เมื่อคุณไปซูเปอร์แล้วเห็นป้ายเหลืองติดอยู่ตามสินค้าต่างๆ ว่า ราคาพิเศษ (special)
แต่หากลองมองลึกลงไปดีๆ กลับพบว่า ราคาขายเดิมนั้น ถูกกว่าราคาโปรโมชันเสียอีก
อ้างอิงจากภาคประชาชนในนามกลุ่ม CHOICE พวกระบุว่า นี่เป็นเพียงหนึ่งในกลเม็ดที่ทางซูเปอร์ใช้ในการทำ “โปรโมชันกำมะลอ” ทำให้เรารู้สึกว่าราคาเข้าถึงได้มากขึ้น
ในการสำรวจชิ้นใหม่ของ CHOICE พบว่า มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคที่พวกเขาทำการสำรวจ กล่าวเป็นเสียงเดียวกันเกี่ยวกับป้ายราคาพิเศษ หรือโปรโมชันที่ถูกนำเสนอโดย Coles และWoolworths โดยพวกเขารู้สึกว่ามันยากมากที่จะรู้ว่านี่คือการลดราคาพิเศษจริงๆ หรือไม่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลสั่งตรวจสอบจรรยาบรรณสำหรับซูเปอร์มาร์เก็ตในออสเตรเลีย
“คุณมองไปที่ชั้นวางสินค้าที่มีป้ายหลากสี สร้างความสับสนเป็นอย่างมาก” หนึ่งในผู้ร่วมทำเป็นสอบถามกล่าวกับ CHOICE
“สิ่งที่ฉันอยากจะรู้มากที่สุดคือ ราคาที่ลดอยู่นี่คือราคาที่สมเหตุสมผลจริงๆ เมื่อราคาเดิมที่แสดงอยู่บนป้ายลดราคา ซึ่งมีขนาดตัวหนังสือเล้กมาก มากเสียจนต้องเอาแว่นขยายมาส่องดู”
บี เชอร์วูด (Bea Sherwood ) ผู้รับผิดชอบอาวุโสด้านนโยบายและแคมเปญของ CHOICE กล่าวว่า ซูเปอร์มาร์เก็ตใช้แนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมการขายที่ "สับสน" หลายประการ ซึ่งทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ยากว่าพวกเขากำลังประหยัดเงินในการซื้อของชำหรือไม่
“ผู้บริโภคควรได้รับการแจ้งราคาที่ชัดเจนและโปร่งใสเพื่อให้พวกเขามั่นใจว่าได้รับในสิ่งที่สมควรแก่เงินที่จ่ายไป เราต้องการกฎระเบียบใหม่ที่บังคับให้ซูเปอร์มาร์เก็ตเหล่านี้จัดสรรข้อมูลโปร่งใสนี้ เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบที่ควรสร้างความมั่นใจว่าซูเปอร์ฯยักษ์ใหญ่เล่นในกฎอย่างยุติธรรมจริงๆ
นี่คือกลเม็ดที่คุณอาจเคยเห็นผ่านมาเวลาเดินในซูเปอร์มาร์เก็ต
“ราคาเดิม/ราคาใหม่” การเคลมราคา
สิ่งนี้มักเจอบ่อยในช่วงที่ซูเปอร์ลดราคาสินค้าจากราคาปลอมๆ ที่ตั้งไว้สูงๆ และราคาใหม่ที่บอกว่าเป็นราคาลดแล้ว
หนึ่งในตัวอย่างที่ถูกค้นพบโดย CHOICE คือ ที่ Coles สาขา Marrickville ในซิดนีย์ ที่ได้ลงโฆษณาว่าเจลอาบน้ำ Palmolive Shower Scrub Coconut Butter ขนาด 400ml ราคาลดลงพิเศษที่ 4.50 ดอลลาร์ฯ ลดจากราคาเดิมที่ 6.49 ดอลลาร์ฯ ในเดือนกันยายน 2017
แต่นี่คือราคาเมื่อห้าปีก่อน และกว่าสามปีครึ่งก่อนที่ Coles สาขา Marrickville จะเปิดร้านเสียอีก
นอกจากนี้ทาง CHOICE ยังระบุอีกว่า เชิงทฤษฎีแล้วซูเปอร์มาร์เก็ตสามารถเลือกช่วงเวลาเอาเองว่าจะขึ้นราคาปลอมๆ เมื่อไร โดยไม่ต้องสนใจว่าราคานั้นจะสร้างความผันผวนต่อราคาอื่นๆ รวมไปถึงช่วงที่ลดราคาพิเศษเช่นกัน
“ผลจากการทำเช่นนั้น ทำให้ราคาสินค้าสูงกว่าราคาเดิมในช่วงที่ผ่านมา แต่กระนั้นซูเปอร์มาร์เก็ตยังคงทำราคาโปรโมชันใส่ลูกค้าอยู่ดี” ทาง CHOICE กล่าวในการยื่นต่อคณะกรรมการคัดเลือกวุฒิสภาว่าด้วยราคาซูเปอร์มาร์เก็ต
"เรายังมีความกังวลเกี่ยวกับความเหมาะสมของการใช้การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลตามธรรมชาติในการกำหนดราคาเพื่อทำโปรฯส่วนลด"
เมื่อราคาที่ลดแล้วกลับเท่ากับราคาเดิม
อีกหนึ่งตัวอย่างคือ เมื่อซูเปอร์มาร์เก็ตโชว์ราคา “เดิม” แต่ป้ายราคาใหม่ที่ลดลงกลับเป็นราคาเดียวกัน
“ผู้บริโภคถูกดึงดูดด้วยป้ายโปรโมชัน และเชื่อว่าพวกเขากำลังได้รับข้อเสนอพิเศษ แต่ความเป็นจริงแล้วราคามันไม่ได้ลดลงเลยด้วยซ้ำ”
หนึ่งในผู้ทำแบบสอบถามอธิบายว่าเห็นราคาโปรโมชันบนชั้นวางสินค้าแต่พอมองรายละเอียดดีๆ ในราคาก่อนลด พบว่ามันคือราคาเดียวกัน”
“สินค้าตัวนั้นแท้จริงแล้วมันไม่ได้มี ‘ราคาพิเศษ’ เลย” เขากล่าว
การเลือกใช้ป้ายราคาเมื่อสินค้าตัวนั้นมาไม่ได้มีโปรฯ
คุณอาจจะเคยเห็นกันมาบ้างว่าสินค้าตัวนั้นมีป้ายราคาพิเศษ ทว่าความจริงมันไม่ได้พิเศษอะไรเลย
นอกจากนี้ยังเจอป้ายที่มักขึ้นว่า “จนกว่าของจะหมด” ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่ากำลังลดราคาอยู่ แต่ความจริงไม่เลย
“คนที่ไม่ได้ดูดีๆ อาจจะเข้าใจผิดได้โดยง่ายว่าสินค้าตัวนี้กำลังลดราคาอยู่” รายงานชิ้นนี้ระบุ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
งานเดียวไม่พอ ออสฯ พบปชช.ควบหลายงานสู้ค่าครองชีพ
หรือป้านอื่นๆ เช่น “ราคาพิเศษใหม่” “ใหม่” หรือ “ราคาพิเศษช่วงแนะนำ” (introductory price) คำเหล่านี้มักสร้างความเข้าใจผิดให้ผู้บริโภคว่าพวกเขากำลังได้รับข้อเสนอลดราคาอยู่
หนึ่งในตัวอย่างที่ทาง CHOICE ยกมานั่นคือ ที่ Woolworths Metro สาขา Marrickville ในซิดนีย์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2024 เมื่อพบว่าป้าย “ราคาถูก” ถูกนำมาใช้กับสินค้าอาหารแห้งจำนวนมาก ซึ่งสร้างความสับสนว่าแล้ว ราคาถูกนั่นคือเท่าไหร่กันแน่
A display of nut products at Woolworths Metro Marrickville, Sydney, on 4 February 2024, with labels that may mislead consumers into thinking they're getting a discount, according to CHOICE. Credit: CHOICE
โปรแกรมสะสมคะแนนที่กีดกันผู้บริโภค
หากคุณไม่ได้ลงทะเบียนในโปรแกรมสะสมคะแนน คุณมักรู้สึกว่า กำลังพลาดข้อเสนอพิเศษอยู่
นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมซูเปอร์มาร์เก็ตจำนวนมากเลือกทำราคาเฉพาะสมาชิกเท่านั้น ซึ่งต้องการให้ผู้คนลงทะเบียนเข้าโปรแกรมนี้เพื่อรับข้อเสนอด้านราคา
หลักคิดแบบนี้ ทำให้คนที่ไม่ใช้สมาชิกถูกกีดกันการได้รับการลดราคาและข้อเสนอพิเศษ
ทาง CHOICE กล่าวว่า ทุกคนควรเข้าถึงอาหารและสินค้าจำเป็นในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
“ผู้คนรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับราคาพิเศษที่ไม่พิเศษ แล้วยังรู้สึกว่าถูกบังคับให้สมัครสมาชิกและซื้อของหลายๆ ชิ้นเพื่อราคาพิเศษที่สุดท้ายมักจบลงด้วยการซื้อมากกว่าที่ต้องการ” เชอร์วูดกล่าว
“พฤติกรรมเหล่านี้จากซูเปอร์มาร์เก็ต ย่อมเป้นสิ่งที่รับไม่ได้อยู่แล้ว และมันยังส่งผลกระทบร้ายแรงต่อวิกฤติค่าครองชีพอีกด้วย”
ด้าน CHOICE ได้มีข้อเสนอจำนวนมากถึงรัฐบาลกลางในการยื่นตรวจสอบว่าด้วยราคาซูเปอร์มาร์เก็ต
นอกจากนี้ ทางองค์กรฯยังต้องการให้โปรโมชันที่สร้างความเข้าใจผิดนั้นถูกสั่งห้ามทำ มีการบังคับอย่างเข้ามงวดการกำหนดราคาต่อหน่วย และซูเปอร์มาร์เก็ตควรถูกบังคับให้เผยแพร่ข้อมูลการกำหนดราคาในอดีตเพื่อให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงราคาได้
โฆษก Woolworths กล่าวกับ SBS News ในแถลงการณ์ว่า “พวกเราทำงานอย่างหนักเพื่อให้มั่นใจว่าพวกเราได้ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของออสเตรเลีย และสื่อสารเรื่องราคาของเราในแคตตาล็อกอย่างชัดเจน ถูกต้อง รวมถึงในตัวร้านและช่องทางออนไลนด้วย”
ด้าน Coles กล่าวในแถลงการณ์ว่า “พวกเราได้ให้ข้อมูลราคาที่ชัดเจนและถูกต้อง และเราตั้งใจแน่วแน่ ทั้งตั้งเป้าเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าของเราว่าพวกเขาจะได้รับข้อเสนอราคาที่ดีที่สุด”
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ส่องดูอาชีพคนถือป้ายหยุดรถ หลังเงินเดือนปรับเพิ่มเป็น 120,000 ดอลลาร์ฯ/ปี