“ภาวะเสพติด” (Addiction) เป็นอีกหนึ่งคำคุ้นหูเมื่อกล่าวถึงคนที่ใช้เวลามากเกินไปกับสิ่งที่ผู้อื่นมองว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพกายใจ ทุกวันนี้ กิจกรรมบนสมาร์ทโฟนไม่ว่าจะเล่นแอปพลิเคชัน ส่งข้อความ หรือแค่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู หากมากเกินพอดีก็อาจเกิดปัญหาตามมาเช่นกัน
และผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วไปต่อวัน
ตามหลักการแล้วคุณไม่สามารถเสพติดอุปกรณ์ได้ แต่ยังคงมีโอกาสบ่มเพาะพฤติกรรมเสพติดฟังก์ชันบนสมาร์ทโฟน
ภาวะเสพติดคืออะไร
องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) นิยามภาวะเสพติดว่าเป็นการพึ่งพาสารเสพติดบางอย่าง เช่น ยา บุหรี่ หรือแอลกอฮอล์ บุคคลเข้าสู่ภาวะเสพติดเมื่อต้องพึ่งสารนั้นทั้งทางกายและพฤติกรรม
(Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5 ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2013 ขยายเกณฑ์วินิจฉัย “ภาวะเสพติดเชิงพฤติกรรม” (Behavioural Addiction) ที่ไม่มีองค์ประกอบของการพึ่งพาทางกายภาพ แต่ครอบคลุมแรงผลักดันให้ทำกิจกรรมที่นำไปสู่ความพึงพอใจทางจิตวิทยา
เช่น เสพติดการพนันหรือเสพติดเซ็กส์ อาจบ่อนทำลายสุขภาวะทางจิต อีกทั้งเป็นต้นตอปัญหาความสัมพันธ์กับมิตรสหาย ครอบครัว เพื่อนร่วมงานการเสพติดทั้งในรูปแบบ “สารเสพติด” และ “พฤติกรรม” ผู้เสพติดแสวงหาสิ่งกระตุ้นให้สมองหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) เพื่อสร้างความรู้สึกพึงพอใจรวมถึงผลทางจิตอื่น ๆ (เช่น บรรเทาความเครียดและความเจ็บปวด) ยิ่งทำซ้ำมากเท่าใด ยิ่งต้องการสิ่งกระตุ้นเพิ่มขึ้นเพื่อให้ระบบรางวัลของสมอง (Brain Reward System) ตอบสนองในระดับเดิม
...addicted to the social media Source: E+
จนถึงปัจจุบันยังคงไม่มีหลักฐานเพียงพอชี้ว่า การใช้สมาร์ทโฟนนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตขั้นรุนแรงในวงกว้าง ดังนั้นจึงไม่น่าเรียกได้ว่า คนเรา “เสพติด” สมาร์ทโฟนอย่างที่มักพูดกัน
แทนที่จะเรียกว่าเสพติด โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้สมาร์ทโฟนอาจมีพฤติกรรมย้ำทำกิจกรรมเดิม ๆ หลายคนเช็กโทรศัพท์ตลอดเวลา หาโอกาสเติมความสุขระยะสั้นจากโดปามีน หรือไม่ก็เบี่ยงเบนความสนใจจากอาการเบื่อหน่ายหรือกิจวัตรประจำวัน เช่น ระหว่างเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
อย่างไรก็ตาม ยังไม่ตัดความเป็นไปได้ของการเสพติดสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะในหมู่ผู้มีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมเสพติด ซึ่งอาจแสดงออกผ่านพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในทางลบ เช่น วิตกกังวลและหงุดหงิดง่ายขึ้น หรือกระวนกระวายอย่างหนักเมื่อใช้สมาร์ทโฟนไม่ได้
ยืนยันว่า ผู้มีอายุน้อยว่า 18 ปี เสี่ยงต่อการเกิดพฤติกรรมย้ำทำหรือคล้ายเสพติดที่สัมพันธ์กับการใช้สมาร์ทโฟน อาจเพราะยังควบคุมแรงผลักดันภายในตนเองได้ไม่มากนักเนื่องจากสมองส่วนหน้ายังอยู่ระหว่างพัฒนา ทั้งยังบ่งชี้ว่า ผู้ใหญ่ที่ควบคุมแรงผลักดันของตัวเองได้ไม่ดีและ/หรือมีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ที่จะเสพติดสมาร์ทโฟน
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
รร. รัฐในวิกตอเรียจะห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ
ปัญหาของโซเชียลมีเดีย
ผลเชิงพฤติกรรมของการใช้โซเชียลมีเดียบนสมาร์ทโฟนพบได้หลายรูปแบบ เช่น พฤติกรรมย้ำทำ (เช็กแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์จนกว่าจะไม่ได้รับโดปามีนจากกิจกรรมนี้แล้ว) ไปจนถึงพฤติกรรมเสพติด (พยายามหาความพึงพอใจจากโดปามีนซ้ำ ๆ ผ่านรางวัลตอบแทนที่ได้รับจากโทรศัพท์)
ใช้เวลาประมาณห้าชั่วโมงต่อวันกับกิจกรรมบนสมาร์ทโฟน เช่น ส่งข้อความ ใช้โซเชียลมีเดีย ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์ โดยใช้เวลากว่าครึ่งหนึ่งไปกับโซเชียลมีเดีย
โซเชียลมีเดียให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้ใช้ในรูปแบบจำนวนไลก์ สัญลักษณ์อีโมจิ และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้ชมจำนวนมาก ยิ่งมีคนตอบโพสต์มากเท่าไร เรายิ่งได้รับความรู้สึกพึงพอใจที่มีคนเห็นด้วยหรือยอมรับความคิดความสนใจของเรา
การมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดียและส่งข้อความถึงเพื่อนถึงครอบครัวตลอดเวลาอาจเป็นเรื่องน่ากังวลมากกว่าตัวอุปกรณ์ที่ใช้ ด้วยเหตุที่กิจกรรมเหล่านี้ จึงให้ผลบรรเทาแรงกดดัน ลดความเครียด
สัญชาตญาณผลักดันให้มนุษย์แสวงหาการชื่นชมและการยอมรับจากสังคม ก่อนที่ Facebook และ Instagram จะถือกำเนิดขึ้นมา คนเราเข้าหาผู้อื่นผ่านสถานการณ์หลายรูปแบบเพื่อมีส่วนร่วมกับสังคมและเป็นที่ยอมรับ เมื่อมีเทคโนโลยีช่วยขยายวงสังคมออกสู่ชุมชนที่กว้างขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากเราจะทำเช่นนั้นโดยไม่นึกสงสัย
ยิ่งสำหรับเยาวชนแล้ว โลกโซเชียลเป็นส่วนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาอัตลักษณ์ตัวตน ส่งผลต่อความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเป็นที่ยอมรับนอกวงสังคมเพื่อนและครอบครัวที่มีอยู่เดิม
ผู้ประสบปัญหาจากการใช้งานฟังก์ชันสมาร์ทโฟนติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะโซเชียลมีเดีย บริการสตรีมวิดีโอ เกม หรือข้อความ อาจเข้าข่าย กรณีนี้ควรหันมาทบทวนว่ารางวัลตอบแทนที่ได้รับจากฟังก์ชันที่คุณใช้บ่อยที่สุดบนสมาร์ทโฟนคืออะไร แล้วดูว่ารับรางวัลแบบเดียวกันผ่านกิจกรรมอื่นที่สร้างสรรค์และดีต่อสุขภาวะของคุณกว่านี้ได้หรือไม่
Woman Using Smartphone Source: Getty Images
ตัวอย่างเช่น หากคุณออนไลน์โซเชียลมีเดียตลอดเวลา ลองถามตัวเองว่า “ฉันได้อะไรจากการโพสต์และตอบโพสต์ออนไลน์” “ฉันสามารถรับประโยชน์ตอบแทนแบบเดียวกันนี้จากปฏิสัมพันธ์ซึ่งหน้าได้หรือไม่”
สำหรับบางคน การมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ช่วยเพิ่มความหลากหลายจากสังคมออฟไลน์ ขณะที่หลายคนไม่ทันตระหนักว่าชีวิตส่วนใหญ่ของตนตอนนี้อยู่บนโลกออนไลน์
ถึงเวลาวางสมาร์ทโฟนหรือยัง
ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจำนวนมากติดใจฟังก์ชันบนสมาร์ทโฟน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ฟังก์ชันเหล่านั้นจะน่าสนใจน้อยลงและกลายเป็นเครื่องมือที่ใช้เมื่อจำเป็น อย่างที่สังคมปรับตัวคุ้นชินกับคอมพิวเตอร์
ระหว่างนี้เราจำเป็นต้องสอนเยาวชนให้เท่าทันการใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นปัญหา ช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าเหตุใดกิจกรรมบนสมาร์ทโฟนบางครั้งอาจเป็นเรื่องเสียเวลา หรืออาจถึงขั้นส่งผลเสียต่อสุขภาวะทางจิตของพวกเขา ประเด็นนี้เริ่มปลูกฝังได้ตั้งแต่วัยเด็กเล็ก แล้วเสริมต่อเนื่องไปตลอดช่วงพัฒนาการ
เรายังมีเคล็ดลับลดใช้สมาร์ทโฟนสำหรับวัยผู้ใหญ่มาฝากกันด้วย
- ลดจำนวนแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์ของคุณ ลองประเมินว่ามีแอปใดที่จำเป็นจริง ๆ และใช้บ่อยที่สุดไม่ใช่เพียงแก้เบื่อ ยิ่งมีไอคอนบนหน้าจอโฮมสกรีนน้อยเท่าไรยิ่งดี
- ปิดการแจ้งเตือนผ่านปุ่มการตั้งค่า (Settings) โทรศัพท์ควรแจ้งเตือนเฉพาะกิจกรรมสำคัญเพื่อช่วยรักษาสุขภาพ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานระหว่างชั่วโมงทำงาน
- อย่าวางโทรศัพท์ไว้ข้างหัวเตียงตอนเข้านอน เพราะถ้าโทรศัพท์อยู่ใกล้มือ เป็นไปได้ว่าสิ่งแรกที่ทำเมื่อลืมตาตื่นคือคว้าสมาร์ทโฟน ลองตื่นมาคิดถึงเรื่องที่จะทำในแต่ละวันแทนที่จะเป็น “ฉันพลาดข่าวหรือเรื่องราวอะไรในโซเชียลมีเดียตอนที่หลับอยู่”
- ตระหนักรู้ตัวเองเวลาหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาระหว่างวันโดยเฉพาะยามเบื่อ ลองฝึกลมหายใจบริหารสติเพื่อช่วยผ่อนคลายสงบจิตใจ เทคนิคหลายอย่างมีหลักฐานสนับสนุน ที่ใช้เวลาแค่สามนาที
- ถ้าคุณต้องการลดเวลาที่ใช้กับสมาร์ทโฟนอย่างจริงจัง ลองพิจารณาลักษณะการใช้งานโซเชียลมีเดียของตัวเอง ถ้าจำเป็นอาจลบแอปพลิเคชันเหล่านั้นออกจากเครื่อง
ชมสารคดี Are You Addicted To Technology?ได้ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน ทาง SBS On Demand บนระบบ iOS และ tvOS โปรดอัปเดตหรือดาวน์โหลดเวอร์ชันล่าสุด รองรับระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน OS 13.5 ขึ้นไป
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
วิดิโอเกมนั้น ‘เสพติดเท่ากับโคเคนหรือการพนัน’
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
VIC ทุ่มงบ 50 ล้านพัฒนาและผลิตวัคซีน mRNA