ในปี 2020 ผู้อพยพมาออสเตรเลียกลับบ้านเกิดเกือบ 6 แสนคน

สถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงในช่วงปี 2020 ส่งผลให้ผู้อพยพย้ายถิ่นหลายแสนคนในออสเตรเลียเลือกที่จะเดินทางกลับบ้านเกิด ขณะที่มาตรการปิดพรมแดนที่แน่นหนา ดับฝันผู้อพยพจำนวนมากในการกลับมาทำงานอีกครั้ง นักเศรษฐศาสตร์ชี้หากยังคงเป็นเช่นนี้ จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจประเทศในระยะยาว

Temporary migrant

Australian government announces major visa concessions for temporary graduates stuck offshore. Source: AAP

ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวในออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึงนักท่องเที่ยว ผู้ถือวีซ่าเวิร์กแอนด์ฮอลิเดย์ นักศึกษาต่างชาติ และผู้ถือวีซ่าทำงาน ได้เดินทางออกจากออสเตรเลียไปเป็นจำนวนนับแสนคน จากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการลดจำนวนประชากรครั้งประวัติศาสตร์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ประเด็นสำคัญ

  • ผู้ถือวีซ่าออสเตรเลียเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดเกือบ 6 แสนคน ในปี 2020
  • ผู้ถือวีซ่าออสเตรเลียจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงนักศึกษาต่างชาติ เดินทางออกจากออสเตรเลีย จากผลกระทบของสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
  • ในบรรดาผู้ที่เดินทางออกจากออสเตรเลียเมื่อปีที่ผ่านมา พบ 41,000 คนเป็นคนอินเดีย
ข้อมูลล่าสุดจากหน่วยงานมหาดไทยของออสเตรเลีย ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เดินทางออกจากออสเตรเลียส่วนมากเป็นผู้มาเยี่ยมเยือนหรือท่องเที่ยว และผู้ถือวีซ่าเวิร์กกิงฮอลิเดย์ และผู้ถือวีซ่าบริดจิงอีกจำนวน 120,000 คน

นอกจากนี้ ยังพบว่าจำนวนผู้ถือวีซ่านักเรียน เมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา มีน้อยกว่าในช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปี 2019 ถึง 31,100 คน

ตัวเลขจากหน่วยงานมหาดไทยยังได้แสดงให้เห็นถึงการลดลงของจำนวนประชากรจำนวนมาก ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่การระบาดใหญ่ไวรัสโคโรนาเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยพบผู้ถือวีซ่าออสเตรเลียเดินทางออกจากประเทศมากถึง 143,000 คน

ความเสียหาย ‘อย่างใหญ่หลวง’ ต่อระบบเศรษฐกิจและจำนวนประชากร

นายอาบูล ริซวี (Abul Rizvi) อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงตรวจคนเข้าเมือง ระบุว่า ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ถูกซ้ำเติมด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่กำลังเดินทางออกจากประเทศเป็นจำนวนมากไม่เดินทางกลับมาอีก เนื่องจากมาตรการปิดพรมแดนที่รัดกุม ซึ่งอนุญาตให้เฉพาะชาวออสเตรเลีย และผู้อาศัยถาวรเท่านั้นที่สามารถเดินทางกลับมาได้ 
Migration program
นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบการลดลงของจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลา 3 เดือนติดต่อกัน มีผู้ถือวีซ่าชั่วคราวเกือบ 143,000 คนที่เดินทางออกจากออสเตรเลีย Source: AAP
เขาได้เสริมอีกว่า 2 อุตสาหกรรมหลัก ๆ ของประเทศ คือ อุตสาหกรรมการศึกษา และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเดินทางออกจากประเทศเป็นจำนวนมากของผู้ถือวีซ่าออสเตรเลียเหล่านี้

“เรากำลังพบกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งได้รายงานการสูญเสียคนทำงานราว 17,000 ตำแหน่ง รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และเกษตรกรที่กำลังได้รับความเดือดร้อนในการหาคนทำงานภายในฟาร์ม” นายริซวี กล่าว

“ในระยะยาว ผลกระทบดังกล่าว จะทำให้ประชากรของออสเตรเลียเข้าสู่สังคมสูงวัยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สิ่งนี้จะนำไปสู่การเริ่มต้นของอัตราการเสียชีวิตที่มากกว่าอัตราการเกิด แม้ว่าออสเตรเลียจะเป็นชาติพัฒนาแล้วประเทศสุดท้ายที่จะเข้าสู่สังคมสูงวัยก็ตาม”

นายริซวี ได้คาดการณ์ว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นชั่วคราวจะยังคงเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดอย่างต่อเนื่อง จากภาวะ “ความอ่อนแอของตลาดแรงงาน”

“ถ้าพวกเขาหางานไม่ได้ หรือไม่สามารถรักษาตำแหน่งงานของพวกเขาไว้ได้ มันเป็นเรื่องยากมากที่พวกเขาจะมีชีวิตรอดในออสเตรเลีย เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือใด ๆ จากรัฐบาลได้เลย” นายริซวี กล่าว

‘มาตรการปิดพรมแดนจะส่งผลต่อความก้าวหน้าบางส่วนของประเทศในระยะยาว’

ร่างงบประมาณรัฐบาลสหพันธรัฐเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ระบุว่า อัตราอพยพย้ายถิ่นฐานสุทธิของออสเตรเลียนั้นจะลดลงเข้าสู่แดนลบเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และจะยังไม่ฟื้นตัวมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจะมาถึงไปเป็นเวลามากกว่า 4 ปี

จากรายงานโดย เมื่อปี 2019 พบว่า ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ การอพยพย้ายถิ่นฐานชั่วคราว ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มขึ้นของอัตราการอพยพย้ายถิ่นฐานจากต่างประเทศสุทธิ และจำนวนประชากร โดยคิดเป็น 71% ของการเติบโตของการอพยพย้ายถิ่นฐานสุทธิ ในปีงบประมาณ 2016-17

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังได้เน้นถึงบทบาทของผู้ถือวีช่าชั่วคราว โดยเฉพาะผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะที่มาเติมช่องว่างในงานที่ต้องใช้ทักษะที่สำคัญ และการมีส่วนร่วมที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจด้วยการจ่ายภาษี และใช้จ่ายภายในชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่

นางแกรบิเอลา เดอซูซา (Gabriela D’Souza) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส หนึ่งในคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งออสเตรเลีย (CEDA) กล่าวว่า ออสเตรเลียมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของการอพยพย้ายถิ่นชั่วคราวของผู้มีทักษะ และกล่าวอีกว่า ไม่ว่าระบบการศึกษาของประเทศจะมีความเพรียบพร้อมเพียงใด มันยังคงมีทักษะและโครงการจำนวนหนึ่ง ที่จะเป็นจะต้องเปิดรับการหลั่งไหลเข้ามาของผู้มีทักษะจากต่างประเทศ  เพื่อให้สามารถดำเนินการและให้เกิดความก้าวหน้าต่อไปได้

“มาตรการปิดพรมแดนในปัจจุบันได้ชะลอความพยายามเหล่านั้น และจะส่งผลต่อความก้าวหน้าของเราบางส่วนในระยะยาว” นางเดอซูซา กล่าว

ยังกังวลที่จะเดินทางกลับมา

ข้อมูลจากหน่วยงานมหาดไทยของออสเตรเลีย ยังเปิดเผยอีกว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นชั่วคราวราว 600,000 คน ที่เดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดเมื่อปีที่ผ่านมานั้น คิดเป็นผู้มีพื้นถิ่นมาจากอินเดียเกือบ 41,000 คน โดยส่วนมากเดินทางออกจากออสเตรเลียก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของชาวออสเตรเลียจำนวนมากจากหน้ามือเป็นหลังมือ

หนึ่งในนั้นคือ นางอปูร์วา คาปูร์ (Apoorva Kapoor) ที่อดีตทำงานรายได้ดี ในบริษัทไอทีแห่งหนึ่งในนครเมลเบิร์น และเพิ่งจะเริ่มทยอยจ่ายเงินกู้เรียนคืน ก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศอินเดีย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
Temp visa holder
นางอปูร์วา คาปูร์ (Apoorva Kapoor) Source: Supplied
หญิงสาวที่ปรึกษาด้านไอที ซึ่งได้ยื่นขอเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของออสเตรเลียไปด้วยก่อนหน้านี้ กล่าวว่า เธอรู้สึก “กังวลใจ และไร้หนทางที่จะมีใครช่วยเหลือ” เนื่องจากเธอไม่สามารถทำงานจากที่อื่นนอกเหนือจากที่ทำงานได้ แม้ว่าจะมีตำแหน่งงานที่ดี และมีทักษะที่ยอดเยี่ยม ขณะที่วีซ่าทำงานหลังเรียนจบของเธอได้หมดอายุไปนานแล้ว

“ชีวิตของฉันมาถึงจุดที่ทุกอย่างหยุดอยู่กับที่ มันสำคัญกับฉันมากที่วีซ่าทำงานหลังเรียนจบ (Subclass 485) ของฉันจะยังมีผล และสามารถใช้เดินทางกลับมาทำงานในออสเตรเลียได้ ซึ่งนั่นจะทำให้วีซ่าของฉันยังใช้ได้อยู่แม้ว่ามันจะหมดอายุไปแล้ว” นางคาปูร์ กล่าว


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้อยู่บ้านและติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ไขข้อข้องใจกับทุกความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19


Share
Published 17 February 2021 4:14pm
Updated 17 February 2021 4:34pm
By Avneet Arora
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends