นักวิทย์ฯ เตือนโลกอาจร้อนจนย้อนกลับไม่ได้

NEWS: พื้นที่บางส่วนของโลกมีความเสี่ยงที่จะอยู่อาศัยไม่ได้ เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรมเกือบ 5 องศาเซลเซียส อาจส่งผลให้โลกร้อนขึ้นแบบไม่มีทางย้อนกลับ

นักวิจัยได้เตือนว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานฟอซซิลสู่พลังงานสะอาดโดยเร่งด่วน เนื่องจากมลพิษจากพลังงานฟอซซิลกำลังผลักดันให้โลกเข้าสู่สภาวะ “ฮอตเฮาส์ สเตท (Hothouse state)” ซึ่งเป็นภาวะอันตรายถาวร

หากน้ำแข็งขั้วโลกยังคงละลายต่อไป ป่าไม้ถูกตัดโค่น และประมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นกว่าเดิมจนทำสถิติใหม่ ซึ่งมีสถิติใหม่เกิดขึ้นทุกปี โลกก็จะถึงจุดพลิกผัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ประกาศเตือนในเอกสารสรุปการประชุมของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Sciences) ว่า การถึงจุดพลิกผันนั้นจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 4-5 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 10-60 เมตรจากปัจจุบัน

นอกจากนี้ นักวิจัยยังระบุว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงสิบปีข้างหน้า

Hothouse Earth คืออะไร

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และสถาบันพอทส์ดัม ได้ระบุเกี่ยวกับสภาวะ Hothouse Earth ว่า มีความเป็นไปได้ว่ามันจะเกินการควบคุมและเป็นอันตรายอย่างมาก

โดยภายในศตวรรษนี้หรือเร็วกว่านั้น แม่น้ำจะเอ่อล้น พายุจะโหมพัดแนวชายฝั่งอย่างรุนแรง และแนวปะการังจะหายไปทั้งหมด อุณหภูมิทั่วโลกจะสูงเกินกว่าทุกช่วงคั่นระหว่างยุคน้ำแข็งในอดีต เมื่อราว 1.2 ล้านปีก่อน
Pia Eriksson and Gunhild Ninis Rosqvist measuring the southern glacier of Kebenekaise in 2017
A glacier on Sweden's Kebnekaise mountain melted so much in sweltering Arctic temperatures that it is no longer the country's highest point. Source: University of Stockholm
น้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมากของระดับน้ำทะเล ซึ่งจะเข้าท่วมชายฝั่งต่างๆ ซึ่งมีบ้านเรือนที่มีผู้อาศัยมากกว่าร้อยล้านคน

"หลายพื้นที่ของโลกจะไม่สามารถอยู่อาศัยได้ หากสภาวะ Hothouse Earth นั้นกลายเป็นความจริง" นายโยฮัน ร็อกสตรอม (Johan Rockstrom) ผู้ช่วยจัดทำวิจัย และผู้อำนวยการบริหาร Stockholme Resilient Centre กล่าว

อะไรคือจุดพลิกผัน

นักวิจัยระบุว่า โลกอาจถึงจุดพลิกผันเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียส โดยในขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมินี้จะเพิ่มขึ้น 0.17 องศาเซลเซียสในทุกๆ 10 ปี

"เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 2 องศาเซลเซียส สามารถทำให้เกิดปัญหาพลิกผันขึ้นได้ และหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีกมันจะเกิดปัญหาตามมาต่อๆ กันแบบโดมิโน ซึ่งจะกระทบถึงระบบการทำงานของโลก และนำไปสู่อุณหภูมิที่สูงขึ้นอีก" ข้อมความส่วนหนึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวระบุ

"ปัญหาที่เรียงต่อกันนั้น อาจทำให้โลกเข้าสู่การทำงานรูปแบบใหม่" นายฮานส์ โจอาคิม เชนอูเบอร์ (Hans Joachim Schellnhuber) ผู้ร่วมจัดทำรายงานฉบับดังกล่าว และผู้อำนวยการสถาบันพอทส์ดัมกล่าว

