ติดคุก เข้าโรงพยาบาล พาสปอร์ตหาย: นี่คือประเทศที่ชาวออสเตรเลียขอความช่วยเหลือมากที่สุด

กระทรวงการต่างประเทศและการค้าเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไหนที่ชาวออสเตรเลียบังเอิญประสบปัญหามากที่สุดเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ

A woman's hand holding an Australian passport.

DFAT เผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไหนที่ชาวออสเตรเลียบังเอิญประสบปัญหามากที่สุดเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ Source: Getty / Patrick T Fallon

ประเด็นสำคัญ:
  • กระทรวงการต่างประเทศและการค้าได้เปิดเผย ประเทศที่ชาวออสเตรเลียบังเอิญประสบปัญหามากที่สุดเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ
  • จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกทำร้ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับจำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกจับกุม
เคยสงสัยบ้างไหมว่า ประเทศใดที่ชาวออสเตรเลียที่เดินทางไปต่างประเทศแล้วบังเอิญประสบปัญหามากที่สุด?

ในขณะที่ชาวออสเตรเลียเริ่มเดินทางไปต่างประเทศในระดับเดียวกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 กระทรวงการต่างประเทศและการค้า (DFAT) เปิดเผยบางคำตอบในประเด็นนี้

รายงาน Consular State of Play ประจำปี 2022-23 แสดงให้เห็น ประเทศที่ชาวออสเตรเลียร้องขอความช่วยเหลือบ่อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเพราะพวกเขาทำหนังสือเดินทางหาย ตื่นขึ้นมาในโรงพยาบาล หรือประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ในปี 2022-23 ศูนย์ให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินด้านกงสุลของ DFAT รับโทรศัพท์ที่ติดต่อเข้ามามากกว่า 48,000 สาย หรือประมาณหนึ่งครั้งทุก ๆ 11 นาที และโดยรวมจำนวนกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือด้านกงสุลก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับปี 2021-22

นี่คือบางประเด็นที่สำคัญ
A graphic with a picture of a passport and large text reading "9,200 cases" with a smaller text that says "17% increase in consular cases".
ในปี 2022-2023 DFAT ได้ความช่วยเหลือด้านกงสุลและเหตุฉุกเฉินแก่ชาวออสเตรเลียในต่างประเทศ 9,200 กรณี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 17 เปอร์เซ็นต์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นฮอตสปอต

เอเชียติดอันดับภูมิภาคที่ชาวออสเตรเลียต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด โดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นฮอตสปอต (hotspot)

ประเทศจุดหมายปลายทางเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ติดอันดับต้น ๆ โดย DFAT ได้ให้ความช่วยเหลือด้านกงสุล 778 กรณีในประเทศไทย 610 กรณีในฟิลิปปินส์ และ 512 กรณีในอินโดนีเซีย
A graphic showing a map of the world and numbers of consular cases in various countries.
จำนวนการขอความช่วยเหลือด้านกงสุลในประเทศ 10 อันดับแรก
อาจไม่น่าแปลกใจ ที่ประเทศจุดหมายปลายทางเพื่อการท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นประเทศที่พบชาวออสเตรเลียที่ป่วยหนักหรือจำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล บ่อยที่สุดด้วย
A graphic showing the rates of serious illness and hospitalisations in Indonesia, Thailand and the Philippines.
จำนวนชาวออสเตรเลียที่ป่วยหนักหรือต้องเข้าโรงพยาบาล
และมีชาวออสเตรเลียเสียชีวิตในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่า โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่พบชาวออสเตรเลียไปเสียชีวิตที่นั่นมากที่สุด
A table showing the numbers of Australian deaths in Thailand, the Philippines, Indonesia, Vietnam and the USA.
จำนวนชาวออสเตรเลียที่เสียชีวิตในต่างประเทศ

การถูกจับกุมเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ถึงระดับก่อนเกิดโควิดระบาด

จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกจับกุมหรือกักกันตัวในสถานกักกันคนเข้าเมืองในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

