หญิงไทยเล่านาทีระทึกโดนปรับเพราะนำผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อหมูเข้ามาในออสเตรเลีย

pork

จากเว็บไซต์ของกระทรวงการเกษตรของออสเตรเลีย เตือนผู้เดินทางว่าห้ามนำผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูเข้ามายังออสเตรเลีย Source: Pixabay / Pixabay ludiarin

คุณ มาย จากนครซิดนีย์เล่านาทีระทึกเมื่อโดนเจ้าหน้าที่ปรับฐานนำผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อหมูเข้ามาในออสเตรเลีย พร้อมฝากข้อควรระวังกับชุมชนไทยเมื่อคิดอยากนำผลิตภัณฑ์ต้องห้ามเข้ามา



กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบป้องกันทางชีวภาพเข้มงวดมากที่สุดประเทศหนึ่ง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมการเกษตรและระบบนิเวศน์วิทยาที่มีลักษณะเฉพาะตัว

ผู้ที่เดินทางเข้ามาในออสเตรเลียต้องสำแดงสิ่งของว่านำสิ่งของที่ต้องห้ามเข้ามาในประเทศหรือไม่ หากฝ่าฝืนอาจมีโทษรุนแรงซึ่งรวมไปถึงการปรับ เพิกถอนวีซ่าและส่งกลับประเทศมาตุภูมิได้

คุณมาย คนไทยจากนครซิดนีย์เพิ่งกลับมาจากประเทศไทยหลังจากไม่ได้หลับไปเยี่ยมบ้านมาหลายปี และนี่เป็นครั้งแรกที่เธอได้นำเอาผลิตภัณฑ์อาหารจากบ้านเกิดกลับเข้ามาในออสเตรเลียด้วย

don't bring pork jerky to Australia
ป้ายห้ามนำผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเนื้อหมูเข้ามาในออสเตรเลีย Credit: Helen Chen

เธอเปิดเผยกับเอสบีเอสไทยว่าเธอทราบว่าออสเตรเลียมีกฏข้อบังคับเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อสัตว์เข้ามาในประเทศแต่เธอคิดว่าตามร้านขายของทั่วไปก็มีการจำหน่ายอาหารแปรรูปที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ และสิ่งของที่เธอนำมาเป็นอาหารแปรรูปก็น่าจะเอาเข้ามาได้

“หนูไม่เคยซื้อของกลับมาออสเตรเลียเลย นี่เป็นครั้งแรก ก็รู้มาบ้างว่าเค้าห้ามอะไรบ้าง แต่ด้วยความที่เราเห็นใน grocery ทั่วไปที่มีผลิตภัณฑ์จากหมู เราก็คิดว่าเอ๊ะ หรือเค้าจะห้ามแค่พวกเนื้อสด raw meats อะไรพวกนี้ ของแปรรูปแล้ว มีฉลากภาษาอังกฤษอาจจะเอาเข้ามาได้”

“ตอนที่หนูเอาเข้ามาก็เลือกที่มีซีลดีๆ ปิดผนึกดีๆ มีฉลากภาษาอังกฤษเผื่อเจ้าหน้าที่จะอ่าน ที่เอามาก็มีแกงฮังเลกระป๋อง หมูหยอง แล้วก็แคบหมูแห้ง”


การสำแดงสิ่งของที่นำเข้ามาในออสเตรเลียต้องทำอย่างไร

ผู้ที่เดินทางเข้ามาในออสเตรเลียจะได้รับบัตรผู้โดยสารขาเข้าซึ่งนอกจากจะมีรายละเอียดส่วนตัวและที่พำนักในออสเตรเลียแล้ว ในหน้าสุดท้ายยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับการสำแดงสิ่งของที่นำเข้ามาด้วย ซึ่งจะแบ่งเป็นประเภทต่างๆ และคุณต้องทำเครื่องหมายในช่องนั้นๆ ว่าคุณนำสิ่งของที่ต้องสำแดงเข้ามาในออสเตรเลียหรือไม่

