ประเทศอินเดียนั้นโดดเด่นอยู่บนรายชื่อของเมืองซึ่งมีมลภาวะมากที่สุดในโลกปี ค.ศ. 2018 โดยมีจำนวนถึง 22 เมืองอยู่ใน 30 อันดันแรก หากอ้างอิงจากรายงานโดยกรีนพีซ (Greenpeace)
มลภาวะทางอากาศนั้น คาดว่าเป็นสาเหตุให้ผู้คนจำนวน 7 ล้านคนเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรในทุกๆ ปี และสหประชาชาติก็ได้พิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมปัจจัยเดี่ยวที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ในขณะที่กรุงเดลี ได้รับการระบุชื่อว่าเป็นนครหลวงที่มีอากาศสกปรกที่สุดเป็นอันดับที่สิบ คุรุครามเมืองธุรกิจข้างเคียงซึ่งเปลี่ยนชื่อจากคุร์เคาน์ เมื่อปี 2016 นั้นขึ้นนำเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นที่น่าอิจฉาเท่าใดนัก
เมืองต่างๆ ในประเทศจีน ปากีสถาน และบังกลาเทศ ก็ติดอยู่ในสามสิบอันดับแรกด้วยเช่นเดียวกันรายงานคุณภาพอากาศโลก 2018 (2018 World Air Quality Report) ซึ่งรวบรวมขึ้นโดยกรีนพีซ และ ไอคิวแอร์ แอร์วิชวล (IQAir AirVisual) ใช้ข้อมูลมลภาวะจากสถานีเฝ้าระวังของรัฐและเอกชนหลายหมื่นแห่ง เพื่อจัดอันดับเมืองต่างๆ จำนวน 3,000 เมือง จากสกปรกที่สุด จนถึงสะอาดที่สุด
A thick layer of pollution haze hangs over New Delhi, India. Source: AP
ใน หลังจากคำนวณถ่วงดุลด้วยจำนวนประชากรแล้ว ประเทศบังกลาเทศก็ขึ้นนำเป็นประเทศที่มีมลภาวะสูงที่สุดโดยเฉลี่ย ตามมาติดๆ ด้วยปากีสถาน และอินเดีย โดยมีประเทศอาฟกานิสถานและมองโกเลียอยู่ในสิบอันดับแรกเช่นเดียวกัน ():การ ของเมืองหลวงในแต่ละภูมิภาคโดยกรีนพีซ
ออสเตรเลียอากาศดีเยี่ยมเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นหนึ่งใน 11 ประเทศเท่านั้นที่มีระดับ PM2.5 ต่ำกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ส่วนไทยอยู่ในสามสิบอันดับแรกของประเทศที่มีอากาศสกปรกที่สุดในโลก ตามข้อมูลที่รวบรวมได้จากทั้งหมด 75 ประเทศ (Image source: Greenpeace) Source: Greenpeace
การจัดอันดับคุณภาพอากาศปี 2018 ของเมืองหลวงในแต่ละภูมิภาคโดยกรีนพีซ (Image source: Greenpeace) Source: Greenpeace
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ปิดโรงเรียนหลายร้อยแห่งที่กรุงเทพฯ แล้วจากเหตุมลพิษ
“นอกเหนือจากการเสียชีวิตของมนุษย์แล้ว ยังมีการสูญเสียแรงงานคิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ $225,000 ล้านดอลลาร์ทั่วโลก และอีกหลายล้านล้านดอลลาร์สำหรับค่าใช้จ่ายทางการแพทย์” คุณเยบ ซาโน (Yeb Sano) ผู้อำนวยการบริหารของกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว
“เรื่องนี้มีผลกระทบอย่างมหาศาล ต่อสุขภาพของเราและต่อประเป๋าเงินของเรา”
รายงานได้พิจารณาการวัดละอองขนาดเล็กที่เรียกว่า PM2.5 ซึ่งสามารถทะลุผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจและก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบหายใจได้
ในเมืองกว่า 3,000 แห่งซึ่งอยู่บนรายชื่อดังกล่าว 64 เปอร์เซ็นต์มีการสัมผัสกับ PM2.5 ในแต่ละปีที่สูงเกินกว่าข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของสารก่อมลถาวะที่เมืองต่างๆ ของประเทศจีนลดลง 12 เปอร์เซ็นต์ระหว่างปี 2017 ถึงปี 2018 โดยในขณะนี้กรุงปักกิ่งอยู่ที่อันดับ 122 ของเมืองที่มีมลภาวะมากที่สุดในโลก
Pedestrians wearing face mask against air pollution walk on a road in heavy fog in Dalian city, northeast China's Liaoning province. Source: ICHPL Imaginechina
รายงานได้พบว่า “ในช่วงไม่นานมานี้ เอเชียตะวันออกได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วกับการเพิ่มขึ้นของมลภาวะทางอากาศ”
รายงานยังเสริมว่า ความจำเป็นที่จะลดมลถาวะทางอากาศนั้นได้เพิ่มความเร่งด่วนมากขึ้นในประเทศจีน “จึงมีการนำเครือข่ายการเฝ้าระวังที่กินขอบเขตกว้างขวางและนโยบายด้านลดมลภาวะทางอากาศเข้ามาใช้”
รายงานดังกล่ายังชี้ชัดถึงการที่สาธารณชนนั้นขาดแคลนข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปอาฟริกาและอเมริกาใต้
และได้เสริมว่า ข้อมูลแบบเรียลไทม์นั้นเป็น “เสาหลักที่สำคัญที่จะก่อให้เกิดความตื่นตัวของสาธารณชน และขับดันให้มีการลงมือต่อสู้กับมลภาวะทางอากาศในระยะยาว”ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
A man wearing a mask rides a bicycle along the Han river in Seoul, South Korea. Source: AP
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
ชีวิตจริงเกย์หนุ่มไทยในดาร์วิน