โครงการช่วยหญิงผู้ย้ายถิ่นก้าวสู่งานช่าง

โครงการนำร่องที่ให้การสนับสนุนหญิงผู้ย้ายถิ่นฐานก้าวสู่อาชีพช่างในออสเตรเลีย

โครงการนำร่องที่ให้การสนับสนุนหญิงผู้ย้ายถิ่นฐานก้าวสู่อาชีพช่างในออสเตรเลีย Source: hosny salah from Pixabay

เปิดตัวโครงการนำร่องที่ให้การสนับสนุนหญิงผู้ย้ายถิ่นฐานก้าวสู่อาชีพช่างในออสเตรเลีย โดยเฉพาะผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐาน ที่มักคิดว่าตนไม่มีโอกาสที่จะทำงานในด้านนี้ได้


กำลังมีโครงการฝึกอบรมใหม่ที่หวังส่งเสริมให้ผู้หญิงหันมาหยิบเครื่องมือและก้าวเข้าสู่อาชีพช่าง เพื่อพยายามเพิ่มความหลากหลายในอุตสาหกรรมเหล่านี้ที่ผู้ชายทำเป็นส่วนใหญ่

โครงการนำร่องที่ว่า มุ่งเน้นไปยังการให้โอกาสการจ้างงานเต็มเวลาแก่ผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานโดยเฉพาะ
LISTEN TO
Women in trades Australia image

โครงการช่วยหญิงผู้ย้ายถิ่นก้าวสู่งานช่าง

SBS Thai

18/03/202106:06
คุณมาเรียม โซว์เตอร์ กำลังทำงานในอุตสาหกรรมการให้บริการต้อนรับ เมื่อเธอเริ่มมองหาโอกาสที่จะทำงานในด้านอื่นๆ

“เพื่อนของฉันคนหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพเป็นคนทำงานเหมืองทองเคยเห็นฉันกลับมาถึงบ้านอย่างหงุดหงิดใจ เหนื่อยล้า และรู้สึกว่าไม่มีใครเห็นคุณค่าเรามากอย่างที่ควรจะเป็น จากงานการให้บริการต้อนรับของฉัน เพราะจริงๆ แล้วมันต้องใช้ความมีใจรักอย่างมาก จึงจะสามารถทำงานให้บริการต้อนรับได้ในระยะยาว” คุณโซว์เตอร์ กล่าว

ความมีใจรักที่เริ่มหดหายไปนั่นเอง ที่ทำให้คุณโซว์เตอร์ก้าวเข้าไปทำงานด้านช่าง

ขณะนี้ เธอกำลังอยู่ในปีที่ 3 ของการเป็นลูกมือฝึกหัดงานด้านช่างไฟฟ้า (Electrical Apprentice) เธอกล่าวว่า เป็นการก้าวสู่อาชีพใหม่ที่เธอไม่เคยรู้สึกเสียใจเลย

แต่เธอเป็นคนส่วนน้อยในอุตสาหกรรมนี้ ในฐานะผู้หญิงเพียงคนเดียวของทีม ในสาขางานที่มีผู้หญิงทำงานอยู่น้อยมาก

คุณฟิโอนา แมกโดนัลด์ เป็นผู้จัดการทั่วไปของกลุ่ม เทรดส์ วีเมน ออสเตรเลีย (Trades Women Australia) ที่สนับสนุนให้ผู้หญิงทำงานในสาขาอาชีพช่างต่างๆ ในออสเตรเลีย

เธอหวังว่าโครงการนำร่องใหม่ที่ เทรดส์ วีเมน ออสเตรเลีย (Trades Women Australia) เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็วๆ นี้ จะช่วยพลิกกระแสโดยสามารถดึงผู้หญิงให้เข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีพื้นเพเป็นผู้ย้ายถิ่นฐาน ซึ่งกำลังได้ผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนักจากการระบาดใหญ่ของเชื้อโควิด-19

พวกเธอได้รับผลกระทบมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงคนอื่นๆ ที่เราได้ร่วมงานด้วย และเราจึงคิดว่าเราจำเป็นต้องมีโครงการที่ปรับให้เหมาะสมโดยเฉพาะ เพื่อช่วยเหลือพวกเธอให้หลุดจากสถานการณ์เหล่านั้น และเพื่อให้สามารถเข้าถึงงานถาวร เพื่อจะได้รับสิทธิ์ เช่น การลาพักร้อนและลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง” คุณแมกโดนัลด์ จาก เทรดส์ วีเมน ออสเตรเลีย เผย
คุณจาซินตา สแตฟฟอร์ด เป็นโค้ชด้านการหางานมา 17 ปีแล้ว

เธอกล่าวว่า โครงการเช่นนี้สำคัญอย่างยิ่งในการลดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประเภทของโอกาสในการทำงานสำหรับผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐาน

จากที่ได้ทำงานกับผู้มาใช้บริการที่เพิ่งมาอยู่ใหม่ หนึ่งในปัญหาใหญ่คือการขาดโอกาสเข้าถึงการศึกษา ยังมีประเด็นเรื่องการไม่รู้ว่ามีงานอะไรบ้างที่สามารถทำได้ ทุกคนมักคิดว่ามีแค่งานดูแลเด็กหรืองานช่างเสริมสวย พวกเธอไม่เข้าใจว่ามีโอกาสด้านการทำงานที่หลากหลายสำหรับพวกเธอ คุณสแตฟฟอร์ด โค้ชด้านการหางาน กล่าว

จะมีบริการสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น เอกสารที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ให้ และความช่วยเหลือด้านการเดินทาง ให้ด้วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงจากชุมชนหลากวัฒนธรรมได้เข้าร่วมโครงการนี้

คุณฟิโอนา แมกโดนัลด์ กล่าวว่า การอบรมที่จะมีให้เป็นรายเดือน จะให้ความรู้และเทคนิคหลากหลายแก่ผู้เข้าร่วม เพื่อช่วยให้พวกเธอสำเร็จการอบรม และกลุ่มยังจะให้การสนับสนุนต่อเนื่องหลังจากนั้นด้วย

เราจะมีกิจกรรมให้ลงมือปฏิบัติ เช่น การเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือต่างๆ การใช้สว่านเจาะรู และการใช้ค้อนอย่างถูกต้อง เราจะมีการให้ความรู้มากมายเกี่ยวกับอาชีพช่างต่างๆ 65 ประเภทที่มีในตลาดแรงงาน และจากนั้น เราจะให้การสนับสนุนในการหางานทำ ช่วยเขียนเรซูเม (resume) ช่วยในการสมัครงาน และให้คำแนะนำในการสัมภาษณ์งานด้านงานช่าง” คุณแมกโดนัลด์ อธิบาย

โครงการดังกล่าวหวังว่า จะช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานว่า พวกเธอก็มีโอกาสในการทำงานที่หลากหลายในออสเตรเลียเช่นกัน ขณะที่ช่วยเพิ่มจำนวนผู้หญิงในอุตสาหกรรมด้านช่าง ที่มีผู้หญิงทำงานอยู่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของแรงงานด้านช่างทั้งหมดในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้

เทรดส์ วีเมน ออสเตรเลีย (Trades Women Australia) หวังจะขยายโครงการนี้ไปทั่วประเทศ หลังสิ้นสุดโครงการนำร่องระยะเวลา 6 เดือนนี้ ซึ่งกำลังรับสมัครผู้หญิงที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share