ประเด็นสำคัญ
- การดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่เป็นสิ่งสำคัญ
- ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 หรือสูงกว่า
- ตรวจสอบดัชนีรังสี UV ก่อนออกไปข้างนอก
กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
อากาศร้อนจัดอาจมีผลกระทบกับร่างกายได้ เช่น อาการอ่อนเพลียเนื่องจากอากาศร้อน หรืออาจเกิดภาวะลมแดด (heat stroke) ในกรณีที่รุนแรง
อาการอ่อนเพลียเนื่องจากอากาศร้อนเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียเกลือและน้ำในจำนวนมาก เนื่องจากการขับเหงื่อ
แต่โรคลมแดดถือเป็นภาวะที่ร้ายแรงกว่ามาก และนับเป็นเหตุฉุกเฉินทางแพทย์ เนื่องจากร่างกายสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณภูมิภายใน
แพทย์หญิงแองเจลิกา สก็อตต์ (Angelica Scott) แพทย์รักษาโรคทั่วไปหรือแพทย์จีพี (GP) ที่ซิดนีย์อธิบายถึงสัญญาณที่ควรระวัง
“ปกติแล้วคุณจะรู้สึกปวดหัว ร้อนและมีเหงื่อออก บางครั้งจะมีเหงื่อออกเยอะมาก รู้สึกเหนื่อยล้า เพราะสมองของคุณส่งสัญญาณบอกร่างกายให้ขยับช้าลง และหากอาการแย่ลง อาจเกิดภาวะลมแดดได้ ซึ่งจะแย่กว่า”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Settlement Guide: ร้อนนี้ระวังคลื่นความร้อนและผิวไหม้แดด
พญ. สก็อตต์ย้ำถึงการดื่มน้ำตลอดทั้งวันว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการอ่อนเพลียและลมแดด
“ดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ (electrolytes) แทนการดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำที่มีน้ำตาลผสม เพราะมันจะทำให้อาการแย่ลง เครื่องดื่มประเภทนี้ยังมีคาเฟอีน (caffeine) ซึ่งทำให้คุณปัสสาวะมากขึ้นอีกด้วย”
ควรคำนึงถึงประเภทและปริมาณอาหารที่รับประทานด้วย
ในวันที่ร้อนมากๆ หากรู้สึกเหนื่อยเกินไปจากการรับประทานอาหารหนักๆ ควรทานผักและผลไม้มากขึ้น เพราะย่อยง่ายกว่า
"ผลไม้ เช่น แตงโม มีประมาณน้ำอยู่มาก ซึ่งดีต่อการช่วยให้ร่างกายชุ่มชื้น"
ผลไม้ช่วยให้ร่างกายของคุณชุ่มชื้น Source: Getty / Getty Images
ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่บางเบา พยายามหลบแดดหรืออยู่ในบริเวณที่ร่ม
พญ. สก็อตต์แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า เอสพีเอฟ (Sun Protection Factor หรือ SPF) ที่เหมาะสม ซึ่งค่า SPF เป็นการวัดประสิทธิภาพของการปกป้องผิวจากการถูกแดดเผา
“ควรใช้ SPF 50 ขึ้นไป ทาครีมให้ทั่วตัว อย่าลืมทาบางจุดที่มักจะพลาด เช่น หน้าอก หู และแขน”
ศาสตราจารย์แอนน์ คัสต์ (Anne Cust) ประธานคณะกรรมการ(Chair of the Cancer Council’s National Skin Cancer Committee) กล่าวถึงความจำเป็นในการทาครีมกันแดด เนื่องจากรังสียูวีที่ออสเตรเลียนั้นแรง
รังสียูวี (UV radiation) เป็นคำย่อของรังสีอัลตราไวโอเล็ต (ultraviolet) ซึ่งเป็นพลังงานที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ การได้รับรังสียูวีในระดับสูงเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
ออสเตรเลียมีรังสียูวีที่รุนแรงมาก เป็นสาเหตุของอัตราผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังที่มีจำนวนมากที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สูงเป็นสองเท่าของที่ยุโรป
"ออสเตรเลียมีดัชนีรังสียูวีสูงที่สุดประมาณ 12 – 14 ในฤดูร้อน ขณะที่บริเวณตอนใต้ของยุโรป รอบๆ ทะเลเมดิเตอเรเนียน มีดัชนีรังสียูวีอยู่ที่ประมาณ 8 เท่านั้น”
ไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมกลางแจ้งอะไร ควรปกป้องผิวจากแสงแดด Credit: Getty Images/The Good Brigade
“ในวันที่อากาศเย็น อาจสูงได้ หากมีลมพัดเบาๆ หรือรู้สึกว่าอากาศภายนอกค่อนข้างเย็น แต่ดัชนีรังสียูวีอาจสูงมาก หากคุณละเล่นกิจกรรมทางน้ำอาจได้รับแสงสะท้อนเพิ่มอีกด้วย”
โปรแกรมรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็งผิวหนังที่ดำเนินการยาวนานที่สุดในโลกได้เปิดตัวโครงการใหม่ในรัฐวิกตอเรีย
โครงการ ‘ด็อนท์ เล็ท แคนเซอร์ อิน (Don’t Let Cancer In)’ กล่าวถึงกระแสที่ประชาชนมักใช้ครีมกันแดดเมื่อไปเที่ยวทะเลหรือเมื่อละเล่นกิจกรรมทางน้ำเท่านั้น และเรียกร้องให้มีแนวทางเชิงรุกในการป้องกันแสงแดดให้เข้ากับกิจวัตรประจำวัน
คุณเอ็มม่า กลาสเซนเบอรี (Emma Glassenbury) ผู้บริหารซันสมาร์ทหวังว่าจะได้รับการโปรโมทไปทั่วประเทศ
“โครงการ Don’t Let Cancer In เป็นโครงการใหม่ซึ่งย้ำถึงความสำคัญของการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่ดี เพื่อป้องกันโรคมะเร็งผิวหนัง ไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมอะไร จะพาสุนัขไปเดินเล่น ทำสวน หรือดูแลเด็กๆ ที่เล่นในสวนหลังบ้าน"
ปกป้องตัวคุณจากแสงแดด และตรวจสอบระดับรังสียูวีก่อนออกจากบ้าน หากมีค่าเกินกว่า 3 ให้ปกคลุมผิวให้ดี
บางแห่งในออสเตรเลียอาจมีดัชนีรังสียูวีประมาณ 12 - 14 ช่วงฤดูร้อน Credit: Getty Images/Six_Characters
“ระดับรังสียูวีหรือระยะเวลาในการป้องกันตนเองจากแสงแดดสามารถหาได้จากข้อมูลพยากรณ์อากาศทั่วไป หรือคุณสามารถหาข้อมูลได้จาก ซึ่งให้ข้อมูลระดับรังสียูวีและระยะเวลาที่ควรป้องกัน ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลก และมีให้บริการในอีก 8 ภาษาด้วย”
คุณกลาสเซนเบอรีสนับสนุนให้ทุกคนเพลิดเพลินกับฤดูร้อน ในขณะที่ยังคงคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย
“เราอาศัยอยู่ในประเทศที่สวยงาม แต่ก็มีระดับรังสียูวีที่สามารถก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ เราอยากให้ทุกคนเพลิดเพลินกับกิจกรรมกลางแจ้ง แต่หากรังสียูวีอยู่ในระดับ 3 หรือสูงกว่านั้น ปกป้องผิวคุณให้ดี"
มี 5 วิธีป้องกันจากแสงแดด สวมชุดที่กันแดด สวมหมวก ใส่แว่นกันแดด ทาครีมกันแดดบริเวณผิวหนังที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม และพยายามอยู่ในที่ร่ม
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ออสเตรเลียพบอัตราการเสียชีวิตจากความร้อนมากที่สุดในรอบทศวรรษ