มีการจับกุมชาวออสเตรเลียในต่างประเทศ 740 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 โดยแค่จีนประเทศเดียวก็มีชาวออสเตรเลียถูกจับกุมที่นั่น 66 ราย
A table showing the number of Australians arrested in China, Thailand, the USA, the Philippines and Singapore.
ชาวออสเตรเลียที่ถูกจับกุมและถูกกักกันตัวในต่างประเทศ
ชาวออสเตรเลีย 58 คนถูกกักกันตัวในสถานกักกันคนเข้าเมืองในสหรัฐอเมริกา มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว
A table showing the number of Australians put into immigration detention in the USA, Thailand, Indonesia, India and Turkiye.
จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกกักกันตัวในสถานกักกันคนเข้าเมืองในต่างประเทศ
ไม่น่าแปลกใจที่จำนวนผู้ถูกจับกุมและผู้ถูกกักกันในสถานกักกันคนเข้าเมืองลดลงอย่างมากในช่วงโควิด-19 ซึ่งเป็นช่วงที่การเดินทางถูกจำกัดอย่างยิ่ง

ในขณะที่จำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 969 ราย แต่ยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโควิดระบาดอย่างมาก
A line chart showing that the number of Australians arrested overseas has decreased since 2018-19
จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกจับกุมในต่างประเทศ
จำนวนชาวออสเตรเลียที่ถูกคุมขังในต่างประเทศค่อนข้างคงที่ที่ 318 คน และคงอยู่ในระดับ 300 กว่าคนในช่วงห้าปีที่ผ่านมา

การถูกลักทรัพย์ ถูกทำร้ายร่างกาย และหนังสือเดินทางถูกขโมย

ชาวออสเตรเลียรายงานว่า ทรัพย์สินของตนถูกขโมยในบราซิลมากกว่าประเทศอื่น ๆ โดย DFAT ได้ช่วยเหลือในกรณีถูกลักทรัพย์ 49 กรณี

ตามมาด้วยในอิตาลี 41 กรณี ในฟิลิปปินส์ 9 กรณี ในเวียดนาม 6 กรณี และในแอฟริกาใต้ 6 กรณี
A table showing the number of thefts reported in Brazil, Italy, the Philippines, Vietnam and South Africa.
กรณีการถูกลักทรัพย์ที่ชาวออสเตรเลียในต่างประเทศแจ้งกับ DFAT
ในปีที่ครอบคลุมในรายงานฉบับนี้ DFAT ได้ออกหนังสือเดินทางฉุกเฉินมากกว่า 10,000 เล่ม โดยในจำนวนนั้นมีรายงานว่าสูญหายในต่างประเทศกว่า 2,000 เล่ม และมีรายงานว่าถูกขโมยกว่า 1,500 เล่ม

ประเทศที่มีการรายงานจากชาวออสเตรเลียว่าหนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมยมากที่สุด ได้แก่:
  • สหรัฐอเมริกา: 452
  • อิตาลี: 387
  • สหราชอาณาจักร: 315
  • ฝรั่งเศส: 230
  • สเปน: 203
ในขณะที่หน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการสืบสวนทางคดีอาชญากรรม DFAT จะเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือเหยื่อชาวออสเตรเลียที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรง

นั่นรวมถึงการช่วยให้พวกเขาแจ้งความคดีอาชญากรรมต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและบริการจิตเวช และเชื่อมโยงพวกเขากับบริการแปลภาษาและบริการทางกฎหมาย

ชาวออสเตรเลียที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงในต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 54 เมื่อเทียบกับปีก่อน และเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิจิ กรีซ และเกาหลีใต้
A table showing the number of serious assaults on Australians in Thailand, Indonesia, Fiji, Greece and South Korea.
มีชาวออสเตรเลียจำนวนมากขึ้นที่รายงานว่าถูกทำร้ายร่างกายอย่างรุนแรงในต่างประเทศ
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 5 December 2023 1:56pm
By Finn McHugh
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends