ถุงพลาสติกแบบใหม่ที่วิศวกรชาวชิลีได้คิดค้นขึ้นมานี้ ดูเหมือนถุงพลาสติกใช้ครั้งเดียวธรรมดาๆ แต่มันสามารถละลายน้ำได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยพวกเขาเรียกมันว่า "โซลูแบ็ก (Solubag)"
โดยโซลูแบ็กนั้น ใช้สารประกอบจากหินปูนแทนน้ำมัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้มันสามารถย่อยสลายได้
"มันเป็นเรื่องที่เราประหลาดใจมากว่าไอเดียแปลกๆ ของพวกเรา สามารถใช้เป็นวัสดุทดแทนที่สามารถแก้ปัญหาพลาสติกซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกได้" นายโรเบอร์โต แอสเตเต (Roberto Astete) ผู้จัดการทั่วไปของโซลูแบ็กกล่าวนายแอสเตเตระบุว่า แนวคิดของถุงพลาสติกแบบใหม่นี้ คือการเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีที่ใช้ผลิตถุงพลาสติกกันโดยทั่วไปในโลก
Solubag General Manager Roberto Astete said the bags are water soluble Source: SBS
"สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อถุงนี้สัมผัสกับน้ำก็คือ ออกซิเจนในน้ำจะเข้าไปอยู่ในโครงสร้างเคมีของถุงซึ่งเป็นห่วงโซ่โพลิเมอร์ ซึ่งจะสกัดไฮโดรเจนออกมา ดังนั้น สิ่งที่เหลืออยู่จะเป็นคาร์บอน และสารอื่นๆ ที่เราใส่เข้าไปในสูตรเคมีที่ใช้ผลติดถึงนี้ ซึ่งมีการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA)" นายแอสเตเตกล่าว
โดยในเดือนกันยายนนี้ ทีมวิจัยของโซลูแบ็กมีกำหนดที่จะมุ่งหน้าไปยังซิลิคอนแวลลีย์ในสหรัฐฯ เพื่อสำรวจและค้นหาโอกาสผลิตถุงที่เป็นมิตรต่อสิงแวดล้อมนี้ในระดับโลก
พวกเขาไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ถุงพลาสติกเท่านั้น…
"แปรงสีฟัน มีด และผลิตภัณฑ์อะไรก็ตามที่เป็นพลาสติก สามารถแทนที่ได้ด้วยวัสดุนี้ มันมีประสิทธิภาพเหมือนกับพลาสติกทั่วไป แตกต่างตรงที่วัสดุนี้สามารถละลายน้ำได้" นายคริสเตียน โอลิวาเรส (Christian Olivares) ผู้จัดการฝ่ายขายของโซลูแบ็กกล่าว
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นผลจากนโยบายแบนการใช้ถุงพลาสติกของประเทศชิลี ซึ่งเป็นประเทศแรกในทวีปอเมริกาใต้ที่ประกาศใช้นโยบายดังกล่าว
มีมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลกที่ประกาศนโยบายงดแจกหรือลดการแจกถุงพลาสติก สำหรับในออสเตรเลียนั้น ขณะนี้ทุกรัฐและเขตแดน ยกเว้นรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้มีการงดแจก รวมถึงเตรียมงดแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ประชากรออสเตรเลียแตะ 25 ล้านคน