กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
ร้านโมนาร์ช เค้ก (Monarch Cake) ร้านกาแฟและเค้กชื่อดังบนถนนแอคแลนด์ สตรีท ที่เมืองเมลเบิร์น ร้านที่เปิดมาเป็นเวลากว่า 90 ปี บนถนนที่คึกคักเสมอ
คริสตินา เซดเดีย เป็นหนึ่งในลูกค้าประจำของร้าน
“ฉันชอบมาที่นี่ มาพูดคุยกับครอบครัวเจ้าของร้าน มาซื้อหนังสือ มันเป็นเวลาที่พิเศษของวันเลย ฉันชอบกาแฟที่นี่ และชอบชีสเค้กที่นี่มาก”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คุณดื่มกาแฟแบบไหน? อธิบายวัฒนธรรมกาแฟที่ออสเตรเลีย
สูตรเค้กของร้านสืบทอดมายาวนานนับร้อยปี และเป็นหนึ่งในเค้กยอดนิยมของชาวโปแลนด์
นิกกี ลาสกี เจ้าของร้านกล่าวว่า เค้กของยุโรปมีวัฒนธรรมของตนเอง เช่น เค้กช็อกโกแลต คูเกิลฮูฟฟ์ (Kooglehoupf)
และเค้กรูปวงกลมนี้มีคนชื่นชอบทั่วประเทศและทั่วโลก
“ร้านของเราอยู่ในหนังสือคู่มือท่องเที่ยวต่างประเทศหลายเล่ม ลูกค้ามาจากเกาหลี จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมัน หลายคนมาที่นี่เพราะได้อ่านเรื่องราวของเรา พวกเขาอยากสัมผัสประสบการณ์ ‘ย้อนยุค’ มันเป็นเกียรติมาก เราสามารถผ่านมาได้ 90 ปี และฉันภูมิใจมาก”
ร้านโมนาร์ชเป็นร้านเค้กแห่งแรกบนถนนที่มีชื่อเสียงด้านขนมหวานนี้ โดยผู้ย้ายถิ่นชาวโปแลนด์เปิดร้านนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1934
เจ้าของร้านปัจจุบันยังคงรักษาภาพและบรรยากาศย้อนยุคนี้ไว้
ชั้นวางหนังสือของร้านมีหนังสือและนิตยสารต่างๆ รวมถึงผนังที่เต็มไปด้วยรูปถ่ายของคนดัง
หลายคนบอกเราเสมอว่า ‘อย่าเปลี่ยนแปลงอะไรเลย’ เราพูดล้อเล่นกันเสมอว่าร้านเค้กโมนาร์ชใช้เทปกาวที่ติดไว้ตั้งแต่ปี 1934 และเราใช้เทปกาวจำนวนมากจริงๆ ในการคงสภาพของร้านไว้เหมือนเดิม มันให้ความจริงใจและเพิ่มเสน่ห์ให้ร้านเราลาสกีเจ้าของร้านโมนาร์ช เค้ก กล่าว
เพิร์ล เลวีนเจ้าของ ร้าน คาร์ลตันส์ โมนาโก ก่อนเปลี่ยนเจ้าของและชื่อร้านเป็นโมนาร์ช เค้ก Credit: Audrey Bourget
จิเดียน มาร์คแฮม พ่อของนิกกี ลาสกียังคงทำงานที่ร้าน 60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เขาทำมาตั้งแต่เริ่มซื้อร้านนี้เมื่อปี 1996
มาร์คแฮมอายุ 96 ปี และเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่โปแลนด์
“เมืองวอร์ซอถูกโจมตีอย่างหนักและเราเคยอาศัยอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นเขตสลัม ในช่วงเวลานั้นเรายังไม่ถูกเยอรมันปิดล้อม จึงมีการสัญจรไปมาได้อยู่ แต่สภาพก็แย่มาก ขาดแคลนอาหาร มีทั้งการทารุณกรรมและโรคภัยไข้เจ็บ เราสามารถออกจากบริเวณนั้นได้ แต่ส่วนอื่นก็ถูกทำลายไป รวมถึงพ่อของฉันด้วย”
จิเดียน มาร์คแฮมกล่าวว่า แม็กซิมิเลียน โมนบอม พ่อของเขาเป็นทหารของโปแลนด์ และคาดว่าเสียชีวิตจากการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นติดๆ กัน ที่เรียกว่าการสังหารหมู่คาติน