คุณมาย เล่าว่าเธอเกิดความสับสนเนื่องจากใบสำแดงสิ่งของดังกล่าวไม่มีการบอกประเภทของอาหารแปรรูปเอาไว้และในรูปภาพประกอบสิ่งของต้องห้ามในสนามบินมีแค่ภาพของเนื้อสดต่างๆ เธอจึงเกิดความไม่แน่ใจว่าจะสำแดงผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่เธอเอามาในช่องใด

“ความที่เราลงมา (จากเครื่องบิน) มันก็มีป้ายโชว์ว่าอย่าลืม declareของพวกนี้นะ โดยเฉพาะ meat seafood ผัก แต่เขาไม่ได้รวมพวกเป็น can food ที่แปรรูปมาแล้ว มันไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมบางทีมันก็ทำให้คนสับสนได้”

“แล้วรูปที่เค้าเอามาประกอบ มันมีแค่ของสดทั้งนั้นเลย มันก็เลยทำให้เราคิดว่า ถ้าเราไม่ได้เอาของสดมาล่ะ มันจำเป็น (ต้องสำแดง) ไหม”

Image of fragrant pork floss
ผู้ที่เดินทางเข้ามาในออสเตรเลียต้องสำแดงสิ่งของว่านำสิ่งของที่ต้องห้ามเข้ามาในประเทศหรือไม่ หากฝ่าฝืนอาจมีโทษรุนแรงซึ่งรวมไปถึงการปรับ เพิกถอนวีซ่าและส่งกลับประเทศมาตุภูมิได้ Credit: Eddie Khoo via Wikimedia Commons/CC BY-SA 3.0

หากนำผลิตภัณฑ์ต้องห้ามเข้ามาจะเป็นอย่างไร

จากข้อมูลใน หากคุณนำผลิตภัณฑ์ต้องห้ามเข้ามาแล้วไม่สำแดงหรือจงใจให้ข้อมูลผิดในบัตรโดยสารขาเข้า หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity officer) หรือไม่สามารถตอบคำถามกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งของต้องสำแดงที่คุณนำมาได้ คุณอาจต้องโทษที่รุนแรง เช่น ถูกปรับ ถูกจับในข้อหาทางแพ่งหรือคดีอาญา ถูกเพิกถอนวีซ่าหรือถูกส่งกลับมาตุภูมิ

รัฐบาลออสเตรเลียภายใต้การนำของนายอัลบานีซีได้ประกาศในเดือนตุลาคม ว่าจะเพิ่มค่าปรับการทำผิดกฎหมายสำหรับผู้ที่ถูกตรวจพบว่านำสิ่งต้องห้ามติดตัวเข้ามาด้วย ทั้งนี้เพื่อหยุดยั้งโรคและแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาในออสเตรเลีย

มีการประมาณการว่าการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในออสเตรเลียจะทำให้เศรษฐกิจเสียหายกว่า 80,000 ล้านดอลลาร์ตลอดช่วง 10 ปี ผู้ที่ไม่สำแดงสิ่งที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางชีวภาพที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองจะเผชิญกับค่าปรับสูงสุด 5,500 ดอลลาร์ และถูกยกเลิกวีซ่า

คุณมาย เปิดเผยว่า เมื่อเธอยื่นบัตรโดยสารขาเข้าและมีสิ่งของต้องสำแดง เจ้าหน้าที่ซักถามเธอว่าเธอได้นำอะไรเข้ามา เมื่อเธอบอกว่าเธอนำอาหารแปรรูปที่มีเนื้อหมูเข้ามา เจ้าหน้าที่ก็ให้เธอจ่ายค่าปรับทันทีโดยไม่ได้ฟังคำอธิบายว่าเธอไม่ได้หลบเลี่ยงแต่เกิดจากความเข้าใจผิดพร้อมกับบอกว่าหากเธอไม่จ่าย เขาสามารถจะเพิกถอนวีซ่าและส่งตัวกลับประเทศไทยทันที

ยูจะต้องจ่าย $3,700 นะ เราก็ตกใจ เราก็พยายามอธิบายว่าเราเข้าใจผิดจริงๆ เขาก็ไม่ฟัง เขาบอกให้เราจ่ายค่าปรับ แล้วเขาบอกกับหนูว่าจริงๆแล้วเขาสามารถส่งกลับไทยได้เลยนะ จะแคนเซิลวีซ่าเราเลยได้นะ
คุณ มาย นครซิดนีย์

“หนูรู้สึกว่าเขาทรีตหนูแบบคนเอเชียที่เข้าออกมาหลายรอบเพื่อเอาของเข้ามาขาย”

ชุมชนไทยกับการสำแดงสิ่งของต้องห้าม

คุณมาย กล่าวว่าเธอไม่อยากให้ใครได้รับโทษแบบเธอ และอยากให้เรื่องราวของเธอได้เป็นอนุสรณ์และข้อเตือนใจกับชุมชนไทยในออสเตรเลียว่าถ้านำผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามเข้ามาไม่ว่าจะเพื่อการค้าหรือเพื่อใช้อุปโภคบริโภคเอง หากถูกตรวจจับอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย

อย่าพยายามเอาสินค้าพวกนี้เข้ามาเลยค่ะ ถึงแม้ว่าจะเป็นพวกปรุงสุกแล้ว อย่าเสี่ยงเลย ถ้าโดนค่าปรับขึ้นมา บางทีมันก็อ่วมเหมือนกัน
คุณ มาย นครซิดนีย์

“อยากให้ทุกคน declare ถ้าเอาอะไรมา ถ้าไม่เข้าใจหรือไม่ได้ภาษาก็ถามเจ้าหน้าที่”

คุณมายยังฝากให้ผู้เกี่ยวข้องว่าควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ละเอียดและเข้าถึงทุกคนมากกว่านี้ เช่น มีการแจกโบรชัวร์ “Don’t sorry, just declare” ก่อนขึ้นเครื่อง


dont sorry brochure.jpg
โบรชัวร์ Don’t sorry, just declare มีรายละเอียดสิ่งของต่างๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์ต้องห้ามและไม่ควรนำเข้ามาในออสเตรเลีย

“ควรมีการแจกโบรชัวร์ “Don’t sorry, just declare” ก่อนขึ้นเครื่อง เพราะมันมีรายละเอียด ดีเทลเยอะมาก ถ้าหนูได้ใบนี้มาก่อน เรื่องนี้คงไม่เป็นปัญหาสำหรับหนู”

การทำแผ่นป้ายสิ่งของต้องสำแดงอย่างชัดเจนและครอบคลุมโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ควรมีทั้งรูปของสดและแปรรูปเพื่อป้องกันความสับสน

“รูปที่เอามาโชว์ รัฐบาลควรอัปเดตรูปให้มันครอบคลุม สำหรับคนที่ไม่เข้าใจหรือภาษาไม่ได้”

และเจ้าหน้าที่ควรมีการบังคับใช้กฎหมายที่เท่าเทียมกันเพื่อความเป็นธรรมและรักษาความยุติธรรมของกฎหมาย
พอดีหนูไปคอมเมนท์ในเพจคนไทย แล้วหนูก็เห็นว่าบางคนเจ้าหน้าที่ก็ให้ผ่าน บางคนก็ไม่ให้ผ่าน ทั้งๆ ที่ก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากเนื้อหมูเหมือนกัน อย่างบางทีเห็นในกลุ่มชุมชน เค้าเอานั่นเอานี่เข้ามาขาย เรายังคิดอยู่ว่าแบบนี้ผ่านมายังไง ขนาดของเราแค่นี้ยังไม่ได้เลย
คุณ มาย นครซิดนีย์

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งของต้องสำแดงและข้อบังคับของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มเติมได้ที่

LISTEN TO
biosecurity interview image

หญิงไทยเล่านาทีระทึกโดนปรับเพราะนำผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อหมูเข้ามาในออสเตรเลีย

SBS Thai

18/10/202315:09

 
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 




 

 

 

 

 

 

Share