กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
คุณ วรรณรัตน์ บุญรัตนกรกิจ หรือคุณ อร เชฟเบเกอรี ของร้าน Lune ร้านครัวซองต์ชื่อดังระดับโลกในนครเมลเบิร์นที่ทุกวันจะมีคนยืนต่อคิวยาวไปหลายช่วงตึก เล่าให้เอสบีเอสไทยฟังว่า ครัวซองต์ไม่เพียงเป็นขนมที่ทำให้ใครหลายๆคนยอมต่อคิวยาวหลายชั่วโมงเพื่อได้ลิ้มชิมรสเท่านั้น
แต่ครัวซองต์เป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจที่จะเป็น Patisserie chef หรือ เชฟเบเกอรีหรือ เชฟขนม และได้นำพาชีวิตของเธอข้ามน้ำข้ามทะเลมาเพื่อจะมาพยายามเข้ามาเรียนรู้กับร้านที่ถือเป็นมาสเตอร์ของขนมชนิดนี้ของโลกร้านหนึ่งให้ได้
คุณ วรรณรัตน์ บุญรัตนกรกิจ หรือคุณ อร เชฟเบเกอรีของร้าน Lune ร้านครัวซองต์ชื่อดังระดับโลกในนครเมลเบิร์น
คุณอรเริ่มต้นด้วยการที่ชอบทานครัวซองต์มากจนกระทั่งได้เข้าไปเรียนทำอาหารอย่างจริงจังและได้ศึกษาขั้นตอนการทำขนมชนิดนี้แล้วรู้สึกประทับใจมากขึ้นในเพราะเป็นขนมที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการทำออกมา
“ตอนที่เริ่มหลงรักครัวซองต์มากๆ เลยก็ตอนเข้าไปเรียน Le cordon bleu ที่ได้มีโอกาสเห็น processในการทำครัวซองต์ ที่มีความพิถีพิถันแทบทุกขั้นตอน"
ทุกอย่างมีความแม่นยำค่อนข้างสูง เราเริ่มรู้สึกว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มารวมกันอย่างลงตัวคุณ วรรณรัตน์ บุญรัตนกรกิจ
เมื่อพูดถึงครัวซองต์ขนมชื่อฝรั่งเศสแต่คุณอรอธิบายว่าแหล่งกำเนิดของขนมชนิดนี้กลับมีที่มาจากประเทศตุรกี
“ตัวขนมชนิดนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศตุรกี ในสมัยโบราณแต่เป็นขนมที่ไม่ได้เป็นเลเยอร์เยอะขนาดนี้ แล้วฝรั่งเศสก็เอามาประยุกต์ทำให้เกิดเลเยอร์สวยงามในสไตล์ฝรั่งเศสในทุกวันนี้”
ครัวซองต์จากร้านที่กลายเป็นแลนด์มาร์คของนครเมลเบิร์น มีชื่อเสียงด้านความพิถีพิถันและความคิดสร้างสรรค์ Credit: Photo by Chayada Powell
ก่อนที่จะเดินทางมาออสเตรเลียคุณอรเคยเปิดร้านขนมของตัวเองที่มีเมนูดัง นั่นก็คือครัวซองต์ ขนมสุดโปรดของเธอ ที่ถูกจัดอันดับให้ติดอันดับต้นๆ ในกรุงเทพฯ มาแล้ว
แม้ว่าร้านจะเริ่มประสบความสำเร็จ มีลูกค้าประจำและมีเริ่มมีชื่อเสียง แต่คุณอรต้องปิดร้านไปเพราะได้วีซ่า work and holiday ซึ่งเธอคิดว่าเป็นโอกาสครั้งหนึ่งของชีวิตที่จะได้ลองใช้ชีวิตที่ออสเตรเลีย
“ได้วีซ่า work and holiday ตอนนั้นก็นึกอยู่ว่าต้องมาเพราะมันเป็นโอกาส once in a life time opportunity ก็เลยอยากมาใช้ชีวิตที่นี่ ใช้เวลาเตรียมตัวเกือบปีกว่าจะย้ายมา”
เมื่อย้ายมาที่ออสเตรเลียแล้ว เป้าหมายหนึ่งเดียวของคุณอรคือ เธอตั้งเป้าว่าจะต้องได้เข้าทำงานในร้านครัวซองต์ที่มีชื่อเสียงที่สุดให้ได้
เริ่มมาจากที่เราตั้งใจอยู่แล้ว ตั้งใจมาทำงานที่นี่เลย พยายามสมัครโดยตลอด จนครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่ 4 ที่ยื่นใบสมัครแล้วได้เข้ามาทำงานคุณ วรรณรัตน์ บุญรัตนกรกิจ
เส้นทางการเป็นเชฟในออสเตรเลียไม่ง่าย เนื่องจากมีคู่แข่งสูงและร้านที่มีชื่อเสียงค่อนข้างมีกระบวนการคัดเลือกผู้สมัครที่เข้มข้น
คุณอรเปิดเผยเคล็ดลับของเธอว่าผู้สมัครต้องทำการบ้าน รู้จักองค์กรที่ไปสมัครและรู้ว่าความคาดหวังขององค์กรนั้นเป็นอย่างไร รวมถึงหมั่นพัฒนาทักษะของตนเองให้พร้อมเสมอ
“อันดับแรกคือต้องทำการบ้านเยอะๆ ถ้าที่นี่เป็นที่เดียวที่เราเล็งไว้ ที่ที่เราอยากเข้า เราต้องศึกษาข้อมูลว่า products ของเขาคืออะไร รู้ว่าเค้าต้องทำอะไรบ้างในหนึ่งวัน ที่มาที่ไปขององค์กร เราต้องเตรียมตัวให้พร้อม รู้ว่า expectations ของเค้าคืออะไร นำเสนอว่าถ้าเราเข้ามาเราจะเป็นประโยชน์กับองค์กรยังไง”
อ่านเพิ่มเติม
Settlement Guide: สมัครงานอย่างไรให้ได้สัมภาษณ์สักที
เมื่อทำงานในองค์กรที่มีชื่อเสียง คุณอรรู้สึกว่าต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา สามารถทำงานเป็นทีม และพร้อมกับการทำงานให้มากที่สุด
เรารู้สึกว่าเค้ามี expectations กับเราค่อนข้างสูง เค้าคาดหวังว่าเรามาแล้วต้องพร้อมทำงาน ไม่ใช่เค้าต้องมาสอนทุกขั้นตอนคุณ วรรณรัตน์ บุญรัตนกรกิจ
ส่วนในอนาคตคุณอรคิดว่าอยากกลับไปเปิดร้านขนมที่ไทยและใช้วัตถุดิบ ส่วนประกอบของไทย ที่จะทำให้ขนมมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและอาจเป็นจุดท่องเที่ยวหรือจุดดึงดูดนักชิมขนมเหมือนร้าน Lune
คุณ อร อยากให้สักวันจะเปิดครัวซองต์ที่ใช้วัตถุดิบของไทยมาเป็นส่วนประกอบ
“ตอนแรกคิดว่าจะเป็ดร้านที่เมลเบิร์นกับเพื่อนๆ แต่ในใจรู้สึกว่าอยากกลับไปเปิดที่ไทยมากกว่า ที่ไทยก็มีการแข่งขันการทำครัวซองต์ที่วิริสมาหราค่อนข้างสูงเหมือนกัน ยังมีโอกาสโต เราเองก็คุ้นเคยกับตลาดไทยมากกว่า”
เราหลงเสน่ห์ ingredients ของไทย อยากให้สักวันเราทำครัวซองต์ที่มีรสชาติหลากหลาย แต่ว่าใช้วัตถุดิบของไทยมาเป็นส่วนประกอบ อยากให้เป็นครัวซองต์รสชาติไทยๆ ให้วันหนึ่งหลายเป็น landmark อะไรแบบนี้คุณ วรรณรัตน์ บุญรัตนกรกิจ
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจ
คนออสซี่วัยไหนแฮปปี้สุด(และน้อยสุด) แล้วคะแนนความสุขในโลกวัดจากอะไรบ้าง