เมื่อช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา การทดลองวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 โดย บริษัท แอสตราเซเนกา และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งในสหรัฐ ฯ หลังถูกระงับชั่วคราวเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ซึ่งหากการทดลองเป็นไปตามคาด วัคซีนต้านไวรัสโคโรนาจำนวน 3.8 ล้านโดส จะสามารถเข้าถึงได้ในช่วงต้นปี 2021
LISTEN TO
ชาวออสเตรเลียอาจต้องรออีกปีกว่าจะมีวัคซีนต้านโควิด
SBS Thai
26/10/202006:14
นายเกร็ก ฮันท์ (Greg Hunt) รัฐมนตรีสาธารณสุขในรัฐบาลสหพันธรัฐ ได้มองในแง่ดีสำหรับการพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสดังกล่าว
“เราอยู่ในจุดที่โชคเข้าข้าง เรามีวัคซีนที่มีโปรตีนเป็นพื้นฐานในส่วนของแอสตราเซเนกา ซึ่งยังคงเป็นไปตามแผนในช่วงแรกของการเริ่มต้น” นายฮันท์ กล่าว
แต่ไม่มีสิ่งใดที่ประกันได้ว่า การพัฒนาวัคซีนจะประสบผลสำเร็จ ขณะที่ออสเตรเลียได้ทำข้อตกลงในการรักษาสิทธิ์ในการเข้าถึงและผลิตวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา ที่วิจัยและพัฒนาโดยบริษัท CSL และมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ มีผู้ทดลองและพัฒนาวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาจำนวน 165 รายทั่วโลก
ร่างประมาณแผ่นดินที่ได้มีการเปิดเผยเมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีการคาดการณ์ที่สรุปว่า ออสเตรเลียจะมีโครงการวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาทั่วประเทศ ในช่วงปลายปี 2021 ขณะที่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมนั้นจะยังคงบังคับใช้ต่อไป จนกว่าการพัฒนาวัคซีนจะประสบผลสำเร็จในขณะเดียวกัน มีผู้พัฒนาวัคซีนหลายรายทั่วโลกที่ได้เข้าสู่ระยะสุดท้ายของการทดลองแล้ว
Medical syringe is seen with AstraZeneca company logo displayed on a screen in the background. Source: Sipa USA Rafael Henrique
รศ.สันจายา เซนานายาเค (Sanjaya Senanayake) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) กล่าวว่า ยังมีความไม่แน่นอนอีกมากรออยู่ข้างหน้า
“เราไม่รู้ว่าวัคซีนชนิดใดจะได้ผล แม้แต่ของบริษัท แอสตราเซเนกา ก็ตาม ตอนนี้การพัฒนาวัคซีนอยู่ในระยะที่ 3 แล้ว แต่เราไม่รู้ว่าในระยะที่ 3 จะแสดงให้เห็นว่าวัคซีนจะได้ผลในท้ายที่สุดหรือไม่” รศ.เซนานายาเค กล่าว
แต่ก็ยังมีวัคซีนอีกชนิดหนึ่งที่กำลังดูมีความหวัง นั่นก็คือ วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA
"วัคซีน mRNA หรือเมสเซนเจอร์ RNA เป็นวัคซีนชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีโปรตีนหรือเชื้อที่ถูกทำให้ตายเป็นส่วนประกอบ แต่เป็นพันธุกรรมโมเลกุลที่ฉีดเข้าไปเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน” รศ.เซนานายาเค กล่าว
แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหพันธรัฐได้เตือนว่า ถ้าวัคซีนชนิดดังกล่าวประสบผลสำเร็จ มันอาจต้องใช้เวลานานกว่าที่จะสามารถผลิตและจัดจำหน่ายได้
นางแคเรน แอนดรูส์ (Karen Andrews) รัฐมนตรีด้านอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กล่าวกับโทรทัศน์เอบีซีว่า อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้กว่าจะมีวัคซีนชนิดนี้ แต่ขั้นตอนต่าง ๆ จะดำเนินไปอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
“ดิฉันหวังว่าเราจะสามารถทำได้สำเร็จได้ในกรอบเวลาเวลาประมาณ 9 – 12 เดือน แต่ดิฉันคิดว่าเราต้องรอบคอบ เนื่องจากวัคซีนชนิดนี้มีตัวแปรหลายชนิด ดังนั้น มันจึงยังไม่ได้รับการรับรองในจุดนี้ เรายังไม่ทราบว่าวัคซีนดังกล่าวจะมีพื้นฐานมาจากอะไร ดังนั้น เราจึงต้องเตรียมความพร้อมในหลายด้าน” นางแอนดรูส์ กล่าว
ด้านพรรคแรงงานได้โต้แย้งว่า รัฐบาลสหพันธรัฐกำลังล้มเหลวในการพิจารณาผู้พัฒนาวัคซีนรายอื่น ๆ จากทั่วโลก
นายฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขในรัฐบาลสหพันรัฐ กล่าวว่า เขากำลังได้รับการสนันสนุน จากการมีส่วนร่วมของออสเตรเลียกับโครงการผลิตวัคซีน COVAX ซึ่งเป็นความร่วมมือในการผลิตวัคซีนจากนานาประเทศ โดยออสเตรเลียได้ลงทุนในโครงการนี้เป็นจำนวนเงิน $120 ล้านดอลลาร์
“เรามีช่องทางในการเข้าถึงวัคซีน นอกจากนั้น เรายังมีโรงงานวัคซีนของ COVAX ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเข้าถึงวัคซีนใดก็ตามที่ประสบผลสำเร็จราว 25.5 ล้านโดส ดังนั้นเราจึงอยู่ในจุดที่มั่นคงในการเริ่มจำหน่ายวัคซีนในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า” นายฮันท์ กล่าว
ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ
การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
เรียกร้องให้บุคลากรทางแพทย์ใช้ภาษาที่เรียบง่าย