เชมซิยา วาโค วาริทู (Shemsiya Wako Waritu) เป็นผู้หนึ่งที่เคยถูกคนพูดจาเหยียดเชื้อชาติของเธอมาหลายครั้ง
คุณ วาริทู สตรีชาวมุสลิมเชื้อสายเอธิโอเปีย อาศัยอยู่ในออสเตรเลียมาราว 10 ปีแล้ว และเธอได้กลายเป็นพี่เลี้ยง (mentor) ที่คอยชี้แนะแนวทางให้แก่คนอื่นๆ ที่มีความศรัทธาทางศาสนาเช่นเดียวกับเธอ
แต่เมื่อคนแปลกหน้ากลุ่มหนึ่งบอกกับเธอและลูกสาวให้ “กลับประเทศไปซะ” เธอตัดสินใจไม่แจ้งเหตุการณ์นี้ให้เจ้าหน้าที่ทราบ
“สำหรับฉันแล้ว สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้คือ เงียบเสียแล้วเดินออกมาจากตรงนั้น ซึ่งพวกเราก็ทำเช่นนั้น” เธอบอกกับ เอสบีเอส นิวส์ “พวกเราแค่เดินออกมา และจากนั้นฉันแค่บอกกับเธอถึงประสบการณ์ที่ประเทศของฉันและบอกว่าประเทศนี้ให้อะไรแก่ฉันอย่างมากมายเพียงไร”
คุณวาริทู กล่าวว่า การเหยียดเชื้อชาติเป็นปัญหาหนึ่งที่สตรีมุสลิมจำนวนมากต้องเผชิญเป็นประจำทุกวันในออสเตรเลีย โดยถูก “หมายหัว” จากสีผิว หรือจากการแต่งกายตามหลักศาสนา
เธอมีเพื่อนที่เคยถูกถ่มน้ำลายใส่ เคยถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าสัมภาษณ์งาน และเคยถูกเรียกอย่างล้อเลียน เช่น “หัวผ้าอ้อม”
“สิ่งที่ยากลำบากมากขึ้นคือ เมื่อเรารู้สึกว่าไม่มีสิ่งอื่นใดที่เราสามารถทำได้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อเรารู้สึกว่าไม่มีที่ใดที่เราสามารถนำปัญหานี้ไปปรึกษาได้” คุณวาริทู กล่าว
การศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่า คุณวาริทูไม่ใช่ผู้เดียวที่ประสบปัญหาเหล่านี้
จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยวิกตอเรียพบว่า ร้อยละ 64 ของผู้ตอบแบบสำรวจเคยถูกเหยียดเชื้อชาติ หรือสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาเคยประสบเรื่องนี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แต่มีเพียงร้อยละ 13 เท่านั้นที่แจ้งเรื่องให้ทางการทราบ
รายงานดังกล่าวพบว่า เหตุผลหลักที่เก็บเรื่องเงียบไว้ เพราะพวกเขารู้สึกว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงถึงแม้จะแจ้งทางการไป หรืออาจมีผลเสียตามมา
ขณะนี้ มหาวิทยาลัยวิกตอเรียและ ได้เปิดตัวโครงการที่พวกเขาเรียกว่าเป็นเครือข่ายต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติในท้องถิ่นแห่งแรกของออสเตรเลีย
เครือข่ายดังกล่าว ช่วยเสริมสร้างทักษะขององค์กรชุมชนในท้องถิ่นให้สามารถเป็นผู้ปกป้องด่านหน้าสำหรับผู้คนถูกเหยียดเชื้อชาติ โดยช่วยให้ผู้คนมากขึ้นเปิดเผยถึงเหตุการณ์ที่พวกเขาประสบ ช่วยคนเหล่านั้นให้เข้าถึงบริการต่างๆ และช่วยแจ้งเหตุการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร
ในวันเปิดตัวโครงการเมื่อวันจันทร์ที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา สมาชิกชุมชนเชื้อสายเมารี (Maori) ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของเมลเบิร์น ได้แสดงการเต้นฮากา (Haka) ในพิธีเปิดโครงการ พร้อมเรียกร้องให้ผู้ที่ถูกเหยียดเชื้อชาติ อย่าปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไปโดยไม่รายงานไทสัน ทูอาลา (Tyson Tuala) เป็นชายชาวเมารีที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียมาตั้งแต่ปี 2011 เขากล่าวว่า เขามักถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไปยังสถานที่สาธารณะบ่อยครั้ง เพราะความที่เขาเป็นคนรูปร่างใหญ่และลายสักตามวัฒนธรรมบนร่างกายของเขา แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น เขาไม่เคยปริปากเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย
Source: SBS/Abby Dinham
“จากประสบการณ์ของผม มันไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับพวกเรา” เขาบอกกับเอสบีเอส นิวส์ “พวกเราพบเรื่องนี้บ่อยมากจนเกือบเป็นสิ่งปกติไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง”
คุณทูลาอา กล่าวว่า บางคนยินดีที่จะมองข้ามเหตุการณ์ถูกเหยียดเชื้อชาติไปเสีย และพยายามมุ่งเน้นไปที่โอกาสต่างๆ ที่ออสเตรเลียมอบให้แก่พวกเขาแทน
