วิธีรับมือกับความเจ็บป่วยจากศูนย์รับเลี้ยงเด็ก

Australia Explained Childcare sicknesses

การดูแลสุขภาพเมื่อฝากเด็กไว้ที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก Credit: Hispanolistic/Getty Images

ผู้ปกครองที่เป็นผู้ย้ายถิ่นหรือผู้ปกครองมือใหม่อาจกังวลถึงปัญหาในการฝากลูกไว้ที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก หากเกิดปัญหาเรื่องสุขภาพที่ศูนย์ฯ จะรับมืออย่างไร? ฟังหรืออ่านรายละเอียดเรื่องนี้ได้


ประเด็นสำคัญ
  • การนำเด็กๆ ไปฝากที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็กช่วยให้ผู้ปกครองสามารถกลับไปทำงานได้
  • ผู้ปกครองมือใหม่และผู้ย้ายถิ่นอาจกังวลกับการเจ็บป่วยของเด็กๆ ที่ติดมาจากศูนย์ฯ
  • ผู้ย้ายถิ่นบางรายยังไม่สามารถขอสวัสดิการช่วยค่าดูแลเด็กได้จึงต้องรับผิดชอบราคาเต็มจำนวน
  • การแยกเด็กที่ป่วยออกจากศูนย์น เป็นหน้าที่ในการดูแลเด็กคนอื่นๆ

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

ผู้ย้ายถิ่นมักขาดครอบครัวที่คอยช่วยดูแลลูกขณะที่ไปทำงาน
การศึกษาระดับปฐมวัย (early childhood) จึงเป็นหนทางในการช่วยให้ผู้ปกครองสามารถกลับไปทำงานได้

การฝากลูกๆ ไว้ที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก (childcare or daycare) จึงเป็นทางเลือกที่นิยมและยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กๆ ด้วย

และการศึกษาปฐมวัยยังช่วยเตรียมเด็กๆ ให้พร้อมเข้าเรียนทั้งทางด้านสังคมและด้านวิชาการเช่นกัน

คุณหมออามีร์ ซาอีดุลลาห์ (Amir Saeedullah) แพทย์รักษาโรคทั่วไป (GP) ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ที่เมืองเมลเบิร์นกล่าวว่า

“บ้านเป็นสถานที่ที่เด็กๆ จะได้พบเจอกับผู้ใหญ่ไม่กี่คนเท่านั้น แต่ในสภาพแวดล้อมของศูนย์ดูแลเด็ก เด็กๆ จะได้พบกับเด็กคนอื่นและผู้ใหญ่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เด็กๆ อาจป่วยได้”
แม้ว่าโรคภัยไข้เจ็บส่วนใหญ่ที่เกิดในศูนย์รับเลี้ยงเด็กไม่น่ากังวลมากนัก แต่บางโรคก็ติดต่อรุนแรงได้
การติดเชื้อจะแตกต่างไปตามฤดูกาล ในฤดูหนาวการติดเชื้อที่เรามักพบคือ การติดเชื้อทางเดินหายใจและโรคหูน้ำหนวก ฤดูร้อนมักจะมีผู้ป่วยเรื่องทางเดินอาหาร
จากข้อมูลของคุณหมอซาอีดุลลาห์ เด็ก 20-30 คนจาก 100 คนที่อยู่ในศูนย์รับเลี้ยงเด็กมักเจอปัญหาการติดเชื้อเหล่านี้

ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อแบบเซลฟ์-ลิมิตติง (self-limiting) คืออาการสามารถทุเลาลงได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง

“เด็กๆ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ไม่ต้องรับยาปฏิชีวนะ (antibiotics) ผู้ปกครองควรศึกษาเรื่องการให้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ ไอบูโพรเฟน (ibuprofen)”
Australia Explained Childcare sicknesses
ผู้ย้ายถิ่นใหม่มักกังวลเมื่อลูกป่วย เพราะไม่มีความช่วยเหลือ Credit: MoMo Productions/Getty Images
คุณนิกิตาเป็นคุณแม่มือใหม่ที่มีลูกอายุ 18 เดือนและเริ่มฝากลูกไว้ที่ศูนย์ฯ ไม่กี่เดือนก่อน

“ลูกชายของเราไปศูนย์ฯ สัปดาห์ละครั้ง และเขาก็ติดหวัดอย่างหนัก 2 ครั้ง ซึ่งแพทย์จีพีต้องสั่งยาปฏิชีวนะและเสตียรอยด์ (steroid) เพราะยาพาราเซตามอลและไอบูโรเฟนไม่เพียงพอ เขายังติดโรคมือเท้าปาก (hand-foot-and-mouth- disease) ด้วย มีตุ่มพองทั่วตัวไปหมด”

คุณนิกิตากล่าวว่าประสบการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
ปัญหาใหญ่ที่เราเจอคือการรับโทรศัพท์จากศูนย์ดูแลหลายครั้งให้ไปรับเด็ก แม้ว่าจะมีอาการแค่น้ำมูกไหล ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างปกติเวลาอากาศหนาว
"ในฐานะผู้ปกครอง เราต้องหยุดทุกสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ไปรับลูก และไม่สามารถพากลับไปเข้าศูนย์ได้หากไม่มีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าไม่ได้ป่วยเป็นอะไร”
Australia Explained Childcare sicknesses
ควรล้างมือบ่อยๆ และรักษาระยะห่างจากเด็กที่ป่วย Credit: Maskot/Getty Images/Maskot
การต้องไปรับลูกจากศูนย์รับเลี้ยงเด็กในระหว่างเวลาทำงานอาจเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดของผู้ปกครอง

หากลูกป่วยบ่อย การขอลางานกับนายจ้างหรือการหยุดทำธุรกิจอาจเป็นเรื่องน่ากังวลของผู้ปกครองเช่นกัน

นอกจากนี้ คุณนิกิตากล่าวว่าผู้ปกครองยังคงต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอยู่ แม้ว่าไม่ได้นำลูกไปฝากไว้ที่ศูนย์ฯ ได้เนื่องจากไม่สบาย
ผู้ย้ายถิ่นที่เพิ่งมาถึงเช่นเรายังไม่สามารถขอรับเงินสวัสดิการค่าดูแลเด็ก (childcare subsidy) ได้
"และต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดราคา $125 ในกรณีของเรา คุณไม่สามารถพาลูกที่ป่วยไปศูนย์ฯ ได้ และคุณยังคงต้องจ่ายในราคาเต็มอีก”

คุณหมอซาอีดุลลาห์อธิบายถึงอาการที่บ่งชี้ว่าควรส่งเด็กกลับบ้านดังนี้

“ถ้ามีแค่น้ำมูกไหล ฉันไม่คิดว่าควรส่งเด็กกลับบ้าน แต่หากมีอาการอื่นๆ เช่น มีไข้ ไอ หรือเด็กบ่นว่าเจ็บคอ หรือดูแล้วว่าเด็กป่วยอย่างเห็นได้ชัด ฉันสนับสนุนให้ส่งเด็กกลับบ้าน”
Australia Explained Childcare sicknesses
แพทย์มักแนะนำว่าการติดเชื้อส่วนใหญ่จะบรรเทาได้เองโดยไม่ต้องรับยาเฉพาะ Credit: The Good Brigade/Getty Images
สัญญาณที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมได้แก่ ไข้สูงประมาณ 39-40 องศาเซสเซียส อาการขาดน้ำเนื่องจากน้ำมูกไหล ท้องเสีย อาเจียน หรือมีผื่นขึ้น

คุณสันธู (Sandhu) อธิบายทำไมเด็กที่ไม่สบายจึงควรอยู่บ้าน
มันจะช่วยให้เด็กดีขึ้นและเป็นผลดีกับเด็กเอง ไม่อย่างนั้นเด็กอาจป่วยหนักและผู้ปกครองต้องพาไปโรงพยาบาลเพื่อรักษา และการฟื้นตัวในขั้นนี้จะใช้เวลานานกว่า
การแยกเด็กที่ป่วยออกจากศูนย์ฯ เป็นหน้าที่ของการดูแลเด็กคนอื่นๆ ด้วย

ควรล้างมือบ่อยๆ และให้รักษาระยะห่างจากเด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดหรือป่วยเรื่องระบบทางเดินอาหาร

คุณหมอซาอีดุลลาห์เสริมว่าโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

“เด็กที่รับประทานอาหารไม่ครบมักจะขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็กและวิตามินดี การรับประทานอาหารเสริมทั้งแบบเม็ดหรือแบบน้ำจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ระบบโรงเรียนของออสเตรเลีย

ควรฉีดวัคซีนให้แก่เด็กเพื่อควบคุมการติดเชื้อในหมู่เด็กเล็กและคนรอบข้าง

คุณสันธูอธิบายว่า ศูนย์ดูแลเด็กส่วนใหญ่ในออสเตรเลียมักสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนตามที่รัฐบาลกำหนด

“ผู้ปกครองบางท่านไม่ฉีดวัคซีนให้เด็ก ซึ่งเรามีกฎและระเบียบในเรื่องนี้ เช่น หากมีโรคระบาดในศูนย์ฯ เราแนะนำให้เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนอยู่บ้านเพราะพวกเขาไม่มีภูมิคุ้มกัน”

คุณสันธูยังแนะนำให้เด็กได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ เช่น สวนสาธารณะและสนามเด็กเล่น แทนการอยู่ในร่ม เพื่อให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share