ความรุนแรงในครอบครัวและช่องทางช่วยเหลือในออสเตรเลีย

ปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อสตรีเกิดขึ้นหลายรูปแบบไม่ว่าทางกายหรือจิตใจ มีอะไรเป็นสัญญาณเตือนบ้าง และจะขอความช่วยเหลือหรือช่วยคนที่คุณรู้จักได้อย่างไร

Stock photo

Source: Getty Images

แต่ละสัปดาห์ มีผู้หญิงในออสเตรเลียเฉลี่ยหนึ่งคน

ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวคดีฆาตกรรม และ ตอกย้ำถึงปัญหาอันน่าสะเทือนใจนี้ ทั้งคู่เสียชีวิตจากน้ำมือของคู่ครองหรืออดีตคู่ครอง ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นที่บ้านของพวกเธอเอง

“เราเห็นกรณีตัวอย่างเช่นนี้ไม่น้อยในออสเตรเลียช่วงที่ผ่านมา” คุณแจ็คกี วัตต์ (Jacqui Watt) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ No To Violence องค์กรรณรงค์ยุติพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในครัวเรือนโดยผู้ชาย กล่าวว่า “ถึงเวลาแล้วที่เราควรให้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเป็นวาระฉุกเฉินของชาติ เป็นอะไรที่เราจะไม่อดทนยอมรับอีกต่อไป”

ความรุนแรงต่อสตรีคืออะไร

องค์กรเพื่อการป้องกันความรุนแรง Our Watch ระบุว่า ความรุนแรงต่อสตรีเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้ความรุนแรงในครอบครัวและความสัมพันธ์ ความรุนแรงระหว่างคบหาดูใจ การคุกคามทางเพศในที่ทำงาน การคุกคามในที่สาธารณะ การคุกคามออนไลน์ หรือแม้แต่พฤติกรรมบังคับควบคุม
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

รู้เท่าทันภัยความรุนแรงในครอบครัว

ทั้งยังอาจทับซ้อนกับปัญหาการใช้ความรุนแรงบนพื้นฐานทางเพศและเชื้อชาติต่อผู้หญิงชาวอะบอริจินและชาวเกาะแห่งช่องแคบทอร์เรส (Aboriginal and Torres Strait Islander) การเหยียดเพศและเกลียดชังคนข้ามเพศที่ผู้หญิงข้ามเพศประสบ ตลอดจนการใช้ความรุนแรงในสถานบริบาลต่อผู้หญิงที่เป็นผู้พิการ

คุณแพตตี คินเนอร์สลีย์ (Patty Kinnersly) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารองค์กร Our Watch กล่าวว่า ปัญหานี้สัมพันธ์กับความแตกต่างระหว่างเพศ เนื่องจากพบว่าส่วนมากผู้ชายเป็นผู้กระทำต่อผู้หญิง ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย หรือ เอบีเอส (Australian Bureau of Statistics: ABS) ชี้ว่า

“[ความรุนแรง]เกิดขึ้นที่บ้าน ตามท้องถนน ที่ทำงาน โรงเรียน หรือออนไลน์ และมักกระทำโดยน้ำมือของชายที่เป็นคนรู้จักของผู้หญิง” คุณคินเนอร์สลีย์กล่าว พร้อมเพิ่มเติมว่า ประเด็นนี้ต้องอาศัย “ความเข้าใจในภาพกว้าง” เพื่อป้องกันความรุนแรงทุกรูปแบบ

“การป้องกันความรุนแรงต่อสตรีทุกรูปแบบโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ รวมถึงพิจารณาความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อชีวิตของผู้หญิง เหล่านี้คือกุญแจหยุดยั้งก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น”

ความรุนแรงในครอบครัวคืออะไร

ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในบริบทความสัมพันธ์กับคู่ครอง อดีตคู่ครอง ครอบครัว หรือความสัมพันธ์กับผู้ให้การดูแล เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ อาทิ การทารุณทางกาย คำพูด อารมณ์ หรือเพศ การแยกตัวออกจากสังคม การสะกดรอยติดตาม การข่มเหงผ่านการเงิน เทคโนโลยี วัฒนธรรม หรือศรัทธาความเชื่อ
Stock photo
Source: Getty Images
1 ใน 3 ของผู้หญิงชาวออสเตรเลียมีประสบการณ์ถูกผู้ชายกระทำทารุณทางกายหรือทางเพศตั้งแต่อายุ 15 ปี จาก

