กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
คุณณัชาอร (แนท) ชูเชิดศักดิ์เล่าเหตุการณ์ตอนเธอกลับไปเยี่ยมครอบครัวที่ประเทศไทยขณะตั้งครรภ์ได้ประมาณ 4-5 เดือน เธอถูกลูกแมวกัด จึงตัดสินใจไปพบแพทย์เพื่อขอฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
“มันเป็นแมวเด็กแล้วก็หมั่นเขี้ยว ก็เลยกัดเจ้าของตัวเอง คือไม่ได้กัดแรงนะ แต่ว่าด้วยความที่หมั่นเขี้ยวแล้วเลือดมันเยอะ แล้วก็โดนตรงมือ รู้สึกจะเป็นปลายนิ้ว ตอนนั้นเนี่ยท้องอยู่”
กะทิ แมวที่กัดคุณแนท Credit: Supplied/Natchaon Chucherdsak
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนสำคัญที่คุณควรฉีดก่อนเดินทางไปต่างประเทศ
แพทย์ที่ไทยจึงฉีดวัคซีน ERIC (Equine Rabies Immunoglobulin) หรือวัคซีนที่ผลิตจากซีรั่มม้า ใช้ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในผู้ที่สัมผัสชื้อกรณีไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อน [1] โดยฉีดรอบแผล
จากนั้นตามด้วยการฉีดวัคซีน Speeda (ชื่อการค้าของวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า) เป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ [2] ซึ่งต้องฉีด 5 เข็ม
“แล้วตอนนั้นเพิ่งฉีดได้แค่ 2 เข็มเพราะว่ากำลังจะกลับออสเตรเลียพอดี”
คุณแนทจึงโทรสอบถามทางโรงพยาบาลที่ออสเตรเลีย ซึ่งทางโรงพยาบาลตอบว่าวัคซีนนี้ไม่ค่อยมี เพราะโรคพิษสุนัขบ้าไม่ใช่โรคที่พบบ่อยที่ออสเตรเลีย จึงต้องโทรไปที่ศูนย์พิษวิทยา ซึ่งแนะนำว่าสามารถฉีดต่อเข็ม 3-5 ได้ ราคาอยู่ที่เข็มละ $200 และให้นำเอกสารบันทึกวัคซีนมาด้วย
ถ้าเริ่มด้วยวิธีไหน แล้วใช้ตัวไหนไป ก็ต้องทำต่อให้จบ ไม่ใช่ว่าข้ามไปใช้ตัวอื่นหรือว่าทำวิธีอื่นคุณแนทอธิบายถึงการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
สมุดบันทึกการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า Credit: สถานเสาวภา
ด้านในสมุดบันทึกการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า Credit: สถานเสาวภา
คุณแนทกล่าวถึงความกลัวในการที่ต้องเดินทางไปประเทศไทยครั้งต่อไปว่า
“รู้อยู่แล้วว่าโรคพิษสุนัขบ้านี่มันน่ากลัวมากนะ เพราะว่าถ้าเป็นแล้วมันไม่มียารักษา”
ตัวเองเนี่ยระวังอยู่แล้ว แต่พอมีลูกก็ห่วงลูก เพราะเด็กชอบเล่นกับสัตว์
คุณณัชาอร (แนท) ชูเชิดศักดิ์คนไทยที่ต้องไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า เมื่อเธอถูกแมวกัดที่ประเทศไทย Credit: Supplied/Natchaon Chucherdsak
ฟังเรื่องของคุณแนทและคำแนะนำในการเดินทางไปประเทศไทย
คนไทยเล่าประสบการณ์ต้องฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าที่ประเทศไทย
SBS Thai
08/01/202414:06
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เดินทางช่วงวันหยุดเทศกาลระวังโรคระบาดต่างแดน