คุณเรืองศักดิ์ พงษ์กระโทก (คิง) นักสังคมสงเคราะห์เด็ก (Youth Development Worker) จาก Barkly Regional Council และ Safe Place for Children อธิบายถึงการทารุณกรรมเด็ก (Child abuse) ว่าความบกพร่องในฐานะผู้ปกครองหรือคนดูแล มีทั้งทางร่างกาย (Physical) ทางอารมณ์ (Emotional) หรือการล่วงละเมิด (Sexual abuse) ทำให้เด็กไม่ปลอดภัยหรืออาจเสียชีวิต
“การใช้ความรุนแรงที่ใช้ไม้ อะไรประมาณนี้ จะเรียกเป็นการทารุณแล้ว แบบนี้ผู้ปกครองอาจถูกจับได้ครับ"
คุณเรืองศักดิ์ (คิง) นักสังคมสงเคราะห์เด็กในออสเตรเลีย Credit: Rueangsuk Pongkratok
“ทางโรงเรียนมีสิทธิ์ที่จะติดต่อตำรวจหรือหน่วยงานดูแลเด็ก (Child protection) ถ้าสมมติว่ามีหลักฐานการทำร้ายร่างกายรุนแรง ถ้าเด็กต่ำกว่า 16 สามารถถูกพาตัวออกมาจากพ่อแม่หรือผู้ปกครองได้เลย เพื่อให้ไปอยู่ในสถานดูแล (Residential care)”
คุณคิงยังอธิบายถึงการทารุณกรรมทางจิตใจว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
คำพูดเล็กๆ น้อยๆ จะส่งผลกระทบอะไรหลายๆ อย่างกับเด็กคุณเรืองศักดิ์กล่าว
คุณคิงเล่าเรื่องที่เคยพบเป็นตัวอย่างเรื่องการทารุณกรรมทางจิตใจ ระหว่างลูกสาววัยรุ่นและพ่อที่ไม่เข้าใจลูก และผลเสียในระยะยาวกับเด็ก รวมถึงการบังคับควบคุมทางด้านการเงิน (Financial abuse)
คลิก ▶ เพื่อฟังบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
LISTEN TO
การทารุณกรรมเด็กมีอะไรบ้าง และมีผลกระทบกับเด็กอย่างไรในอนาคต
SBS Thai
05/09/202216:40
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สิทธิ์ของเด็กในออสเตรเลีย