ประเด็นสำคัญ
- รัฐยกเครื่องระบบการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียครั้งใหญ่
- การปฏิรูปดังกล่าวเป็นการตอบสนองหลังจากการตรวจสอบพบปัญหาต่างๆ มากมาย
- ซึ่งรวมถึงแก๊งอาชญากรที่ใช้ช่องโหว่ในระบบย้ายถิ่นฐานเพื่อค้ามนุษย์
ในสัปดาห์นี้ระบบย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียสั่นคลอนครั้งใหญ่ หลังมีรายงานเตือนว่าแก๊งอาชญากรกำลังหาประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบย้ายถิ่นฐานออสเตรเลียในการค้ามนุษย์และบ่อนทำลายระบบการขอวีซ่าผู้ลี้ภัย
Home Affairs Minister Clare O’Neil says some people have been making false claims for asylum. Source: AAP / Mick Tsikas
ซึ่งจากการตรวจสอบพบการละเมิดกระบวนการขอวีซ่า ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง แอนดรูว์ ไจล์ส อธิบายว่าเป็นเรื่องที่ "น่าตกใจ เพราะมันเหมือนมีการทำเป็นขบวนการ"
มีใบสมัครผู้ลี้ภัยและนักศึกษาที่ฉ้อโกงจำนวนมาก และทำให้การดำเนินการขอวีซ่าล่าช้า หน่วยงานรัฐบาลรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่
จากการแถลงของรัฐบาลในสัปดาห์นี้ พรรคแรงงานได้เคลื่อนไหวเพื่อปราบปรามตัวแทนผู้อพยพและทุ่มงบประมาณแก่กระบวนการยุติธรรมเพื่อดำเนินการตรวจสอบกระบวนการขอลี้ภัย
ข้อมูลของระบบการย้ายถิ่นฐานใหม่มีอะไรที่สำคัญบ้าง
อ่านเพิ่มเติม
ฟังจากปากคนไทยที่อยากย้ายประเทศ
การหาประโยชน์จากระบบการขอวีซ่าผู้ลี้ภัย
รัฐบาลทุมงบประมาณ 160 ล้านดอลลาร์เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบวีซ่าผู้ลี้ภัย ซึ่งการทบทวนของระบบผู้ลี้ภัยเดิมพบว่ามันมีช่องโหว่ที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อขยายระยะเวลาการอาศัยในออสเตรเลีย
ความล่าช้าในการประมวลผลวีซ่าเป็น "แรงจูงใจให้ผู้ไม่ประสงค์ดีจำนวนมากใช้ประโยชน์จากการยื่นใบสมัครปลอมเพื่อรับการคุ้มครอง"
มีเพิ่มงบประมาณอีก 54 ล้านดอลลาร์เพื่อสร้างระบบการประมวลผลคำร้องขอวีซ่าคุ้มครองแบบเรียลไทม์
และจะเพิ่มจำนวนผู้พิพากษาเพิ่มเติมอีก 10 คนในศาลอุทธรณ์ฝ่ายบริหาร และจะย้ายไปทำงานกับคณะกรรมาธิการในปีหน้า และอีก 10 คนจะย้ายไปทำงานที่ศาลรัฐบาลกลางและครอบครัว เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
อ่านเพิ่มเติม
เรื่องจริงของวีซ่าลี้ภัย
รัฐมนตรี โอนีล กล่าวว่าการหาประโยชน์กับระบบย้ายถิ่นฐานกำลัง "ทำลายจริยธรรมของระบบย้ายถิ่นฐานของเรา" โดยผู้ลี้ภัยที่แท้จริงมักต้องเผชิญกับภาวะไร้ที่อยู่นานนับสิบปี เนื่องจากกระบวนการคัดกรองใบสมัครปลอมจำนวนมาก
เรามีปัญหากับผู้สมัครที่ยื่นคำร้องขอลี้ภัยโดยไม่มีเหตุผลและหลักฐานที่แข็งแกร่งและชัดเจนพอในการยื่นขอวีซ่าลี้ภัย เป็นที่ชัดเจนว่าในบางกรณี ระบบนี้กำลังถูกใช้หาประโยชน์ในการลักลอบเข้ามาทำงานในออสเตรเลียรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แคลร์ โอนีล
ซึ่งหากประวิงเวลาในกระบวนการนี้ได้ พวกเขาสามารถอาศัยในออสเตรเลียในได้โดยเฉลี่ย 9-11 ปี โดยมีสิทธิเต็มที่ในการทำงาน ก่อนที่จะถูกเนรเทศซึ่งอาจจำแนกได้ดังนี้
- วีซ่าคุ้มครอง: 2.5 ปี
- การอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ฝ่ายบริหาร: 3.6 ปี
- การพิจารณาคดี: 3-5 ปี
"สรุปแล้ว คุณสามารถมีสิทธิในการทำงานได้ค่อนข้างนาน แม้ว่าจะโดนให้ออกจากประเทศแต่มาทำงานในออสเตรเลียเป็นเวลา 10 ปีก็คงคุ้มแล้วล่ะ " รัฐมนตรี โอนีล กล่าว
การยื่นขอวีซ่าผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2021 โดยในปีที่แล้วมีจำนวนผู้ขอวีซ่าตัวนี้ประมาณ 13,000 คน
รัฐตั้งหน่วยปราบปรามผู้แสวงหาผลประโยชน์
รัฐบาลจะจัดตั้งหน่วยปราบปรามถาวร ซึ่งจะเข้าทำงานในแผนกต่างๆ เพื่อคัดกรองใบสมัครที่สุ่มเสี่ยงและลงโทษผู้กระทำความผิด
“หน่วยนี้จะทำงานตรวจสอบทั้งระบบตรวจคนเข้าเมืองและแก้ไขปัญหาใหญ่ที่เราเจอ และทำให้แน่ใจว่าเราได้ถอนรากถอนโคนของกระบวนการนี้และตอนนี้หน่วยดังกล่าวเริ่มปฎิบัติงานแล้ว” รัฐมนตรีโอนีลกล่าว
The government will introduce a new strike force to combat exploitation.
หากหน่วยข่าวกรองทราบว่ามีกลุ่มแสวงหาผลประโยชน์ที่ปฏิบัติการในต่างประเทศ ข้อมูลนั้นจะถูกส่งต่อไปยังกิจการมหาดไทย ซึ่งจะตรวจสอบตัวแทนการย้ายถิ่นฐานที่อำนวยความสะดวกในกระบวนการย้ายถิ่นฐานที่มีฐานปฏิบัติการในออสเตรเลีย
ใบสมัครที่มาจากประเทศนั้นๆ อาจถูกจับตามองเป็นพิเศษ รัฐบาลเชื่อว่าการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่คัดกรองเราจะยิ่งพบผู้สมัครปลอมมากขึ้น
ระบบการตรวจคนเข้าเมืองก็จะได้งบเพิ่มเติม 50 ล้านดอลลาร์ ด้วยเช่นกัน
เจ้าหน้าที่คัดกรองตัวแทนการย้ายถิ่นฐาน
ตัวแทนช่วยเหลือการย้ายถิ่นฐาน (migration agent) ที่ช่วยดำเนินการอย่างไม่สุจริตในออสเตรเลียอาจเป็นฟันเฟืองหลักของห่วงโซ่การหาผลประโยชน์ดังกล่าว
รัฐบาลกลางกำลังดำเนินการปราบปราม โดยการเพิ่มอำนาจและสนับสนุนการทำงานของสำนักงานทะเบียนตัวแทนการย้ายถิ่นฐาน (OMARA) ซึ่งดูแลภาคส่วนนี้ซึ่งจะรวมไปถึง:
- การเพิ่มจำนวนพนักงาน OMARA สองเท่า
- มีบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นสำหรับการประพฤติมิชอบและการยกเลิกการลงทะเบียนเป็นระยะเวลานานขึ้น
- ตรวจสอบประวัติอาญากรรมก่อนที่จะลงทะเบียนเป็นตัวแทน
- OMARA สามารถกำหนดเงื่อนไขให้กับตัวแทนการย้ายถิ่นฐานทั้งหลายได้
Former Victoria Police chief commissioner Christine Nixon's report has been released. Source: AAP / David Crosling
