ความเศร้าโศกเมื่อย้ายถิ่นคืออะไร? คุณจะจัดการกับความรู้สึกสูญเสียและการพลัดถิ่นได้อย่างไร?

Silhouette of young Asian mother and cute little daughter looking at airplane through window at the airport while waiting for departure. Family travel and vacation concept

ความเศร้าโศกของผู้ย้ายถิ่นมักที่ประสบเมื่อพวกเขาย้ายประเทศ Source: Moment RF / d3sign/Getty Images

การย้ายไปอยู่ต่างประเทศระยะยาวมักมาพร้อมกับความรู้สึกหลากหลายอารมณ์ ผู้ย้ายถิ่นอาจต้องเจอเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่างและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในต่างประเทศ หลายคนรู้สึกถึงการพลัดถิ่นและสูญเสียตัวตน แล้วผู้อพยพจะรับมืออย่างไรเพื่อให้รู้สึกว่ามีตัวตนอีกครั้ง?


ประเด็นสำคัญ
  • ความรู้สึกเศร้าของผู้อพยพนั้นซับซ้อนและมีหลายแง่
  • ความรู้สึกสูญเสียเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้และอาจจัดการได้ยาก
  • ความเศร้าที่บ่มไว้นานอาจทำให้ตัดสินใจได้ล่าช้าและเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงในอนาคต
  • การรักษาอาจซับซ้อนและแตกต่างไปแต่ละบุคคล แต่มีความช่วยเหลืออยู่

กด ▶ ด้านบนเพื่อฟังพอดคาสต์

ความเศร้าโศกจากการย้ายถิ่นนั้นซับซ้อน นอกจากความเครียดเรื่องความแตกต่างด้านวัฒนธรรมแล้ว ยังมีความคิดถึงบ้านหรือความยากลำบากเนื่องจากอุปสรรคทางภาษาด้วย ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยหลายรายประสบความรู้สึกสูญเสียทั้งที่จับต้องได้และไม่ได้ ซึ่งอาจกัดกร่อนสุขภาวะและความสัมพันธ์ได้

นายแพทย์แกรนท์ บลาชกี (Dr Grant Blashki) จากบียอนด์ บลู (Beyond Blue) กล่าวว่าความเศร้าโศกจากการย้ายถิ่นอาจแสดงออกมาในรูปแบบที่ต่างกัน

“มันอาจเป็นความรู้สึกทางจิตใจ ความรู้สึกเศร้า ตกใจ รู้สึกโกรธหรือรู้สึกผิด อาจส่งผลทางร่างกาย ทำให้นอนไม่หลับ เหนื่อยล้า รู้สึกหมดแรง หลายคนที่โศกเศร้าพบว่าบางครั้งมีเรื่องแย่ๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น ความขัดแย้งที่บ้านหรือที่ทำงาน หรือการหันไปพึ่งดื่มเครื่องดื่มมึนเมา”
ความเศร้าโศกของผู้ย้ายถิ่นมักเป็นความรู้สึกสูญเสียที่ไม่ชัดเจน เป็นการสูญเสียประเภทหนึ่งที่ไม่ชัดเจนและไม่สามารถจำกัดความได้ ธรรมชาติของความสูญเสียที่ไม่ชัดเจนคือการปิดกั้นทางอารมณ์จนกลายเป็นเข้าใจยาก

“เมื่อมีคนโศกเศร้าและพวกเขาสูญเสียอะไรบางอย่าง โดยปกติแล้วความสูญเสียนั้นไม่สามารถระบุตัวตนได้ คุณอาจสูญเสียคนที่คุณรักหรือสัตว์เลี้ยง ตกงานหรือเสียบ้านเป็นสิ่งที่ระบุตัวตนได้ คุณเศร้า คุณโกรธและคุณอารมณ์เสีย แต่มันยังมีสิ่งที่จับต้องได้ ในขณะที่การสูญเสียที่ไม่ชัดเจนคือเมื่อการสูญเสียนั้นไม่มีสิ่งที่ชัดเจนในระดับหนึ่ง ดังนั้นมันจึงยากที่จะจัดการความรู้สึกเศร้าโศกนั้นและทำใจกับสิ่งต่างๆ”
Sad and depressed woman using smartphone at home.
ธรรมชาติของการสูญเสียที่ไม่ชัดเจนส่งผลให้มีการปิดกั้นทางอารมณ์ Source: Moment RF / Maria Korneeva/Getty Images
นายแพทย์บลาชกีอธิบายว่าผู้อพยพมักมีความรู้สึกสูญเสียหลายสิ่งในเวลาเดียวกัน นั่นอาจทำให้รู้สึกรุนแรงขึ้นหลังจากเดินทางมาถึง ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการปรับตัวครั้งใหญ่
สิ่งต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์จากทุกสิ่งที่พวกเขาเคยรู้ในที่ที่จากมา การปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่ไม่คุ้นเคย
"พวกเขาอาจพบว่าตัวตนของพวกเขาเปลี่ยนไป อาจพบว่าสถานะทางสังคมด้อยลง ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยบางคนต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อให้อยู่รอดและมีเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจเกิดขึ้น พวกเขายังต้องเผชิญปัญหาเรื่องการสื่อสาร การใช้ภาษาทางการรวมถึงการทำความเข้าใจคำพูดล้อเลียนในชีวิตประจำวัน”
Asian mother and daughter talking to family on laptop
แม่และลูกสาวกำลังพูดคุยกับครอบครัวผ่านทางแล็ปท็อป Credit: Ariel Skelley/Getty Images
นักจิตวิทยาโฮเห่ รอช (Jorge Aroche) เขาเป็นผู้บริหารขององค์กรบริการเพื่อการบำบัดและฟื้นฟูจากการทรมานและการบาดเจ็บสำหรับผู้รอดชีวิตแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ (NSW Service for the Treatment and Rehabilitation of Torture and Trauma Survivors) หรือ STARTTS องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยที่มาถึง

คุณรอชเชื่อว่าความเศร้าโศกจากการย้ายถิ่นมักเกิดจากความรู้สึกร่วมระหว่างความสูญเสียทั้งที่เกิดขึ้นจริงและไม่สามารถวัดค่าได้ เช่น การสูญเสียความรู้สึกคุ้นเคย การยึดติดกับสถานที่และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความช่วยเหลือ

“เราอาจมีความรู้สึกเศร้าที่ไม่มีเพื่อน ญาติ หรือคนที่เรารัก สถานที่ที่เรารัก และนั่นเป็นความเศร้ากับสิ่งที่จับต้องได้ซึ่งเราทิ้งไว้ข้างหลังและเราไม่สามารถทำแบบนั้นได้อีกต่อไป แต่ความรู้สึกเศร้าโศกจากการย้ายถิ่น ผมคิดว่าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จับต้องได้ยาก เช่น การมีตัวตนและสถานะที่เราเคยมี ทั้งในสภาพแวดล้อมที่เป็นทางการ เช่น ที่ทำงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณได้รับการยอมรับในประเทศของคุณ และรวมถึงสถานะที่ไม่เป็นทางการที่คุณอาจมีในสังคมของคุณ”
Young man looking out of the window in flying airplane during sunset
ผู้ชายกำลังมองออกไปนอกหน้าต่างขณะอยู่บนเครื่องบิน Source: Moment RF / Alexander Spatari/Getty Images
คุณรอชเสริมว่า ในบางกรณีความเศร้าโศกจากการย้ายถิ่นเกี่ยวข้องกับอุดมคติของสิ่งที่ ‘น่าจะเป็น’ หากพวกเขาใช้ชีวิตอยู่ต่อไป

“มีความเศร้าโศกเกี่ยวกับภาพลวงตาหรือจินตนาการเกี่ยวกับสิ่งที่คุณหวังจะประสบความสำเร็จหรือเคยประสบความสำเร็จ ถ้าคุณยังอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด สิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล และบางครั้งหลายคนรู้สึกผิดที่รู้สึกเช่นนี้"
เพราะพวกเขามองสิ่งนี้ในแง่ของความเป็นจริงที่ว่า พวกเขาน่าจะรู้สึกดีกว่านี้ในประเทศใหม่ พวกเขามีเพื่อนใหม่ มีสถานะทางการเงินที่ดี พวกเขาอาจมีสิ่งที่พวกเขาไม่เคยมีมาก่อน
คุณรอชนักจิตวิทยากล่าว
Young couple embracing in airport, man in military uniform
คู่รักกอดกันที่สนามบิน Credit: Mike Powell/Getty Images
คุณรอชกล่าวว่าอีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นคือความรู้สึกเศร้าเมื่อประสบความสำเร็จ หรือไม่สามารถอธิบายถึงความเศร้าของพวกเขาได้อย่างเปิดเผยเนื่องจากมีความรู้สึกผิดหรือตราบาป

“พวกเขาอาจรู้สึกผิดที่บ่นเกี่ยวกับความสูญเสียที่กำลังเผชิญ เมื่อมีญาติหรือคนที่รักที่อาศัยอยู่ในประเทศบ้านเกิดซึ่งกำลังเผชิญสถานการณ์ที่เลวร้ายหรืออันตรายมากกว่า และนั่นอาจเป็นปัญหาได้ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกอะไรบางอย่างและคุณไม่ ‘เอามันออกไป’ อาจจะเป็นการแสดงออกหรือพูดถึงมัน และรับรู้ถึงความรู้สึกนั้น มันจะทำให้เป็นการยากที่จะคิดอย่างมีเหตุผลและจัดการกับสถานการณ์ ดังนั้นมันอาจเริ่มส่งผลกระทบกับคุณ สิ่งสำคัญคือการรับรู้มันเพื่อให้เราสามารถจัดการกับมันได้”
ฟังพอดคาสต์ที่เกี่ยวข้อง
thai_5108715e-2849-4176-9e5e-9536838dcbd6.mp3 image

ผลสำรวจเผยคนออสเตรเลีย 8 ล้านคนมีปัญหาสุขภาพจิต

SBS Thai

25/07/202208:36
คุณคามาล ชาร์มา (Kamal Sharma) ประธานองค์กร อาร์ ยู โอเค (R-U-OK) และเป็นผู้บริหารบริษัทเรซิลัม (Rezilum) บริษัทให้คำปรึกษาที่ฝึกอบรมความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์และการรับมือสถานการณ์กล่าวว่า เมื่อครั้งที่เขามาถึงออสเตรเลียครั้งแรก เขามีปัญหาในการทำความเข้าใจว่าเขาจะเหมาะกับที่ใด

เมื่อเวลาผ่านไป คุณชาร์มาเรียนรู้วิธีรับมือกับความรู้สึกของการพลัดถิ่นโดยยอมรับว่าตัวตนของเขาเปลี่ยนไป

คุณชาร์มายอมรับว่าการผ่อนคลายในพื้นที่ทางวัฒนธรรมของเขาและการอยู่ร่วมกับผู้คนที่มีภูมิหลังเหมือนกันอาจสร้างความสบายใจในระดับหนึ่งและความมั่นคงสำหรับผู้อพยพใหม่ เขาเชื่อว่าสิ่งนี้มีความสำคัญเทียบเท่ากับการเปิดรับผู้คนใหม่ๆ และประสบการณ์ใหม่

“ผมคิดว่ามีกลไกรับมือเชิงบวกและเชิงลบ กลไกการเผชิญปัญหาเชิงบวกนั้นเกี่ยวข้องกับการสำรวจตัวคุณในสภาพแวดล้อมใหม่นี้ การปล่อยวางในสิ่งที่อาจไม่เป็นประโยชน์กับคุณ เปิดรับความคิดใหม่ๆ และแนวคิดใหม่ๆ ที่จะช่วยให้คุณเติบโต กลไกเชิงลบคือเมื่อคุณยึดติดกับกลุ่มของตัวเองและไม่ถูกท้าทาย พยายามยึดมั่นกับทุกสิ่งที่เคยเป็นในช่วงเวลาที่คุณจากมา ผมคิดว่าสิ่งสำคัญมากคือการท้าทายตัวคุณเองด้วยแนวคิดใหม่ๆ"
ค้นพบว่าคุณเป็นใคร สิ่งที่คุณเป็น และสำรวจตัวตนของคุณในวัฒนธรรมที่แตกต่างไป
คุณชาร์มาอธิบาย
Two women sitting in armchairs and talking. Woman psychologist talking to patient
นักจิตวิทยากุมมือผู้ที่มาขอคำปรึกษา Source: Moment RF / Fiordaliso/Getty Images
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตกล่าวว่าผู้อพยพบางรายอาจประสบกับความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่องและความรู้สึกที่ผสมปนเปกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ตัดสินใจเรื่องสำคัญในชีวิตล่าช้าและอาจเป็นอุปสรรคต่อความมั่นคงในอนาคต

การขาดคนรอบข้างที่ให้การสนับสนุนมักยิ่งเพิ่มความรู้สึกเหงา วิตกกังวลและหงุดหงิด

คุณชาร์มาผู้เคยอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์กล่าวว่า การมีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่คุณอาศัยอยู่และหาวิธีผสมผสานวัฒนธรรมเป็นวิธีที่จะเอาชนะปัญหาเหล่านี้ได้ ในกรณีของคุณชาร์มา เขาผ่านมันมาด้วยการมีส่วนร่วมเล่นกับทีมกีฬา

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมหรือชมรม การออกกำลังกายหรือการนั่งสมาธิ ยังมีแนวทางเชิงปรัชญาอีกมากมายที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะชอบวิธีการแบบตะวันตกหรือตะวันออก

“วรรณกรรมตะวันตกที่ผมเคยเห็นเกี่ยวกับการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงหรือความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกี่ยวโยงกับความมั่นใจว่าคุณจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ และผมคิดว่านั่นเป็นโครงสร้างแบบตะวันตก สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือความไม่เที่ยง เพราะการเปลี่ยนแปลงทำให้คุณต้องเปลี่ยนจากสถานะที่มั่นคงหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง ความไม่เที่ยงเป็นเรี่องเกี่ยวกับการ ‘โต้คลื่น’ อย่างไรและใช้ประโยชน์จากสภาวะขึ้นลงของชีวิต สำหรับผม การไหลไปตามความไม่เที่ยงและการยอมรับความไม่เที่ยงนั้นเป็นสิ่งที่มีพลังมาก”
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตแนะนำให้พยายามตระหนักรู้ในตนเอง นั่นคือการตรวจสอบว่าคุณรู้สึกอย่างไร การขอความช่วยเหลือหากคุณรู้สึกแย่

นายแพทย์บลาชกีจากบียอนด์ บลูอธิบายว่า อาการสูญเสียของผู้ย้ายถิ่นมักเกิดขึ้นและหายไปเป็นเวลาหลายปี ความเศร้าโศกที่ยืดเยื้อและไม่ได้ตระหนักรู้ถึงมันอาจพัฒนาไปสู่สิ่งที่เลวร้ายกว่า

“หลายครั้งผมถูกถามว่า ‘สิ่งนี้เป็นความโศกเศร้าหรือฉันกำลังมีภาวะสุขภาพจิต? อาจเป็นโรคซึมเศร้า’ สัญญาณเตือนสำหรับผมคือ สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายเดือนหรือไม่? มีความรู้สึกสิ้นหวังหรือไม่? และมันแพร่กระจายไปหรือไม่? พวกเขาเศร้าหรือท้อแท้เกี่ยวกับทุกสิ่ง ไม่มี ‘ลำแสง’ อีกต่อไป พวกเขารู้สึกหมดแรง อีกสิ่งหนึ่งที่ผมพิจารณาคือมันกระทบกับชีวิตประจำวันของพวกเขาหรือไม่? หรือกระทบกับความสัมพันธ์ในที่ทำงานหรือการเข้าสังคมหรือไม่?”
Woman psychologist talking to patient
ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าควรไปพบแพทย์หรือโทรสายด่วนสุขภาพจิต Source: Moment RF / Fiordaliso/Getty Images
หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์จีพีหรือโทรหาสายด่วนสุขภาพจิต เช่น ไลฟ์ไลน์ (Lifeline) หรือบียอนด์ บลู (Beyond Blue)

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตกล่าวว่าสิ่งสำคัญคือการอนุญาตให้ตัวคุณเองรู้สึกและเข้าใจกับการสูญเสีย

การมีความรู้สึกเศร้าโศกไม่ได้หมายถึงความอ่อนแอหรือการขาดความอดทน ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในการจัดการกับความสูญเสีย มันเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลและเป็นเรื่องซับซ้อน

แล้วความเศร้าโศกจากการย้ายถิ่นจะสามารถแก้ไขได้หรือไม่? หรือผู้อพยพทุกคนถูกกำหนดให้เรียนรู้วิธีที่จะอยู่กับมัน?

“นั่นเป็นคำถามที่ดีมาก ในระดับหนึ่ง การสูญเสียคือบาดแผล และวิธีจัดการกับบาดแผลมี 2 วิธี คุณอาจสามารถรักษาอาการของบาดแผลได้หรือคุณเยียวยาตัวเองจากการบาดเจ็บ ผมคิดว่าเราต้องทั้งรักษาและเยียวยาด้วย สิ่งสำคัญคือการละทิ้งสิ่งเก่าและหาสิ่งใหม่ การเลือกเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการเยียวยา คำว่า ‘เยียวยา’ หมายถึงการกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง"
ดังนั้นคุณจะเริ่มรู้สึกกลับมาเป็นปกติอีกครั้งในสภาพแวดล้อมใหม่
บริการให้ข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพจิต 24 ชั่วโมง (Beyond Blue) 1300 224 636 หรือ

บริการสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาทางอารมณ์ 24 ชั่วโมง (Lifeline) โทร 13 11 14 หรือ 

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานและการย้ายถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share