“พวกเรารู้สึกสำนึกในบุญคุณอย่างมากที่ได้มาอยู่ที่นี่ พวกเราซาบซึ้งใจที่มีโอกาสมาที่นี่และได้รับชีวิตที่ดี ซึ่งบางทีอาจจะดีกว่าที่เราเคยมีที่บ้านเกิดด้วยซ้ำ”ดร.มาริโอ พุกเคอร์ (Dr Mario Peucker) กล่าวว่า การเหยียดเชื้อชาติเกิดขึ้นแพร่หลายเพียงใดในออสเตรเลียนั้นไม่มีใครรู้แต่ชัด เนื่องจากผู้ประสบเหตุมักไม่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้อย่างเป็นทางการ
Tyson Tuala says the Maori community in Australia is familiar with racism. Source: SBS/Abby Dinham
“ส่วนหนึ่งของปัญหานี้คือ เรามีการแจ้งเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้น้อยกว่าเหตุที่เกิดขึ้นมาก เราจึงไม่รู้แน่ชัดถึงขอบเขตของการเหยียดเชื้อชาติในสังคม เราจึงไม่สามารถบอกได้ว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นหรือไม่” ดร.พุกเคอร์ กล่าว
เขากล่าวต่อไปว่า แต่สิ่งหนึ่งที่รู้แน่ชัดคือ จำเป็นต้องมีการทำอะไรมากกว่านี้ในการป้องกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก
“เราสามารถพัฒนาโครงการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติที่ออกแบบให้เหมาะกับคนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะได้ มีโครงการต่างๆ เพื่อป้องกัน มีการอบรมสำหรับผู้พบเห็นการเหยียดเชื้อชาติ มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด ตำรวจก็สามารถจัดเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนมากขึ้นในสวนสาธารณะ หากมีพื้นที่ใดที่ปัญหานี้เกิดขึ้นต่อเนื่อง”การวิจัยดังกล่าวพบว่า คนส่วนใหญ่ที่เคยรายงานเหตุการณ์การถูกเหยียดเชื้อชาติกล่าวว่า พวกเขาไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างที่หวังไว้ และกว่าครึ่งหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาคงจะไม่รายงานเหตุการณ์อีกในครั้งต่อๆ ไป
Source: SBS/Abby Dinham
เครือข่ายต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติใหม่นี้ ถูกออกแบบมา ไม่เพียงแต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ในการแจ้งหรือรายงานเหตุการณ์เหยียดเชื้อชาติเท่านั้น แต่ยังให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรมของผู้ถูกเหยียดเชื้อชาติด้วย
คุณ พอลี คิยากา (Poly Kiyaga) เป็นผู้ลี้ภัยจากประเทศซูดานใต้ ที่ย้ายมาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อปี 2000 พร้อมกับภรรยาและลูกสองคน ขณะนี้ เขาเป็นผู้หนึ่งที่ทำงานช่วยเหลือชุมชนให้แก่
เขากล่าวว่า การนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของเครือข่ายต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ
“เราสามารถเสนอชื่อผู้เป็นตัวแทนเครือข่าย ซึ่งที่นั่นจะมีคนที่พวกเรารู้จัก มีคนที่พูดภาษาของเรา ที่ที่เราจะสามารถเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และจะมีคนที่รับฟังเรา”
คุณคิยากา กล่าวว่า ปัญหาการเหยียดเชื้อชาติต่อคนในชุมชนชาวซูดานใต้ในออสเตรเลียนั้นเป็นปัญหาใหญ่ แต่ผู้คนไม่ค่อยพูดถึงมัน
เขากล่าวว่า เขาเคยได้ยินคนในชุมชนของเขาเล่าว่า ตนไม่ได้รับบริการเมื่อยืนเข้าแถวรอที่ร้านกาแฟ เคยถูกปฏิเสธความช่วยเหลือเพราะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เมื่อโทรศัพท์ไปยังบริการฉุกเฉินต่างๆ และถูกหมายหัวจากเจ้าหน้าที่รัฐเพราะสีผิวของพวกเขาแต่คุณคิยากา กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญที่คนรุ่นต่อไปที่เป็นลูกหลานของพวกเขาจะต้องเห็นพ่อแม่ยืนขึ้นต่อสู้กับการเหยียดเชื้อชาติ
Source: SBS/Abby Dinham
“พวกเขาคิดว่า ‘ฉันเป็นใครกันที่จะยืนขึ้นสู้ได้ ในเมื่อแม้แต่พ่อแม่ของฉันเองยังไม่สามารถทำได้เลย’ ดังนั้น พวกเราจึงจำเป็นต้องสร้างพลังให้พวกเขา เราจำเป็นต้องมีกลไกรับมือเมื่อเผชิญปัญหา ที่เราจะส่งต่อกลไกนี้ให้แก่ลูกหลานของเรา”
คุณคิยากา กล่าวว่า นี่จะช่วยหาทางแก้ปัญหาเรื่องนี้ ที่บ่อยครั้งมักถูกเพิกเฉย ไม่เพียงแต่ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของเมลเบิร์นเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วประเทศออสเตรเลียอีกด้วย
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
ผู้หญิงส่วนใหญ่มีเงินซูเปอร์น้อยกว่าผู้ชายถึง 1 ใน 3