“พ่อของฉันถูกทหารรัสเซียจับตัวไป พ่อเป็นนายทหารสำรองในกองทัพโปแลนด์ และเมื่อสงครามเริ่มขึ้น พ่อไปที่หน่วยในแนวรบด้านตะวันออก เราไม่ได้รับศพ ไม่มีหลุมฝังศพ เขาเป็นหนึ่งในทหาร 20,000 นายที่ถูกฆ่าในปี 1940”
จิเดียน มาร์คแฮม เจ้าของร้านโมนาร์ช เค้ก Source: Supplied / Amit Rehak
กว่า 28 ปีที่ร้านเค้กที่เขารักได้เป็นที่รู้จักในชุมชนที่มีความหลากหลายของเซนต์ คิลดา ดังที่รอย ลองอี ลูกค้าของร้านบรรยาย
“ผมเป็นลูกค้าประจำมา 15 ปีแล้ว ผมรู้จักครอบครัวนี้เป็นอย่างดี มันวิเศษมาก ผมเชื่อในสิ่งที่พวกเขาทำให้กับชุมชนที่นี่ ครอบครัวนี้เคยทุกข์ทรมานเกินคำบรรยายมาก่อน และการที่พวกเขายังมีจิตใจที่มีมนุษยธรรมอยู่มีความหมายสำหรับผมและครอบครัวมาก”
นิกกี ลาสกี ลูกสาวของมาร์คแฮมทำงานที่ร้านมากว่าครึ่งชีวิต เธอกล่าวว่าการที่ร้านเค้กโมนาร์ชให้ความสำคัญกับชุมชน เป็นแรงบันดาลใจให้เทศบาลตั้งชื่อถนนตามชื่อของร้าน
ร้านของเราเป็นร้านเดียวในรัฐวิกตอเรียที่มีชื่อถนนตามชื่อของร้าน เราเป็นมากกว่าร้านเค้ก เรายังเป็นศูนย์กลางชุมชนและสถานที่ที่ผู้คนสามารถมานั่งและพูดคุยกัน ดังนั้นพวกเขาจึงตั้งชื่อถนนว่า โมนาร์ช เลนลาสกีกล่าว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส จากไม่มีงานจนมีร้านเค้กชื่อดังในเมลเบิร์น
อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลานี้นับว่าเป็นช่วงเวลาของความยากลำบาก มีการคาดการณ์ว่าจะมี 1 ใน 11 ธุรกิจที่ต้องล้มละลายในปีหน้า ลาสกีกล่าวว่าความท้าทายคือการรับมือกับต้นทุนที่มีราคาสูงขึ้น
ราคาทุกอย่างสูงขึ้นหมด ราคาไข่ขึ้นไป 15 เท่า ฉันไม่ได้ล้อเล่น ราคาขึ้นเป็นสองเท่า ราคาเนยก็ขึ้น ช็อกโกแลตก็ขึ้น ค่าจ้างก็ขึ้น ทุกอย่างขึ้นหมด แต่คุณไม่สามารถขึ้นราคาได้เพราะเท่านี้ผู้คนก็เครียดกันอยู่แล้ว คุณจึงต้องยอมได้กำไรน้อยลงลาสกีกล่าวถึงเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันร้านโมนาร์ชเค้กเพิ่งได้รางวัล ‘La List’ และลาสกีกล่าวว่าเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับเลือก
“ชาวฝรั่งเศสยอมรับเราและให้รางวัลกับเรา มันเป็นเรื่องที่วิเศษมาก นับเป็นครั้งแรกที่เราได้อยู่ในกลุ่มร้านเบเกอรีชั้นนำของโลก ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเราเป็นเพียงร้านแบบครอบครัวเล็กๆ ที่เซนต์ คิลดา”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คนไทยต้องดิ้นรนแค่ไหนในวิกฤตเศรษฐกิจออสเตรเลีย
แม้ว่าจะต้องเผชิญความท้าทายมากมาย แต่ครอบครัวที่เข้มแข็งนี้ก็ตั้งเป้าหมายว่าจะอยู่ถึง 100 ปีและนานกว่านั้น
“ความหวังของฉันคือให้ร้านยังคงอยู่แบบนี้ ทั้งสินค้าและบรรยากาศของร้าน แม้ในความเป็นจริงมันจะไม่ได้ทำเงิน เราขอแค่ร้านอยู่รอดและไม่อยากให้ร้านหายไป"
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
แนท ไทพันธ์; เส้นทางการค้นหาตัวตน รสชาติแห่งความทรงจำ สู่แชมป์มาสเตอร์เชฟ