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังกังวลเกี่ยวปรากฎการณ์อย่างไฟป่า ซึ่งลามไปทั่วโลกเนื่องจากอากาศที่ร้อนและแห้งขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดภาวะโลกร้อน
Firefighters and volunteers try to extinguish flames during a wildfire at the village of Kineta, near Athens, on July 24, 2018
Firefighters and volunteers try to extinguish flames during a wildfire at the village of Kineta, near Athens, on July 24, 2018. Source: Getty

การคำนวณจุดพลิกผัน

บทความ Perspective ซึ่งเขียนขึ้นจากข้อมูลในงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่มีการตีพิมพ์ เกี่ยวกับเรื่องจุดพลิกผันของโลก

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบสภาพของโลกในยุคต่างๆ ที่ผ่านมา เพื่อประกอบกันในการจัดทำบทความฉบับนี้ เข่น ในยุคสมัยไพลโอซีน เมื่อ 5 ล้านปีก่อน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 400 ppm เหมือนในปัจจุบัน และในช่วงยุคครีเทเชียส ซึ่งเป็นยุคหนึ่งของช่วงยุคไดโนเสาร์เมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อน ระดับก็าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นสูงมากถึง 1,000 ppm เนื่องจากมีการระเบิดของภูเขาไฟ

"การกล่าวว่า อุณหภูมิโลกเฉลี่ยที่สูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียสเป็นจุดที่ไม่สามารถย้อนกลับได้นั้นเป็นเรื่องใหม่" นายมาร์ติน ซีย์เกิร์ท (Martin Siegert) รองผู้อำนวยการสถาบันแกรนแทม ที่ราชวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้กล่าว

"บทความดังกล่าวเป็นการตรวจทานแนวคิดและทฤษฎีที่มีการตีพิพม์ไปก่อนหน้านี้ เพื่อนำเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับนั้นจะทำงานอย่างไร มันดูเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง แต่ก็ไม่ได้ผิดแปลกอะไร" นายมาร์ตินกล่าวเสริม

เราจะหยุดมันได้อย่างไร

นักวิจัยกล่าวว่า ผู้คนจะต้องเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตโดยทันทีเพื่อให้เป็นผลดีต่อโลก

แหล่งพลังงานจากฟอซซิลจะต้องถูกทดแทนด้วยแหล่งพลังงานที่มีมลภาวะน้อยหรือพลังงานสะอาด และจะต้องมีกลยุทธ์ในการดูดซับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น เช่น การหยุดตัดไม้ทำลายป่า และการปลูกต้นไม้ขึ้นทดแทน

การจัดการหน้าดิน การเพาะปลูกที่มีความรับผิดชอบ รวมถึงการอนุรักษ์ธรณี พื้นที่ชายฝั่ง และเทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เหล่านี้คือหนึ่งกระบวนการตามกลยุทธ์ดังกล่าว

แม้มนุษย์จะหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่แนวโน้มความร้อนในปัจจุบันอาจก่อให้เกิดกระบวนการของระบบโลกอื่นๆ ซึ่งจะผลักดันให้โลกร้อนขึ้นอีก ซึ่งรวมถึงการละลายของชั้นดินเยือกแข็ง การสูญเสียหิมะที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือ รวมถึงทะเลน้ำแข็ง และแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก  

นักวิจัยกล่าวว่า มันไม่มีความแน่นอนว่าโลกจะสามารถกลับมามีเสธียรภาพได้อีกครั้ง

"สิ่งที่เรายังไม่รู้ในตอนนี้คือ ความปลอดภัยของสภาพอากาศในสภาวะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงแตะ 2 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม และการประชุมข้อตกลงด้านสภาพอากาศปารีส (Paris Agreement) ก็กำลังจะมาถึง" นายเชนอูเบอร์กล่าว

ชมคลิป: ไฟป่าทางตอนใต้ของสเปน




Share
Published 7 August 2018 2:45pm
Updated 7 August 2018 11:26pm
By SBS-AFP
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends