าง กำแพงของภาษา การเลือกปฏิบัติเมื่อเหยื่อพยายามเข้าถึงบริการ พวกเขาอาจประสบความแปลกแยกทางสังคมในระดับหนึ่ง  มากกว่าคนอื่นๆ ในชุมชน และอาจมีปัจจัยอย่างเช่น เรื่องวีซ่า ความไม่แน่นอนเรื่องสถานะวีซ่า ซึ่งส่งผลกระทบในด้านความสามารถในการเข้าถึงความช่วยเหลือ”


คุณแซนดรา ไรท์ (Sandra Elhelw Wright) ผู้บริหารสมาพันธ์การตั้งถิ่นฐานแห่งออสเตรเลีย เห็นด้วยในเรื่องนี้

“ผู้หญิงที่เป็นผู้อพยพอาจมีคำที่อธิบายสิ่งที่พวกเขาประสบต่างกัน และพวกเขาอาจไม่ใช้คำว่า ความรุนแรง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะพูดภาษาอังกฤษได้ดี แต่พวกเขาอาจกลัวว่าชุมชนของพวกเขาอาจทราบเรื่องและนำมาถึงความอับอาย”
การเข้าถึงการจ้างงานก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงในครอบครัวประสบ หน่วยงานช่วยเหลือกล่าวว่า สถานที่ทำงานควรให้ความช่วยเหลือมากกว่านี้

คุณซู บอยส์ (Sue Boyce) ผู้บริหารองค์กรอะบิลิตี เวิร์กส์ (Ability Works) หน่วยงานสังคมสงเคราห์ที่ช่วยให้ผู้ที่มีภูมิหลังด้อยโอกาสสามารถหางานได้ กล่าวว่า

“ผู้ที่ประสบความรุนแรงในครอบครัวอาจต้องการชั่วโมงทำงานที่ยืดหยุ่นได้ พวกเขาอาจต้องขอลาเพิ่มเติมในบางโอกาส”

สำหรับคุณเฮเลน เธอชี้ว่าการหาสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย

“ฉันหวาดกลัวการทำงานร่วมกับผู้ชาย เพราะฉันถูกควบคุมให้ยอมจำนนอย่างมากมาเกือบทั้งชีวิต นั่นทำให้ฉันเห็นด้วยเกินไปกับผู้ที่มีอำนาจ”

ตอนนี้ เธอเป็นหัวหน้าแผนกการผลิตที่อะบิลิตี เวิร์กส์ สถานที่ทำงานที่เธอเรียกว่า “บ้าน”

“การทำงานทำให้ฉันมีจุดมุ่งหมาย ให้ความภาคภูมิใจในการมีตัวตน ซึ่งฉันสามารถทำงานให้คนที่อยู่รอบข้างฉัน และรู้ว่าการเดินเข้ามาทำงานทุกวัน ฉันมีความสำคัญ ฉันไม่เคยรู้มาก่อนว่าแนจะมีสิ่งนี้อีก”

หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักต้องการความช่วยเหลือจากเหตุความรุนแรงในครอบครัว คุณสามารถโทรสายด่วนผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวที่ 1800 943 539 หรือโทร 1800 RESPECT ที่เบอร์ 1800 737 732


หากคุณหรือบุคคลอื่นตกอยู่ในอันตรายฉุกเฉิน โทร. 000

หากต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวหรือการประทุษร้ายทางเพศ ติดต่อบริการ 1800RESPECT โทร. 1800 737 732 หรือ 

Lifeline โทร. 13 11 14 หรือ 

Kids Helpline โทร. 1800 55 1800 หรือ  (บริการปรึกษา 24 ชั่วโมงสำหรับเยาวชน)

[node_list uuid="6bef9741-c6ad-464e-bd5e-c78db62a7980,d48077ee-a8d6-4a1b-8d59-d93391a5f983,35560556-a1a3-4e94-881d-3accad1ca959,7c7cf906-6243-4809-8bb9-4bb7d8634793,e60fae9e-2175-41ba-8bea-7fa17cacbbf2,a489d562-22b1-4c8e-9f78-47867dad4f1a,ca96e450-043b-4c1e-8991-0eaf95e2dac8,97d6764d-d8fd-4fdd-bb25-cd74852a6ce2,60569351-f2a3-4e69-af74-2ab6541ea96a,122afc3d-f59f-4b32-b2d8-ab7ba7d31c0f


Share