งานศึกษาวิจัยโดยองค์กร Our Watch พบว่า ชาวออสเตรเลียครึ่งหนึ่งมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะตระหนักรู้ถึงพฤติกรรมทารุณในความสัมพันธ์ที่ไม่ได้กระทำทางกายภาพ ข้อมูลจากเอบีเอสยังพบว่า ผู้หญิงกว่า 1 ใน 4 เคยมีประสบการณ์ถูกคู่ครองข่มเหงทารุณในลักษณะนี้

คุณฟิโอนา มอร์ต (Fiona Mort) ผู้บริหารสายด่วนช่วยเหลือกรณีความรุนแรงทางเพศและในครอบครัว 1800RESPECT อธิบายว่า “แต่ก่อนคนมักคิดว่า[ความรุนแรงในครอบครัว]หมายถึงเฉพาะที่เกิดขึ้นทางกาย แต่ที่จริงแล้วครอบคลุมพฤติกรรมใด ๆ เพื่อพยายามควบคุมอีกฝ่าย”

“อาจข้องเกี่ยวกับการลงมือกระทำหรือข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรงทางกายหรือทางเพศ ทั้งยังรวมถึงการห้ามไม่ให้อีกฝ่าย... ซึ่งมักเป็นผู้หญิง... ทำสิ่งที่เธอต้องการ”

การบังคับควบคุมคืออะไร

หลายเสียงในออสเตรเลียเรียกร้องให้ การบังคับควบคุมในบริบทความรุนแรงในครอบครัวมักแสดงออกในรูปแบบการข่มเหงทารุณทางอารมณ์และจิตใจที่มุ่งสร้างความกลัว วางอำนาจและควบคุมอีกฝ่าย

คุณมอร์ตกล่าวว่า การบังคับควบคุมอาจรวมถึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงติดต่อเพื่อนและครอบครัว หรือเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาวัฒนธรรม ตลอดจนสะกดรอยติดตามด้วยวิธีต่าง ๆ หรือขัดขวางไม่ให้มีอาชีพการงาน

“ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมแบบไหน ก็ล้วนมีผลกระทบทางจิตใจที่มุ่งควบคุมชีวิตของอีกฝ่าย” คุณมอร์ตกล่าว

คุณแจ็คกี วัตต์ อธิบายเพิ่มว่า “อาจสังเกตเห็นได้ยากมาก อาจเกิดขึ้นช่วงระยะเวลาหนึ่ง และคนอาจไม่ทันตระหนักถึง”

“นี่คือสิ่งที่เราต้องปรับปรุงทั่วทั้งออสเตรเลีย ช่วยให้ผู้คนตระหนักถึงความเสี่ยงและอันตรายในสถานการณ์ของตน อีกทั้งบริการช่วยเหลือต้องตอบสนองต่อสัญญาณเตือนเหล่านั้น”

มีอะไรเป็นสัญญาณเตือนบ้าง

ประสบการณ์ความรุนแรงในครอบครัวพบได้หลายรูปแบบ แต่มีสัญญาณบางอย่างที่อาจสื่อว่าบุคคลตกอยู่ในความสัมพันธ์รุนแรงหรือกำลังเผชิญกับพฤติกรรมควบคุม บางสัญญาณสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไปที่จะจับสัญญาณเหล่านี้

คุณคินเนอร์สลีย์กล่าวว่า สัญญาณที่ช่วยระบุการกระทำทารุณนอกเหนือจากทางกายอาจรวมถึงพฤติกรรมติดตามจับตาความเคลื่อนไหวออนไลน์ของคู่ครอง อ่านข้อความบนโทรศัพท์ พูดจาดูถูกด้อยค่า และควบคุมการใช้เงิน

“พฤติกรรมประเภทนี้มักได้รับการให้อภัย ไม่ถือสาหาความ มีข้ออ้าง หรือปล่อยผ่านไป แต่พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ควรมีอยู่ในความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกัน”

คุณวัตต์กล่าวว่า ผู้หญิงที่ถูกใช้ความรุนแรงอาจตระหนักถึงพฤติกรรมเช่นนี้ได้โดยตั้งคำถามว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากเธอทำสิ่งต่าง ๆ โดยอิสระ
“จะเกิดอะไรขึ้นหากคุณพูดว่า ‘ฉันจะออกไปเจอเพื่อนนะ’ เขาแยกคุณออกจากเพื่อนและครอบครัวหรือเปล่า เขาพยายามควบคุมความเคลื่อนไหวของคุณหรือไม่ เขาบอกว่าคุณต้องรับผิดชอบเวลาเขาโมโหหรือเปล่า”

คุณมอร์ตเห็นด้วย พร้อมเสริมว่า “ถ้าคุณรู้สึกเหมือนต้องถามตัวเองก่อนเสมอว่าทำสิ่งนี้ได้ไหม อีกฝ่ายจะว่าอย่างไรถ้าคุณทำ ดิฉันคิดว่าคุณคงเริ่มเข้าใจแล้วว่ามีบางคนกำลังควบคุมชีวิตคุณอยู่”

“เรามีคำเรียกให้สิ่งต่าง ๆ แต่ถ้าประสบการณ์ของคุณไม่ตรงกับคำที่คนอื่นเรียกหรือบรรยายไว้ นั่นไม่ได้หมายความว่าพฤติกรรมนั้นไม่เข้าข่ายความรุนแรงในครอบครัว และไม่ได้หมายความว่าไม่มีประโยชน์ที่จะเล่าเรื่องนี้ให้ใครสักคนฟัง”

คุณมอร์ตยังสนับสนุนให้ครอบครัวและเพื่อนหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน

“หากผู้หญิงคนนั้นเป็นคนร่าเริงเข้าสังคม แล้ววันหนึ่งกลับเปลี่ยนไปจากเดิม อาจบ่งชี้ว่าบางอย่างไม่ถูกต้อง”

ขอความช่วยเหลืออย่างไร

อันดับแรก หากคุณรู้สึกไม่ปลอดภัย ติดต่อตำรวจที่หมายเลขโทรศัพท์ 000 หรือบริการฉุกเฉินกรณีวิกฤตของรัฐหรือมณฑล

ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าควรทำอย่างไร คุณมอร์ตแนะนำให้ติดต่อสายด่วน 1800RESPECT โทร. 1800 737 732 เพื่อให้ช่วยติดต่อบริการสนับสนุนในท้องถิ่น

“[ช่องทางติดต่อขอความช่วยเหลือ]เหล่านี้ไม่จำกัดแค่สำหรับผู้หญิงเท่านั้น ครอบครัว เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน สามารถติดต่อเราเพื่อปรึกษาว่าจะช่วยอย่างไรได้บ้างเช่นกัน”

ศึกษารายชื่อบริการสนับสนุนและหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องได้ที่เว็บไซต์

ฝ่ายชายที่ต้องการปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมความสัมพันธ์ที่น่ากังวล สามารถติดต่อบริการ Men's Referral Line โทร. 1300 766 491 หรือศึกษาบริการจากองค์กร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงบริการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงต่อสตรี

“เราอยากให้ฝ่ายชายโทรศัพท์เข้ามากันมากขึ้น เพราะเรามองว่าทุกสายสนทนาเป็นโอกาสเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม” คุณวัตต์กล่าว

คำสั่งคุ้มครองจากความรุนแรงในครอบครัวคืออะไร

มีเครื่องมือหลายอย่างที่ผู้ประสบความรุนแรงในครอบครัวสามารถใช้ป้องกันตัวเองจากการกระทำทารุณ ข่มเหง หรือคุกคามเพิ่มเติมจากเดิม หนึ่งในนั้นคือ คำสั่งคุ้มครองจากความรุนแรงในครอบครัว
คำสั่งคุ้มครองมีชื่อเรียกต่างกันในแต่ละรัฐ และมีกระบวนการยื่นขอแตกต่างกันไป

คุณจาโคบา บราส์ช (Jacoba Brasch) ประธานสภาทนายความแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า การเริ่มกระบวนการยื่นคำร้องทำได้ผ่านสองแนวทางหลัก

"วิธีปกติคือ เพื่อนบ้านหรือตัวคุณเรียกตำรวจ จากนั้นตำรวจจะประเมินสถานการณ์ แล้วยื่นคำร้องขอคำสั่งคุ้มครองในนามของคุณ หรือคุณอาจไปกรอกแบบฟอร์มที่ศาลด้วยตัวเองหรือทางออนไลน์ และคุณสามารถยื่นคำร้องเป็นการส่วนตัวได้" คุณบราส์ชอธิบาย

สำหรับผู้ที่ต้องการยื่นคำร้องเป็นการส่วนตัว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรขอคำปรึกษาจากบริการช่วยเหลือด้านความรุนแรงในครอบครัวก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าจะเป็นแนวทางดำเนินการที่ปลอดภัยที่สุด

คุณโทมัส สปอว์ (Thomas Spohr) นักกฎหมายจาก Legal Aid NSW กล่าวว่า คำสั่งคุ้มครองจะระบุเงื่อนไขว่าผู้ต้องหาควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ทั้งนี้ ส่งผลให้คำสั่งคุ้มครองจากความรุนแรงในครอบครัวส่วนใหญ่เป็นที่ยอมรับและมีผลบังคับใช้ได้ทั่วทุกรัฐและมณฑล หากพิสูจน์ได้ว่าผู้ต้องหาฝ่าฝืนเงื่อนไขในคำสั่งคุ้มครองอาจมีโทษปรับหรือจำคุก

สำหรับผู้ที่มีพื้นเพหลากภาษาและวัฒนธรรม

ผู้หญิงที่มีพื้นเพหลากภาษาและวัฒนธรรม อาทิ ชาวอะบอริจินและชาวเกาะแห่งช่องแคบทอร์เรส ผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน และนักเรียนต่างชาติ อาจเผชิญข้อเสียเปรียบและถูกเลือกปฏิบัติ ทั้งยังอาจมีอุปสรรคเพิ่มเติมที่ทำให้ขอความช่วยเหลือลำบากยิ่งขึ้น

คุณมอร์ตกล่าวว่า บางครั้งปัจจัยอยู่ที่ว่า ผู้หญิงเหล่านี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่หรือไม่ อาศัยอยู่ในออสเตรเลียมานานแค่ไหน และคุ้นเคยกับบริการที่มีอยู่มากเพียงใด

“พวกเธออาจไม่รู้ว่าต้องไปที่ไหน อาจกลัวว่าบริการของรัฐจะไม่เป็นอย่างที่คาด เราจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับพวกเธอผ่านทางผู้นำชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์บริการของเรา และสารของเราที่ว่า ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้”

คุณมอร์ตแนะนำด้วยว่า บริการด้านความรุนแรงในครอบครัวส่วนใหญ่เข้าถึงบริการแปลภาษาได้

คุณคินเนอร์สลีย์เสริมว่า มีหลายหน่วยงานให้บริการเฉพาะทางด้านนี้ เช่น

เยี่ยมชมเว็บไซต์ ของกระทรวงบริการสังคม สำหรับข้อมูลเพื่อผู้ย้ายถิ่นฐานมายังออสเตรเลียทั้งชายและหญิง
สารคดีเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว What You Made Me Do ชมฟรีออนไลน์ทาง SBS On Demand ดูเพิ่มเติมที่


หากคุณหรือบุคคลอื่นตกอยู่ในอันตรายฉุกเฉิน โทร. 000

หากต้องการขอคำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวหรือการประทุษร้ายทางเพศ ติดต่อบริการ 1800RESPECT โทร. 1800 737 732 หรือ 

Lifeline โทร. 13 11 14 หรือ 

Kids Helpline โทร. 1800 55 1800 หรือ  (บริการปรึกษา 24 ชั่วโมงสำหรับเยาวชน)

Men’s Referral Service โทร. 1300 766 491หรือ  (บริการปรึกษาทางโทรศัพท์สำหรับผู้ชายโดยไม่เปิดเผยชื่อและเป็นความลับ)

 โทร. 1800 184 527 (บริการสนับสนุนสำหรับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ)

สายด่วนแห่งชาติแจ้งการกระทำทารุณและละเลยทอดทิ้งผู้พิการ โทร. 1800 880 052

ELDERHelp โทร. 1800 353 374

สวัสดิภาพสมาคม Thai Welfare Association องค์กรช่วยเหลือคนไทยในออสเตรเลีย โทร. 02 9264 3166 (หากไม่มีผู้รับสายสามารถฝากข้อความได้) หรืออีเมล  



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอสไทยได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์กเพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุดหรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 19 May 2021 6:02pm
By Emma Brancatisano
Presented by Phantida Sakulratanacharoen

Share this with family and friends