แต่ละปี ชาวออสเตรเลียกว่า 1 ใน 5 เผชิญปัญหาสุขภาพจิต โดยประมาณการว่าร้อยละ 45 ของชาวออสเตรเลียทั้งหมดอาจเคยมีภาวะเจ็บป่วยทางจิตใจในบางช่วงเวลาของชีวิต
ประเด็นสำคัญ
- หมั่นสังเกตสัญญาณเตือนเบื้องต้น
- ผู้ประสบปัญหาสุขภาพจิตมีอาการดีขึ้นได้ด้วยการช่วยเหลือที่เหมาะสม
- พูดคุยบอกเล่าความรู้สึกกับคนใกล้ชิดนับเป็นก้าวแรกที่ยอดเยี่ยม
ภาวะซึมเศร้า (depression) และภาวะวิตกกังวล (anxiety) เป็นอาการผิดปกติทางจิตเวชที่พบบ่อยที่สุดทั้งในชาวออสเตรเลียและประชากรทั่วโลก
อาการของภาวะซึมเศร้า
- ไม่มีความสุขกับกิจกรรมที่เคยชื่นชอบหรืองานอดิเรก
- ไม่รู้สึกกระตือรือร้นกับการเข้าสังคม
- พฤติกรรมการนอนหลับเปลี่ยนไป ไม่มีสมาธิ
- หงุดหงิดง่ายขึ้น
- อารมณ์ขุ่นเคืองง่ายขึ้น
- มีพฤติกรรมต่อต้านหรือหลีกหนีมากขึ้น
- อ่อนไหวต่อความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น
- ร้องไห้ง่ายขึ้น
ดร.มาเรีย แคงกัส (Maria Kangas) อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมคควอรี (Macquarie University) ชี้ว่า อาการเหล่านี้อาจแตกต่างกันตามแต่ละคน
“อาจมีหลายอาการที่เข้าข่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องมีทุกอาการ” ดร.แคงกัสกล่าว
ดร.แคงกัสอธิบายว่า บางคนอาจมีภาวะวิตกกังวลทั่วไป (general anxiety) กลัวเกิดความผิดพลาด ความล้มเหลว หรืออาจมีภาวะกลัวการเข้าสังคม (social anxiety) เนื่องจากกลัวถูกมองในแง่ลบหรือถูกวิพากษ์วิจารณ์
เหล่านี้เป็นความกลัวเกินระดับทั่วไป เป็นความกลัวที่ขยายใหญ่ขึ้นเกินกว่าที่คนทั่วไปกลัวกันมาก
Source: Pexels/Quintin Gellar
สัญญาณของภาวะวิตกกังวล
- รู้สึกกังวล กระวนกระวาย ตึงเครียด
- รู้สึกเหมือนมีอันตรายหรือหายนะคืบใกล้เข้ามา ตื่นตระหนก
- อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น
- หายใจหอบถี่ (hyperventilation)
- เหงื่อออกหรือตัวสั่น
- อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
- ไม่มีสามารถจดจ่อหรือคิดถึงเรื่องอื่นนอกเหนือจากความกังวลในขณะนั้น
- มีปัญหาการนอนหลับ
ดร.แกรนท์ บลาชกี (Grant Blashki) ที่ปรึกษาทางคลินิกของบียอนด์บลู (Beyond Blue) ย้ำว่า ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีภาวะเครียดหรือหวาดกลัวต้องมีปัญหาสุขภาพจิต แต่ถ้าอาการเหล่านี้เริ่มกระทบการดำเนินชีวิตประจำวันก็ควรขอความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด
“เป็นต้นว่า คุณไปทำงานไม่ได้ หรือจัดการหน้าที่รับผิดชอบในบ้านไม่ได้ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนอย่างหนึ่ง” ดร.บลาชกีกล่าวดร.แคงกัสเสริมว่า ภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลอาจส่งผลให้หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายขึ้น บางคนอาจมีอาการในกลุ่มโรคขาดความยับยั้งชั่งใจ (impulse control disorder) ทำให้ควบคุมอารมณ์และความโกรธได้ไม่ดีนักจนอาจเป็นปัญหาตามมา
Source: Getty Images/EschCollection
“นี่เป็นอาการสะสม เป็นจุดที่คนเราอาจระเบิดอารมณ์ได้จริง ๆ บางครั้งคู่ครอง ครอบครัวหรือญาติอาจคิดสงสัยว่า ‘มันมาจากไหนกัน’ โดยไม่ทันสังเกตว่าเขาอาจรับมือไม่ไหวมาระยะหนึ่งแล้ว” ดร.แคงกัสกล่าว
ปัญหาอาจบานปลายกลายเป็นคดีความทางกฎหมาย หรือเสี่ยงเสียงานเสียการหากมีพฤติกรรมก้าวร้าวหนัก
ดร.แคงกัสกล่าวว่า โรคขาดความยับยั้งชั่งใจอาจแสดงออกในรูปแบบอาการเสพติด เช่น ติดการพนัน ติดสุรา หรือภาวะเสพติดอื่น ๆ
หมั่นสังเกตอาการตั้งแต่แรกเริ่ม
รศ.แฮร์รี มินัส (Harry Minas) หัวหน้าหน่วย Global and Cultural Mental Unit มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (University of Melbourne) กล่าวว่า
“คนใกล้ชิดของผู้มีอาการเหล่านี้อยู่ในจุดที่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเขาจะไม่มองข้ามความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น”“พวกเขาควรเอาใจใส่ให้มากขึ้น สื่อสารกับบุคคลนั้น ขอให้เขาเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้น” รศ.มินัสกล่าว
Drinking excessively can make someone's depression worst. Source: Photo by Chitokan from Pexels
ทั้งนี้ ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสร้างสถานการณ์ให้เขารู้สึกสบายใจพอจะพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา ให้เขารู้สึกว่าจะไม่ถูกตัดสินอย่างแข็งกร้าวหรือโดนหัวเราะเยาะ หรือรู้สึกว่าสิ่งที่เขากำลังเผชิญถูกปัดตกไปทางใดทางหนึ่ง
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ต้องการรักษาด้านสุขภาพจิต ควรเริ่มที่ไหน?
ปัญหาการขาดความตระหนักและการตีตรา
รศ.มินัส มีประสบการณ์หลายปีในฐานะที่ปรึกษาของรัฐบาลสหพันธรัฐว่าด้วยประเด็นผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง
เขาพบว่า คนในชุมชนหลากวัฒนธรรมจำนวนไม่น้อยไม่ได้ขอความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เพราะขาดความตระหนักเกี่ยวกับภาวะทางจิตเวช ประกอบกับอิทธิพลจากการตีตราที่ยึดโยงกับภาวะเหล่านี้
“ถึงทุกคนจะรู้ว่าคนนี้มีอาการทางจิต ก็มักเก็บเรื่องนี้ไว้ภายในครอบครัว” รศ.มินัสชี้“ครอบครัวอาจติดต่อกับชุมชนของตนน้อยลงเพราะอับอาย ทั้งยังอาจไม่ยินยอมขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญให้แก่ผู้มีอาการเจ็บป่วยทางจิตใจ”
باز کردن در گفتوگو با کسانی که با مشکلات روانی دستوپنجه نرم میکنند، میتواند آغاز خوبی برای پرداختن به مشکل باشد. Source: (Getty Images/PeopleImages)
หากคุณไม่สะดวกใจปรึกษาเรื่องนี้กับแพทย์จีพีของคุณ สามารถติดต่อสายด่วนความช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น บียอนด์บลู (Beyond Blue)
แบบทดสอบ K10
ดร.บลาชกีจากบียอนด์บลู กล่าวว่า บุคคลทั่วไปสามารถทำแบบทดสอบออนไลน์บนเว็บไซต์ของบียอนด์บลู เพื่อประเมินเบื้องต้นว่าควรขอรับความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตหรือไม่
“ส่วนใหญ่ถ้าผลออกมาอยู่ในระดับเล็กน้อย (mild) หรืออยู่ในช่วงค่าเฉลี่ยปกติ (average) ก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ แต่เรายังขอสนับสนุนให้ทุกคนใส่ใจดูแลสุขภาพใจของตนเสมอ โดยเฉพาะช่วงโควิดระบาดเช่นนี้” ดร.บลาชกีกล่าว
“ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำกิจวัตรประจำวันที่บ้านบ้าง นอนหลับให้เพียงพอ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป”แต่ถ้าผลประเมินอยู่ในระดับปานกลาง (moderate) ควรปรึกษาสายด่วนความช่วยเหลือของบียอนด์บลู กรณีผลประเมินระดับรุนแรง (severe) ดร.บลาชกีแนะนำให้พบแพทย์จีพีของคุณ
Exercise releases chemicals like endorphins and serotonin that improve your mood. Source: (Getty Images/Boy_Anupong)
“หลายวัฒนธรรมเข้าใจว่าหมอประจำตัวมีไว้วัดความดันเลือดหรือปัญหาเจ็บป่วยทางกาย แต่ที่ออสเตรเลีย แพทย์จีพีนับเป็นส่วนสำคัญของกำลังบุคลากรด้านสุขภาพจิตของเรา” ดร.บลาชกีกล่าว
“แพทย์จีพีสามารถออกแผนสุขภาพจิต (GP mental health plan) หมายความว่าคุณสามารถพบนักจิตวิทยาเชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยใช้เมดิแคร์ได้”
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
อุปสรรควีซ่า-วัฒนธรรมฉุดรั้งผู้หญิงย้ายถิ่นฐานในความสัมพันธ์รุนแรง
หากคุณต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต ติดต่อสายด่วนไลฟ์ไลน์ (Lifeline) โทร. 13 11 14 หรือบียอนด์บลู (Beyond Blue) โทร. 1300 224 636
เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่สนับสนุนผู้คนจากภูมิหลังหลากภาษาและวัฒนธรรมในออสเตรเลีย
กรณีเหตุฉุกเฉิน โทร. 000
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
เอสบีเอส ชวนชุมชนเสนอข้อคิดเห็น ปรับปรุงบริการภาษาและวิทยุ