กลุ่มต่อต้านการเกลียดชังชาวเอเชียในออสเตรเลียเรียกร้องกฎหมายเข้มและการศึกษาภาคบังคับ

ผู้จัดงานชุมนุมในซิดนีย์เรียกร้องให้การสอนเรื่องการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติเป็นหลักสูตรบังคับในสถานศึกษาทั้งเอกชนและรัฐบาลในออสเตรเลีย

A minute's silence has been held at a Sydney rally to remember victims of Asian hate, following the shootings in the US city of Atlanta.

A minute's silence has been held at a Sydney rally to remember victims of Asian hate, following the shootings in the US city of Atlanta. Source: SBS News

กลุ่มเฝ้าระวังการเหยียดเชื้อชาติในซิดนีย์ได้รับเสียงเรียกร้องจากประชาชนให้รัฐบาลดำเนินการอย่างเข้มงวดเพื่อจัดการกับแนวคิดต่อต้านคนเอเชียในออสเตรเลียที่สูงขึ้นนับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19

ผู้จัดงานกล่าวว่าเป็นการเฝ้าระวังเพื่อต่อต้านความเกลียดชังชาวเอเชีย (anti-Asian hate) ครั้งแรกที่จัดขึ้นในออสเตรเลีย หลังมีรายงานเหตุการณ์การเหยียดเชื้อชาติที่เกี่ยวข้องกับโควิด 520 ฉบับในปีที่ผ่านมา
พันธมิตรเอเชียน ออสเตรเลียน ได้รับรายงานหลายเหตุการณ์ในปีที่แล้วตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2020

นางเอริน เหวิน ไอ ชิว ผู้ก่อตั้งพันธมิตรเอเชียน ออสเตรเลียน กล่าวว่าต้องมีการจัดการมากกว่านี้เพื่อหยุดการโจมตี
ในตอนนี้การไม่รับทราบปัญหาทำให้การเหยียดเชื้อชาติคนเอเชียกลายเป็นเรื่องปกติ และเราเหนื่อยและเบื่อหน่ายกับสิ่งนี้ และไม่ต้องการให้รัฐบาลออสเตรเลียกวาดปัญหาไปไว้ใต้พรม
กลุ่มเฝ้าระวังเรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียประนามการเหยียดเชื้อชาติ เข้มงวดกับกฎหมายและการคุ้มครองต่อการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ และให้มีการเรียนการสอนเรื่องการเหยียดเชื้อชาติเป็นภาคบังคับทั้งในสถาบันของรัฐบาลและเอกชน
นางเจนนี่ ลอง สมาชิกรัฐสภาพรรคกรีนส์ กล่าวว่า ในฐานะคนออสเตรเลียเชื้อสายจีน การประสบเรื่องการเหยียดเชื้อชาติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและการมุ่งร้ายต่อคนเอเชียที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงการระบาดนี้เป็นสิ่งอันตราย

“มีการเหยียดเชื้อชาติในออสเตรเลีย และมีการแบ่งแยกในออสเตรเลียที่มีกระทบกับประชาชนที่นี่ และถ้าคุณมายืนอยู่ในจุดที่ฉันยืน คุณจะเห็นความเจ็บปวดที่ผู้คนได้รับ”
และฉันขอพูดว่าเวลาที่จะเก็บเงียบกับสิ่งนี้หมดลงแล้ว
นางโชนา ยาง นักเขียนออสเตรเลียเชื้อสายเกาหลีกล่าวว่า เหตุการณ์ยิงในแอตแลนตาในเดือนมีนาคม ที่มีคนเสียชีวิต 8 คน รวมถึงผู้หญิงเอเชีย 6 คนนั้นน่าตกใจ และกระตุ้นให้เธอจัดงานชุมนุมที่ซิดนีย์
มันไม่ได้กระทบกับฉันในตอนแรก จนฉันได้เห็นหน้าของเหยื่อบางคน ใบหน้าที่อาจเป็นแม่ของเพื่อน ป้า หรือผู้หญิงที่โบสถ์ของฉัน
"นั่นคือจุดเริ่มต้นเมื่อมันเริ่มใกล้ตัว"

นางยางกล่าวว่า การชุมนุมหวังที่จะป้องกันเหตุการณ์เช่นการยิงที่แอตแลนตาให้เกิดขึ้น

“สำหรับฉัน หนึ่งในจุดมุ่งหมายใหญ่ในการเฝ้าระวังนี้คือการสร้างความสามัคคี”

“เมื่อเรามารวมตัวกันและรับฟังเรื่องราวต่างๆ ในชุมชนของเรา มันหมายความว่าเราเข้มแข็งขึ้นและเราสามารถรวมกลุ่มกันเพื่อพูดว่า เราจะไม่ทนต่อการเหยียดเชื้อชาติต่อคนออสเตรเลียเชื้อสายเอเชีย ต่อชุมชนที่รวมเป็นหนึ่งชาติเดียวกัน และต่อชนกลุ่มน้อยในประเทศนี้”

ในจดหมายเปิดผนึกถึง นายอเล็กซ์ ฮอว์ค รัฐมนตรีกระทรวงพหุวัฒนธรรม ผู้จัดงานชุมนุมเรียกร้องให้เขาออกแถลงการณ์ต่อนายกรัฐมนตรี สกอตต์ มอร์ริสัน เพื่อประนามการเหยียดเชื้อชาติต่อชุมชนคนออสเตรเลียเชื้อสายเอเชีย

นางลองกล่าวว่า มันเป็นสิ่งน่าวิตกที่เห็นจำนวนการโจมตีจากการเหยียดเชื้อชาติต่อคนออสเตรเลียเชื้อสายเอเชียในระหว่างการระบาด
ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงหรือการรุกรานจากการเหยียดผิว ไม่ว่าจะเป็นทางวาจาหรือการทำร้ายร่างกาย มันมีผลกระทบต่อความสามารถของเราในฐานะมนุษย์ที่จะมีส่วมร่วมอย่างเต็มที่ในสังคมของเรา
นางลองกล่าวว่าเธออยากเห็นกฎหมายที่จัดการกับการเหยียดเชื้อชาติที่มีประสิทธิภาพกว่านี้ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการบัญญัติกฎหมายใหม่ในสหรัฐอเมริกา

ร่างกฎหมายที่เพิ่งผ่านวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาอาทิตย์นี้ได้สร้างบทบาทใหม่ของกระทรวงยุติธรรมในการเร่งทบทวนอาชญากรรมที่เกี่ยวกับความเกลียดชังที่เกี่ยวกับโควิด-19

และยังให้การสนับสนุนเพิ่มเติมต่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการจัดการกับความรุนแรงจากความเกลียดชังที่ต่อต้านชาวเอเชีย และรวมถึงบทบัญญัติที่ปรับปรุงการเก็บรวบรวมข้อมูลของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง (hate crime) และจัดตั้งสายด่วนอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังอีกด้วย

Share
Published 27 April 2021 1:16pm
Updated 27 April 2021 1:46pm
Presented by Chollada K-Ross
Source: SBS News


Share this with family and friends