กดฟังสัมภาษณ์
LISTEN TO
มองอนาคตเรียนออนไลน์กับผู้หญิงไทยผู้บริหารด้านนี้
SBS Thai
18/10/202117:50
คุณศรัณย์พร (เชย์) พุมอาภรณ์ ผู้บริหารฝ่ายการตลาดของบริษัท Open LMS บริษัทแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ในออสเตรเลีย โดยคุณเชย์เริ่มจากการเป็นพนักงานคนหนึ่งในตำแหน่งพนักงานด้านการตลาด (Marketing Officer) ที่ซิดนีย์ ก่อนย้ายมาเมลเบิร์น
การทำงานที่บริษัทในปัจจุบัน เดิมเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning) แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก จึงรับคุณเชย์เข้ามาในตำแหน่งผู้ประสานงานด้านการตลาด (Marketing Coordinator) คุณเชย์พูดถึงการทำงานในตอนแรกว่า
"ช่วยเขาทุกอย่างเลย ไม่ว่าจะเปลี่ยนระบบ (System) เปลี่ยนแบรนด์ (Branding) กลายเป็นว่าบริษัทเริ่มมีชื่อเสียง เริ่มชนะรางวัล เลยตัดสินใจที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ เลยเลื่อนตำแหน่งให้เราเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาด (Marketing Manager) หลังจากนั้น 3-4 เดือนบริษัทก็เลื่อนตำแหน่งให้เราเป็นผู้บริหารการตลาดเลย"คุณเชย์เผยว่า ไม่ได้ทำงานหนัก แต่ทำงานอย่างฉลาดมากกว่า
คุณเชย์กับรางวัลในการทำงาน Source: Shaye PM
เชย์มีความรู้สึกว่า การทำงานเก่ง คือการทำงานอย่างฉลาด (Smart work) คือจัดเวลาเก่ง มีแพลน(Plan)เก่ง เชย์เป็นคนจับจุด ว่าบริษัทควรทำแบบนี้นะ ถึงจะมีชื่อเสียง หรือว่าทำยังไงให้ชนะดีล (Deal) หรือได้ลูกค้ามากกว่านี้ ต้องทำอย่างงี้
โดยคุณเชย์ใช้วิธีเสนอความคิดเห็นออกไป โดยที่ไม่ต้องรอให้คนมาสั่งว่าต้องทำอะไร เผยเคล็ดลับที่คิดว่าบริษัทชอบคือเป็นคนชอบเซย์ เยส (Say Yes) และเป็นคนไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง
สำหรับการทำงานก่อนและหลังวิกฤตโควิด คุณเชย์เปรียบเทียบว่า
“สิ่งที่แตกต่างกันมากคือการทำงานจากบ้าน (Work from home) เวลาเราอยู่ในบริษัทเนี่ย เราเดินไปหาคนคนนึงได้ และแบบ เฮ้ย วันนี้ ยู อันนี้ยังไง เชย์ว่าสิ่งที่ยากที่สุดและแตกต่างมากที่สุด คือเราต้องยื่นเวลาและยื่นมือออกไปคอนเนค (Connect) กับคนในทีมให้มากขึ้นกว่าเดิม”
“ด้วยความที่เป็นบริษัทนานาชาติ การทำงานช่วงโควิดค่อนข้างจะสะดวกกว่า เพราะมีทีมอยู่ที่อังกฤษ (UK) อเมริกา (US) โคลัมเบีย (Colombia) ถ้าเราทำงานอยู่ที่บ้าน เราจะสามารถแบ่งเวลาได้สะดวกสบายมากกว่าค่ะ”
คุณเชย์คิดว่าหลังโควิด การใช้ทักษะในการสื่อสารของทุกคนจะดีขึ้น
“แต่ก่อนเราเอะอะอะไรก็อาจจะแบบมาประชุมกัน กลายเป็นว่าก่อนที่เราจะยื่นมือออกไปขอเวลาประชุม (Meeting) กับใครเนี่ย เราจะต้องคิดก่อนว่าสิ่งนี้มันจำเป็นไหมที่จะต้องประชุม หรือผ่านอีเมล ผ่านแอป เพื่อให้มันรวดเร็วมากขึ้น”คุณเชย์อธิบายถึงการเรียนการสอนออนไลน์
ผู้ชายที่กำลังทำงานผ่านคอมพิวเตอร์ Source: Pexels/Tima Miroshnichenko
“การเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning) ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงเรียนแล้ว โดยเฉพาะช่วงที่ออสเตรเลียปิด การไม่มีนักศึกษาต่างชาติ (International Student) มาสองปีเนี่ย มันนานมาก ซึ่งนักศึกษาต่างชาติเป็นส่วนสำคัญในออสเตรเลีย”
การที่เรานั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ 5-6 ชั่วโมงเนี่ย มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่ดีต่อสุขภาพด้วย ซึ่งการเรียนการสอนออนไลน์ออกแบบ (Design) เพื่อช่วยหรือส่งต่อบทเรียนให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แทนที่จะเรียน 5-6 ชั่วโมง ก็อาจจะเหลือแค่ 2-3 ชั่วโมง แต่ว่าเป็นการเรียนแบบใหม่ ที่ทำให้คนเข้าใจมากขึ้น
การเรียนการสอนออนไลน์นั้น ยังไม่ได้มีแค่ในสถาบันการเรียนการสอน เช่น ในโรงเรียน แต่ยังรวมถึงหน่วยงานรัฐบาลหรือองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร (Not for profit)
“อย่างหน่วยงานดับเพลิงในย่านภูมิภาค (Rural Fire Services) ช่วงที่ออสเตรเลียมีไฟป่า คนที่มาช่วยดับไฟบางคนเป็นอาสาสมัคร (Volunteer) ซึ่งไม่มีความรู้ด้านไฟป่าเลย ไม่รู้ว่าต้องดับยังไง ไม่รู้ว่าต้องทำยังไง ซึ่งวิธีเดียวที่เราจะสอนพวกเขาได้คือการอบรม (Training) การเรียนออนไลน์เข้าไปในจุดนั้น ให้เข้าไปเรียนก่อนทางออนไลน์ จะมีทั้งวิดิโอ รูป คำอธิบาย และเขาทำข้อทดสอบได้เลย พอเขามีความรู้แล้ว พร้อมแล้ว ก็บินมาช่วย"
การเรียนการสอนออนไลน์ก่อนและหลังโควิดนั้น คุณเชย์บอกว่าแตกต่างกันมาก โดยก่อนหน้านี้อาจจะคิดว่ายังไม่ทำเรื่องนี้ สิ่งที่เคยเป็นแพลน บี (Plan B) หรือแพลน ซี (Plan C) ตอนนี้กลายเป็นแพลน เอ (Plan A) เป็นแผนที่ต้องมี (The Only Plan)
“มาตรฐาน (Standard) มันเลยเปลี่ยน สิ่งที่เราอาจจะพัฒนาภายใน 5-6 ปี ตอนนี้พัฒนาภายในปีเดียว เทคโนโลยีมันเร็วมากจริงๆ”
คุณเชย์มองว่าอนาคตของการเรียนการสอนออนไลน์จะเปลี่ยนไปตลอดกาล เพราะสิ่งนี้จะอยู่กับเราไปตลอด
ถ้าเราพูดถึงติ๊ก ต่อก (Tik Tok) เด็กรุ่นใหม่ก็ใช้ติ๊ก ต่อก เราเรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง เรียนรู้ที่จะเต้นตาม หั่นหัวหอม เราเรียนรู้เร็วมาก สิ่งเหล่านั้นมันก็คือการเรียนออนไลน์ (Online Learning) กลายเป็นการแบ่งปันความรู้ (Shared Knowledge) กันหมดแล้ว
คุณเชย์เชื่อว่า มนุษย์ไม่เคยหยุดการเรียนรู้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ และเทคโนโลยีก็สามารถออกแบบให้เข้ากับทุกกลุ่มคน โดยเฉพาะคนสูงวัยนอกจากนี้คุณเชย์ยังพูดถึงฉายาม้ายูนิคอร์น นักการตลาดที่มีความสามารถหาตัวจับยาก เนื่องจากทำได้ทุกอย่าง และยังพูดถึงฉายานักล่ารางวัล ที่ไม่ใช่การล่ารางวัลสำหรับตัวเธอเอง แต่เป็นการล่ารางวัลให้บริษัทและทีมงาน
คุณเชย์และทีมงานกับการรับรางวัล Source: Shaye PM
เชย์อยากให้ทุกคนได้รับการยอมรับ เลยสมัครเข้าไป เพราะเราอยากให้คนในทีมรู้สึกภูมิใจ ว่าสิ่งที่เขาทำให้บริษัทและทำให้สังคม มีมาตรฐานสูง และเป็นที่ยอมรับของสังคม
“แรงบันดาลใจคือเชย์เป็นคนที่เชื่อในสิ่งที่ทำ เชย์เชื่อว่าการเรียนออนไลน์เนี่ยเป็นเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนชีวิตคน เชย์ยังจำได้อยู่เลยว่า วันแรกที่เข้ามาทำงาน เขาพาเข้าไปคุยกับ VicRoad เพราะเรากำลังออกแบบหลักสูตรเพื่อที่จะเรียนรู้วิธีการขับรถ เพื่อที่จะปกป้องตัวเขาเองและคนอื่นๆ ตอนนั้นเชย์มีความารู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมันกระทบ (Impact) หลายอย่างมาก เชย์เอาสิ่งตรงนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจที่หนึ่งของเชย์ และเชย์ก็หาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา”
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่