LISTEN TO
ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงแม้โลกเผชิญโควิด
SBS Thai
27/09/202108:05
ในช่วงการระบาดของโควิด มีการใช้รถ การใช้เครื่องบิน และการเดินเรือน้อยลง แต่มีการสร้างมลพิษมากขึ้น จากที่มีการพบหน้ากากที่ใช้แล้วตามชายฝั่ง และการใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารเทคอะเวย์
ก่อนการประชุมประจำปีของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า คุณแอนโทนีโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) เตือนรัฐบาลในหลายประเทศเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) เกิดขึ้นเร็วกว่าที่พยากรณ์ไว้ และการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิส (fossil emissions) นั้นเริ่มกลับมาอีกครั้ง หลังลดน้อยลงในช่วงการระบาด
เราต้องเริ่มทำตอนนี้ ในช่วงทศวรรษนี้ เรารอที่จะเริ่มในปีต่อๆ ไปไม่ได้ มิฉะนั้นเราจะเสียโอกาสตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในข้อตกลงที่ปารีส ที่ 1.5 ถึง 2 องศา
ประธานองค์กรสหประชาชาติกล่าวว่าโลกได้มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อความจำเป็นในการจัดการเรื่องภาวะสภาพภูมิอากาศมาถึง เขาแนะนำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวงกว้างทันที เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศที่ร้ายแรง
จากรายงานปี 20-21 องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกระบุว่า เป้าหมายของการลดการปล่อยมลพิษไม่บรรลุ และเป็นไปได้ที่โลกจะพลาดเป้าตามข้อตกลงปารีส ที่มุ่งลดภาวะโลกร้อนให้เหลือ 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนการประกอบอุตสาหกรรม
ศาสตราจารย์วิล สเตฟเฟน (Will Steffen) นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ระบบของโลกจากสภาพภูมิอากาศกล่าวว่า ออสเตรเลียไม่เคยบรรลุเป้าหมาย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น
“ที่จริงการระบาดของโควิดสร้างโอกาสให้เรา เพราะการปล่อยมลพิษลดลงเมื่อปีที่แล้วประมาณ 6-7 เปอร์เซ็นต์ หากเราฉวยโอกาสนี้เพื่อที่จะออกจากวิกฤตโควิดด้วยทิศทางที่เปลี่ยนไปในเรื่องของมลพิษ เราคงจะกำลังดำเนินการเพื่อรักษาระดับไว้ที่ไม่เกิน 2 องศา”
ศจ. สเตฟเฟนกล่าวว่าเรากำลังกลับไปที่เดิมมากกว่าที่จะเดินไปข้างหน้า
“เราไม่เห็นการตระหนักถึงผลของโควิด ที่ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นี่เป็นปัญหาระยะยาว คุณอาจไม่เห็นผลกระทบของความเข้มข้นของซีโอทู (CO2) ที่ลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ ลองมองแบบนี้ การปล่อยมลพิษยังคงอยู่ที่ 94 เปอร์เซ็นต์เหมือนในปีที่แล้ว” ในเดือนพฤศจิกายน สหราชอาณาจักรจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 ที่กลาสโกว์
ออสเตรเลียปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นอันดับที่สองของโลก Source: Flickr
ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้ออสเตรเลียเร่งจัดการเรื่องการปล่อยมลพิษที่เพิ่มขึ้น แต่ในสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลประเทศอังกฤษถูกวิจารณ์เรื่องการยอมให้ออสเตรเลียเปลี่ยนเป้าหมายของการรักษาสภาพภูมิอากาศ
สกาย นิวส์ (Sky News) ในสหราชอาณาจักร แฉอีเมลที่รั่วจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะรัฐมนตรีของอังกฤษ โดยระบุว่าอังกฤษตกลงที่จะลดพันธะผูกพันของข้อตกลงปารีสในการรักษาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เพื่อเอาใจออสเตรเลีย และหวังทำข้อตกลงเรื่องการค้าเสรี
เรื่องที่น่าเศร้าคือ ออสเตรเลียยังอนุมัติการทำเหมืองถ่านหินใหม่หลายแห่ง การขุดเจาะหาแหล่งก๊าซใหม่ และอื่นๆ เราไม่เพียงสร้างมลพิษ แต่ยังจะเพิ่มมลพิษอีกในอนาคต
ในขณะเดียวกันขยะก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหน้ากากที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันสำหรับคนออสเตรเลียช่วงโควิด-19 ระบาด
คุณพิบ เคียร์แนน (Pip Kiernan) ประธานบริษัท คลีนอัพ ออสเตรเลีย (Clean Up Australia) กล่าวว่าอาสาสมัครขององค์กรเผยว่า พวกเขาเก็บขยะที่เป็นหน้ากากจำนวนมาก
“จำนวนหน้ากากที่เราใช้ โดยเฉพาะหน้ากากแบบใช้ครั้งเดียว มีปริมาณมหาศาลทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในออสเตรเลีย การวิจัยล่าสุดเผยว่ามีหน้ากากอนามัยจำนวน 129 พันล้านชิ้นถูกทิ้งทุกเดือนทั่วโลก เท่ากับ 3 ล้านชิ้นทุกนาที หากคุณคิดถึงส่วนประกอบของมัน ที่มีพลาสติกหลายประเภท โลหะ ยางในสายรัด มันอาจใช้เวลา 450 ปีในการย่อยสลาย”
แต่มันไม่ได้เป็นสิ่งเลวร้ายเสียทั้งหมด ศจ. สเตฟเฟน กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต้องขยายระดับ สิ่งที่สำคัญในการชะลอการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คือการลดอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เรายังคงมีความหวังอยู่“มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีในระดับชาติ เรามีรัฐอย่าง รัฐนิวเซาท์เวลส์ที่กำลังพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่ รัฐเซาท์ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในผู้นำของการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่นเดียวกับรัฐเอซีที (ACT) มีการดำเนินการอยู่ในระดับรัฐ”
พลังงานหมุนเวียน Source: CC0/Pixabay
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่