รายงานฉบับใหม่พบว่า เกือบ 1 ใน 4 ของผู้ย้ายถิ่นฐานถาวรที่มีทักษะอาชีพในออสเตรเลีย มีคุณวุฒิสูงกว่าระดับงานที่ทำอยู่
รายงานฉบับดังกล่าวจัดทำโดยคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งออสเตรเลีย (The Economic Development of Australia: CEDA) ประมาณการว่า ร้อยละ 23 ของผู้ย้ายถิ่นฐานถาวรที่มีทักษะอาชีพในออสเตรเลีย หรือประมาณ 34,000 คน ทำงานในตำแหน่งที่ด้อยกว่าระดับทักษะของตน
สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ ขาดประสบการณ์ทำงานในออสเตรเลีย รวมถึงขาดการเข้าถึงเครือข่ายในท้องถิ่น ตามมาด้วยอุปสรรคด้านภาษา
นักบัญชี วิศวกรโยธา และเชฟที่ย้ายถิ่นฐานมายังออสเตรเลีย จัดอยู่ในกลุ่มที่มีแนวโน้มต่ำสุดที่จะหางานได้ตรงสายอาชีพ โดยรายงานยกตัวอย่างผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพมารับงานขับรถแท็กซี่ เพราะหางานตรงตามสายอาชีพไม่ได้
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ผู้ย้ายถิ่นสร้างเม็ดเงินกว่าแสนล้านให้ระบบเศรษฐกิจออสฯ
นางเมลินดา ซิเลนโต (Melinda Cilento) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ CEDA กล่าวว่า ระบบรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพของออสเตรเลียก่อประโยชน์แก่ประเทศ แต่ยังคงมีจุดที่ต้องปรับปรุง โดยเฉพาะขณะที่ประเทศกำลังฝ่าฟันก้าวออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากโคโรนาไวรัสเช่นนี้
“ระหว่างที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 เราต้องมีระบบรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพที่มีความกระชับรวดเร็วและตอบสนองต่อความต้องการทางเศรษฐกิจ” นางซิเลนโตกล่าว
“เราได้ยินข้อกังวลจากสมาชิกมาโดยตลอด ว่าด้วยประเด็นขาดแคลนแรงงานทักษะช่วงปิดพรมแดนระหว่างประเทศ ตลอดจนขาดความสามารถในการเข้าถึงทักษะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนการลงทุนและเศรษฐกิจให้เติบโต เช่น โอกาสด้านดิจิทัลและข้อมูล”
รายงานของ CEDA วิเคราะห์ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียเพื่อตรวจสอบว่าแรงงานทักษะสูญเสียค่าจ้างอย่างไรบ้างจากการรับทำงานระดับต่ำกว่าคุณวุฒิของตน ผลสรุปพบว่า ผู้ย้ายถิ่นฐานเหล่านี้สูญค่าจ้างที่สมควรได้รับรวมอย่างน้อย 1.25 พันล้านดอลลาร์ระหว่างปี 2013 - 2018
เมื่อออสเตรเลียไม่อาจเข้าถึงทักษะเหล่านี้ ยังสื่อนัยภาพกว้างต่อเศรษฐกิจของประเทศที่ต้องสูญเสียความสามารถในการผลิตและคิดค้นนวัตกรรมไปด้วย
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ในปี 2020 ผู้อพยพมาออสเตรเลียกลับบ้านเกิดเกือบ 6 แสนคน
ขณะที่เผยแพร่รายงานฉบับนี้ ออสเตรเลียประสบ สืบเนื่องจากการปิดพรมแดนเพราะไวรัสโคโรนา ซึ่งจะยิ่งถ่วงการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงความพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะยาว
นอกจากนี้ รายงานยังพบว่า ระบบรับผู้ย้ายถิ่นฐานถาวรที่มีทักษะอาชีพของออสเตรเลียไม่ได้ชำรุด แต่ก็เตือนว่าไม่ได้ส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่เช่นกัน
“ระบบที่ไม่ช่วยให้เข้าถึงทักษะสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที หมายความว่าเราจะไม่อาจไล่ตามทันการแข่งขันในเวทีโลกได้” นางซิเลนโตกล่าว
นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ระบุว่าเขา “เปิดกว้าง” ต่อแนวคิดทบทวนปฏิรูปโครงการย้ายถิ่นฐานของออสเตรเลียหลังผ่านพ้นวิกฤติไวรัสโคโรนาและเริ่มกลับมาเปิดให้เดินทางระหว่างประเทศได้แล้ว ซึ่งรวมถึงเจาะกลุ่มเป้าหมายอุตสาหกรรมที่ต้องการทักษะแรงงาน และปรับปรุงเงื่อนไขวีซ่าให้ตอบรับกับความต้องการกำลังคนในพื้นที่ส่วนภูมิภาค
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
นายกรัฐมนตรีมอร์ริสันเผย รัฐบาล ‘เปิดกว้าง’ ทบทวนปฏิรูปโครงการย้ายถิ่นฐานหลังโควิด
รัฐบาลสหพันธรัฐเริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว เช่น จัดโครงการ ดึงดูดผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะสูงมายังออสเตรเลีย
แต่ CEDA วิจารณ์ว่าเป็นเพียงมาตรการ “พลาสเตอร์ปิดแผล” ส่วนหนึ่งของนโยบายด้านการย้ายถิ่นฐานที่มักเน้นให้คนย้ายเข้าออกอยู่ตลอดมากกว่า
รายงานฉบับนี้เสนอแนะให้รัฐบาลสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์จับคู่ทักษะกับงาน เพื่อเชื่อมแรงงานย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะอาชีพเข้ากับนายจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงเสนอแนะให้ผู้ย้ายถิ่นฐานถาวรเข้าถึงสวัสดิการกรณีว่างงานเร็วขึ้น จากรอหกปีให้เหลือสี่เดือน โดยกล่าวว่าจะช่วยให้พวกเขามีโอกาสหางานที่เหมาะสมได้มากกว่า
“ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ยั่งยืน และต้องพัฒนาระบบที่พัฒนาตามความต้องการทักษะที่เปลี่ยนแปลงไปได้” นางซิเลนโตกล่าว
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย
Settlement Guide: จะทำอย่างไรหากวีซ่าหมดอายุในออสเตรเลีย