เฮย์ ฟีเวอร์กับโควิด-19 มีอาการเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด แพทย์ทั่วไปในเมลเบิร์น ให้คำแนะนำว่าเราจะบอกความแตกต่างระหว่างอาการของเฮย์ ฟีเวอร์ (การแพ้เกสรหรือละอองจากพืช) กับการติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างไร พร้อมฝากถึงการป้องกันตัวเองจากพายุฝน thunder storm asthma ซึ่งอาจทำให้บางคนเกิดอาการหอบหืดเฉียบพลันจนมีอันตรายถึงชีวิต

Hay Fever

Woman Blowing Her Nose Source: Moodboard

ช่วงฤดูใบไม้ผลิที่เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกันยายนเรื่อยไปจนฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่คนที่มีอาการแพ้เกสรหรือละอองจากพืช หรือ เฮย์ ฟีเวอร์ในออสเตรเลียมีอาการกำเริบเป็นประจำทุกปี แต่การแพร่เชื้อของไวรัสโควิด-19ในปีนี้ทำให้สถานการณ์ของคนที่เป็นเฮย์ ฟีเวอร์ มีความซับซ้อนมากขึ้นเพราะเฮย์ ฟีเวอร์และโควิด-19 มีอาการบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน 

พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด แพทย์ทั่วไปในเมลเบิร์นให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของสองโรคนี้และแนวทางการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

ฟังการพูดคุยกับ พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิดทั้งหมดได้ที่นี่
LISTEN TO
Is it hay fever or COVID symptoms? image

คุณติดโควิดหรือแค่มีอาการของเฮย์ ฟีเวอร์?

SBS Thai

02/10/202016:05
บางครั้งอาการของเฮย์ ฟีเวอร์และอาการของไวรัสโควิด-19 แยกได้ยากเพราะทั้ง 2 โรคมีอาการบางอย่างคล้ายคลึงกัน พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิด อธิบายว่าอาการของเฮย์ ฟีเวอร์อย่างที่คนที่เคยเป็นจะทราบดีว่าส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะอาการน้ำมูกไหล มีอาการจาม คันตา คันจมูกและอาจจะคันคอด้วยนี่คืออาการทั่วไปของ เฮย์ ฟีเวอร์
ความจริงก็แยกได้ยากมากกับอาการของโควิด-19 เพราะมีอาการบางอย่างที่คล้ายกันเช่น อาการไอ คัดจมูก หรือปวดหัวที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งการเป็นเฮย์ ฟีเวอร์และโควิด-19
แต่อย่างไรก็ตามไวรัส โควิด-19 ก็มีอาการเฉพาะตัวที่แตกต่างไป พญ.ศิราภรณ์ ให้ข้อมูลว่า
อาการที่เข้าข่ายเป็นโควิด-19 มากกว่า ก็คือ มีไข้ หนาวสั่น เสียการรับรส หรือรับกลิ่น หายใจติดขัดลำบาก เจ็บคออย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย เหล่านี้เป็นอาการสำคัญของโควิด-19
หากคุณมีอาการที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่กล่าวมาข้างต้นและไม่แน่ใจว่าเป็นอาการของเฮย์ ฟีเวอร์หรืออาการของไวรัส โควิด-19 พญ.ศิราภรณ์ แนะนำว่าคุณควรไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทันที และไม่จำเป็นต้องกินยาแก้แพ้เพื่อบรรเทาอาการ
รัฐบาลมีการรณรงค์ว่าไม่ว่าใครก็ตามที่มีอาการของโรคทางเดินหายใจไม่ว่าจะเป็นเฮย์ ฟีเวอร์ เป็นหวัด หรือเป็นโควิด อาการใดก็ตาม ก็ให้ตรวจหาเชื้อโควิดทันที
ในระหว่างที่คุณรอผลตรวจโควิดซึ่งปัจจุบันใช้เวลาเพียง 1-2 วันเท่านั้น พญ.ศิราภรณ์ย้ำว่า คุณควรมีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันคนรอบข้างเช่นเดียวกับอาการของไวรัสโควิด-19 เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การแยกของใช้ส่วนตัว การแยกตัวจากผู้อื่น การไอการจามให้ป็นที่เป็นทางและการล้างมือให้สะอาด เป็นการป้องกันโดยรวมทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเฮย์ ฟีเวอร์หรือติดเชื้อโควิด

เมื่อคุณได้รับรายงานผลตรวจเชื้อโควิด-19 แล้วและพบว่าไม่ได้ติดเชื้อไวรัสจึงทำการรักษาอาการของเฮย์ ฟีเวอร์ต่อไป หากมีอาการไม่รุนแรงมากนัก พญ.ศิราภรณ์ ได้แนะนำแนวทางการรักษาตัว
สามารถใช้ยาพ่นจมูกเพื่อลดอาการและป้องกันไม่ให้มีอาการเฮย์ ฟีเวอร์เพิ่มมากขึ้น หรือการรับประทานยาแก้แพ้ ยาหยอดตา อย่างไรก็ตามแนวทางการรักษาตัวนี้ขึ้นอยู่กับอาการเฉพาะตัวของแต่ละคน
หากคุณต้องการไปรับคำปรึกษาจากแพทย์สามารถติดต่อแพทย์ทั่วไปหรือ GP ประจำตัวคุณได้ แต่ถ้าหากท่านใดอาศัยอยู่ในนครเมลเบิร์นและอยู่ในช่วงล็อกดาวน์ พญ.ศิราภรณ์ ชี้ว่าคุณสามารถโทรศัพท์ไปปรึกษาแพทย์ที่คลินิกใกล้บ้านหรือสามารถใช้วิดีโอคอลกับแพทย์เพื่อประเมินอาการเบื้องต้นเพื่อจะวินิจฉัยวิธีการรักษาต่อไป
การไปพบแพทย์ยังมีความปลอดภัยแต่ว่าแต่ละคลินิกมีการจัดการที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะไม่รับคนไข้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจในลักษณะ Face-to-Face แต่รัฐบาลมีการจัดการบริการเมดิแคร์ในลักษณะของ telehealth คือการคุยทางโทรศัพท์หรือทางวิดีโอกับแพทย์ได้ เพราะจะเป็นการวินิจฉัยอาการเบื้องต้นเพื่อประเมินหาแนวทางรักษาต่อไป
หรือถ้าคุณต้องการไปตรวจแบบตัวต่อตัวกับแพทย์ พญ.ศิราภรณ์ แนะนำว่าคุณสามารถติดต่อคลีนิกโรคทางเดินหายใจใกล้บ้านซึ่งสามารถค้นหาได้จาก
มีคลินิกโรคทางเดินหายใจในแต่ละ suburb มีรายชื่ออยู่ในเว็บไซต์ DHHS คลินิกเฉพาะเหล่านี้จะมีการอนุญาติให้คนที่ไปตรวจ Face - to- Face กับแพทย์ได้ ถ้าไม่แน่ใจก็สามารถโทรคุยกับ GP ได้
โปรดติดตามฟังบทสัมภาษณ์ของ พญ.ศิราภรณ์ ทาเกิดทั้งหมด เพื่อฟังเรื่องของ พายุฝน thunder storm asthma ว่ามีอันตรายอย่างไรและคนกลุ่มใดบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะนี้ พร้อมทั้งวิธีการป้องกันตัวเองจากภาวะหอบหืดเฉียบพลันจากพายุชนิดนี้

 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 


 

 

 

 


Share
Published 20 October 2020 9:43pm
Updated 19 January 2021 11:45am
By Parisuth Sodsai
Presented by Chayada Powell
Source: SBS Thai

Share this with family and friends