งานเดียวไม่พอ ออสฯ พบปชช.ควบหลายงานสู้ค่าครองชีพ

ค่าครองชีพที่สูงขึ้นยังคงสร้างแรงกดดันกับเงินในกระเป๋าอย่างต่อเนื่อง ประชาชนในออสเตรเลียราว 9 แสนคนต้องทำหลายงานเพื่อให้พอกินพอใช้

A woman makes coffee

เลขาสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมออสเตรเลีย (ACTU) กล่าวว่า แรงกดดันจากค่าครองชีพ หมายถึงการที่ผู้คนจำนวนมากไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากทำงานหลายงาน Source: AAP / JAMES ROSS

ประเด็นสำคัญในบทความ
  • ไตรมาสเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบประชาชนในออสเตรเลียราว 9 แสนคนทำงานมากกว่า 1 งาน หลังค่าครองชีพพุ่งทะยานจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูง
  • แซลลี แม็กมานัส เลขาฯ สภาหอการค้าออสฯ เผยหลายคนต้องทำหลายงานเพื่อให้พอกินพอใช้
  • สถิติตลาดแรงงานส่อสัญญาณตลาดงานเริ่มคึกคัก หลังถูกโควิด-น้ำท่วมซัดไตรมาส มี.ค.จับตาธนาคารขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากปรับสมดุลต้นทุนทางการเงิน
ประชาชนในออสเตรเลียกำลังสร้างสถิติใหม่ในการทำงาน หลังพบว่ามีประชาชนราว 900,000 คนกำลังทำงานมากกว่า 1 งาน เมื่อไตรมาสเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 6.5 จากจำนวนประชากรที่มีงานทำทั้งประเทศ

“นี่เป็นอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่เริ่มการบันทึกเป็นรายไตรมาสในปี 1994 และมากกว่าระดับก่อนการแพร่ระบาดใหญ่ประมาณ 0.5%” ลอวเรน ฟอร์ด (Lauren Ford) หัวหน้าฝ่ายสถิติแรงงาน จากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย กล่าว
แซลลี แม็กมานัส (Sally McManus) ประธานสภาหอการค้าแห่งออสเตรเลีย (ACTU) กล่าวว่า ผู้คนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากทำหลายงานเพื่อให้พอจ่ายบิลต่าง ๆ

งบประมาณครัวเรือนก็ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นด้วย ในไตรมาสเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

“สิ่งนี้ในเวลานั้น เกิดขึ้นเมื่อผลกำไรของธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดของเราทะยานขึ้น และผลิตผลของแรงงานอยู่ในระดับสูงสุดในรอบทศวรรษในเวลานั้น” คุณแม็กมานัสกล่าว
“นี่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับปรุงกฎหมายสถานประกอบการณ์ของเรา เพื่อให้ค่าจ้างได้ขยับขึ้นไปอีกครั้ง”

สถิติแรงงานเมื่อไตรมาสเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยังได้สะท้อนภาพของตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูงมาก โดยมี:
  • ตำแหน่งงานซึ่งมีคนเข้ามาเติมเต็มแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
  • และมีตำแหน่งงานที่ยังว่างและต้องการคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1
ขณะที่จำนวนชั่วโมงทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในไตรมาสนี้ หลังไตรมาสเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสถานการณ์อุทกภัย
อลัน ออสเตอร์ (Alan Oster) นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย (NAB) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเริ่มกัดกร่อนเข้ามาในรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (disposable income) และบีบให้ครัวเรือนต้องควบคุมการใช้จ่าย

“แม้เป็นไปได้น้อยที่มันจะกัดกินไปจนถึงปลายปี 2022 แต่เป็นไปได้ว่าปี 2023 จะเป็นปีทีเชื่องช้าของผู้บริโภค ดังนั้นแล้วมันก็จะเป็นเช่นนั้นกับผู้ค้าปลีกด้วยเช่นกัน” คุณออสเตอร์กล่าว

อาจสร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ถือสินเชื่อบ้าน แต่นั่นยังหมายถึงการที่ผู้ออมเงินจะได้รับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมในที่สุด
ธนาคารได้ส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นไปสู่ลูกค้าสินเชื่อบ้านอย่างรวดเร็ว แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้นสำหรับผู้มีเงินออม

อย่างไรก็ตาม แซลลี ทินดอล (Sally Tindal) นักวิจัยจาก RateCity กล่าวว่า ธนาคารบางแห่งกำลังตามหาผู้มีเงินออมมากขึ้น

ขณะที่ดอกเบี้ยเรียกเก็บจากผู้ถือสินเชื่อเพิ่มสูงขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน คุณทินดอลกล่าวว่า เงินฝากจากผู้ออมเงินกำลังกลายเป็นส่วนสำคัญมากขึ้นของอัตราส่วน
“นั่นคือเห็นผลว่าทำไมผู้ปล่อยสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำจึงเป็นธนาคาร มากกว่าที่จะเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันทางการเงินอย่างที่เราโตมาและรู้จักกัน” คุณทินดอลกล่าว

“ข่าวดีก็คือ ผู้ออมเงินกลับมากลายเป็นสินค้าซึ่งเป็นที่ต้องการหลังได้รับผลตอบแทนที่ไม่น่าดูมาหลายปี แต่พวกเขาก็ยังคงต้องเปรียบเทียบดูกับที่ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด”

ธนาคารเจ้าตลาดหลายรายในตอนนี้ พบว่ามีข้อเสนออัตราดอกเบี้ยสำหรับบัญชีเงินฝากสูงถึงร้อยละ 3.6
แต่คุณทินดอล กล่าวว่า บางธนาคารก็ยังคงเลือกว่าบัญชีออมทรัพทย์ประเภทใดจะสามารถยื่นขออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ และก็มีบางบัญชีก็อาจไม่ได้รับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเลย

สถาบันการเงินรายใหญ่ของออสเตรเลียทั้ง 4 ราย ได้เพิ่มดอกเบี้ยเต็มอัตราขึ้นมาร้อยละ 0.5 สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้านอัตราผันแปร นับตั้งแต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของธนาคารสำรองฯ เมื่อเดือนกันยายน แต่ธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย (NAB) และธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ) ยังคงไม่ได้มีการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์เงินฝากใด ๆ ของทางธนาคาร

ขณะที่ธนาคารคอมมอนเวลธ์ (CBA) และธนาคารเวสต์แพค (WBC) ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นแล้วสำหรับบัญชีเงินฝากบางประเภท แต่ไม่ใช่ทั้งหมด


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 15 September 2022 3:32pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP


Share this with family and friends