การตรวจสอบที่เข้มข้นขึ้น
หลังจากนี้รัฐบาลจะปฏิบัติการ Inglenook ทำการตรวจสอบทั้งระบบการย้ายถิ่นฐานทั้งหมดเป็นการถาวร
ปฏิบัติการ Inglenook ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และได้เปิดเผยแก๊งอาชญากรที่ใช้ประโยชน์จากระบบวีซ่าของออสเตรเลียเพื่อ:
- การค้าประเวณีที่ผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ และการค้าทาสยุคใหม่
- การนำเข้ายา
- การฟอกเงิน
- การหลบเลี่ยงภาษี
นอกจากนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะขยายออกไปนอกเหนือจากอุตสาหกรรมทางเพศ โดยครอบคลุมถึงการแสวงประโยชน์ทางอาญาและการกระทำผิดกฎหมายอื่นๆ
ภายในเดือนมีนาคมปีนี้ ตรวจพบผู้สมัครวีซ่าปลอม 175 ราย ซึ่งนำไปสู่การออกประกาศแจ้งเตือนชายแดน 57 ครั้ง ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ กว่า 90 ประเทศที่หน่วยงานนี้กำลังจับตามองอยู่
วีซ่านักเรียนปลอม
รายงานดังกล่าวยังพบอีกว่าอุตสาหกรรมการการศึกษาเป็นอีกหนึ่งต้นตอของปัญหาวีซ่า
นักเรียนต่างชาติที่หลั่งไหลเดินทางกลับมาออสเตรเลียหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 โดยปลายปีที่แล้วโดยมีนักเรียนเข้ามาเรียนในออสเตรเลียถึง 370,000 คน
นักเรียนต่างชาติจะต้องแสดงหลักฐานทางการเงินก่อนเดินทางมายังออสเตรเลีย แต่การตรวจสอบพบว่ามีการดำเนินการไม่สุจริต โดยบางครั้งเงินจำนวนเท่ากันจะโอนจากบัญชีหนึ่งไปอีกบัญชีหนึ่งในจำนวนผู้สมัครหลายราย
และจากการเปลี่ยนแปลงของระบบในกระทรวงมหาดไทยทำให้มีจำนวนการปฎิเสธวีซ่าพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้
โดยในเดือนมกราคม ผู้สมัครวีซ่านักเรียนประมาณร้อยละ 5 ถูกปฏิเสธแต่ในเดือนที่ผ่านมามีจำนวนวีซ่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธถึงร้อยละ 30
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา เจสัน แคลร์ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศชุดการเปลี่ยนแปลงที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ "เอเจนท์นักเรียนและสถาบันที่ดำเนินการหลบๆ ซ่อนๆ" แสวงประโยชน์จากนักเรียนต่างชาติ ดังนี้:
- การห้ามมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่างๆ จ่ายค่าคอมมิชชันให้กับตัวแทนเพื่อแย่งชิงจำนวนนักศึกษาต่างชาติ
- มีการทดสอบความเหมาะสมสำหรับเจ้าของสถาบันต่างๆ
- การติดตามการเข้าเรียนของนักเรียน
ในปี 2018-19 มีการอนุมัติวีซ่าจากประเทศจีน มากกว่า 80,000 คน และจากอินเดียมากกว่า 60,000 คน
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจ
ชุมชนไทยในออสเตรเลียถอดบทเรียนจากกรณีกราดยิงพารากอน