ประชากรออสเตรเลียที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปสามารถรับ นับเป็นความพยายามจัดการคลื่นไวรัสโอมิครอน (Omicron) สายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ ในฤดูหนาวนี้
รัฐบาลกลางได้รับคำแนะนำจากองค์กรที่ปรึกษาเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งออสเตรเลีย (Australian Technical Advisory Group on Immunisation - ATAGI) ว่าผู้ที่มีอายุระหว่าง 50 - 64 ปี ควรรับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 4 หรือที่เรียกว่า “เข็มฤดูหนาว (winter dose)”
การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนี้เริ่มเมื่อเมื่อวันจันทร์ที่ 11 กรกฏาคม และคาดว่าจะมีประชากรออสเตรเลียกว่า 7 ล้านคนที่จะออกมาฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 4 ขณะที่การติดเชื้อโควิด-19 และผู้ป่วยในโรงพยาบาลเริ่มพุ่งสูงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา
มาตรการนี้เป็นการรับมือการระบาดของ ซึ่งเป็นสาเหตุของความกังวลกับระบบสาธารณสุขที่กำลังรับมือหนัก ฤดูหนาวนี้
แต่ ATAGI เตือนว่า แม้จะแนะนำให้ประชาชนออสเตรเลียออกไปฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น เข็มที่ 4 แต่วัคซีนยังคงมีประสิทธิผลในการควบคุมการระบาดไม่มากนัก
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า สิ่งที่แต่ละบุคคลและชุมชนสามารถทำได้ในการควบคุมการระบาดระลอกใหม่นี้ เพื่อลดอาการเจ็บป่วยขั้นรุนแรงและการเสียชีวิตได้ มีดังนี้
การแพร่เชื้อคือปัจจัยหลัก
คุณแนนซี แบ็กซ์เทอร์ (Nancy Baxter) ประธานคณะฝ่ายประชากรและสุขภาพนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (Melbourne School of Population and Global Health at the University of Melbourne) กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือความเข้าใจว่า เมื่อพูดถึงบีเอ.4 (BA.4) และ บีเอ.5 (BA.5) สายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ของโอมิครอน
“การแพร่เชื้อคือเรื่องใหญ่” คุณแบ็กซ์เทอร์กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์ (SBS News)
“สายพันธุ์ย่อยตัวใหม่นี้เป็นตัวร้ายในแง่ของความสามารถเร็ดลอดระบบภูมิคุ้มกันของเราได้ สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายกว่า และติดเชื้อได้ง่าย แม้ว่าคุณจะได้รับวัคซีนหรือติดเชื้อโควิดแล้ว” คุณแบ็กซ์เทอร์กล่าว
ศาสตราจารย์แบ็กซ์เทอร์กล่าวว่า สายพันธุ์บีเอ 4 และบีเอ 5 เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เร็ดลอดระบบภูมิคุ้มกันได้สำเร็จและยังคงเป็นสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อได้ง่าย
“วิธีที่มันออกแบบตัวมันเองเพื่อหลีกเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และความสามารถนี้ทำให้ไวรัสมีความเหนียวมากขึ้น ติดอยู่ได้ทนขึ้น” คุณแบ็กซ์เทอร์กล่าว
เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?
ศาสตราจารย์แบ็กซ์เทอร์กล่าวว่า เหตุผลสามประการที่นำมาสู่การติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่
ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่เริ่มระบาดช่วงต้นฤดูหนาวในออสเตรเลีย มาตรการด้านสาธารณสุขต่างๆ ลดลง และประสิทธิภาพของวัคซีนและภูมิคุ้มกันของประชาชนต่อโควิด-19 ลดลง
“เรากำลังมีสภาพแวดล้อมที่ไวรัสสามารถระบาดได้ และเรามีการปกป้องน้อยลง เรามีไวรัสสายพันธุ์ย่อยที่แพร่เชื้อได้เร็วขึ้น” ศาสตราจารย์แบ็กซ์เทอร์อธิบาย
นอกจากนี้ จำนวนของเข็มกระตุ้น เข็มที่ 3 ลดน้อยลง โดยมีประชากรเพียง 70.6 เปอร์เซ็นต์ที่ฉีดเข็มกระตุ้น ตามรายงานของสาธารณสุข
คุณแคสแซนดรา เบอร์รี (Cassandra Berry) ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา จากมหาวิทยาลัยเมอร์ด็อก (Murdoch University) จากเพิร์ธ บรรยายว่าเป็นสิ่งที่ “ไม่สมเหตุสมผล”
“หากคุณไม่แข็งแรง คุณจะไม่สามารถทำธุรกิจได้ และคุณไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้ หากคุณไม่สามารถรักษาชีวิตได้ ก็ไม่มีชีวิตไหนคุ้มค่า” คุณเบอร์รี่เปรียบ
“เราต้องการบางสิ่งที่มากระตุ้นและต้องตื่นตัวอย่างมากในตอนนี้”
เราจะเพิ่มประสิทธิผลของวัคซีนได้อย่างไร?
ATAGI แจ้งไว้อย่างชัดเจนว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็มที่ 4 จะมีบทบาทที่สำคัญและบทบาทที่จำกัดในการควบคุมการระบาด เรียกร้องให้ประชาชนใช้มาตรการด้านสาธารณสุขที่รัดกุมมากขึ้น ควบคู่กับการฉีดวัคซีนโควิด-19
รวมถึง การกลับมาสวมใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม และการล้างมือและฆ่าเชื้อเป็นประจำ รวมถึงการใช้ยาต้านไวรัสสำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
“การชนข้อศอกทักทายกันนั้นหายไปแล้ว แต่มาตรการต่างๆ ทางสังคมนั้นยังคงสำคัญในการแยกผู้ติดเชื้อออกจากผู้คนที่มีสุขภาพดี” ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าว
นักวิจารณ์บางคนเรียกร้องให้รัฐบาลนำกฎการบังคับสวมใส่หน้ากากอนามัยกลับมา แต่นายมาร์ก บัตเลอร์ (Mark Butler) รัฐมนตรีสาธารณสุขของรัฐบาลกลางกล่าวว่าออสเตรเลียนั้นไม่อยู่ในการบังคับสวมใส่หน้ากากอีกต่อไป
“คำเตือนคือ ‘มีความรับผิดชอบ ตัดสินใจเลือกเอง” นายบัตเลอร์กล่าวกับสำนักข่าวเอบีซี (ABC) เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กรกฏาคม
ขึ้นปีที่ 3 ของการระบาดและเราควรแน่ใจว่าประชาชนรู้สึกว่าพวกเขาสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ด้วยตนเอง
ศาสตราจารย์แบ็กซ์เทอร์กล่าวว่า แทนที่จะบังคับใช้มาตรการบังคับสวมใส่หน้ากากอนามัยอีกครั้ง เธอหวังว่าประชากรออสเตรเลียจะเลือกสวมใส่หน้ากากอนามัยด้วยตนเองก่อน และนักการเมืองควรเป็นตัวอย่างที่ดี
“ฉันหวังว่า ผู้คนจะมองไปรอบๆ และพูดว่า ‘ฉันควรใส่หน้ากากเพื่อปกป้องตัวฉันเองและชุมชนของฉัน’ และเราไม่จำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการ เพราะพวกเขาจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง” ศาสตราจารย์แบ็กซ์เทอร์กล่าว
“หากเราต้องใช้มาตรการบังคับสวมใส่หน้ากาก เพื่อให้นักการเมืองของเราสวมใส่หน้ากาก เราก็จำเป็นต้องมีการใช้มาตรการนั้น”
เราต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นตลอดไปหรือไม่?
ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าวว่าประชาชยนต้องเผชิญความจริงที่ว่าวัคซีนโควิด-19 อาจอยู่กับเราไปตลอดชีวิต
“เกราะป้องกันที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนกระตุ้น และฉันคิดว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นจะอยู่กับเราตลอดไป ตราบใดที่มีโควิด เหมือนกับที่เรามีไข้หวัดใหญ่” ศจ.เบอร์รีกล่าวทั้งศาสตราจารย์แบ็กซ์เทอร์และศาสตราจารย์เบอร์รีชี้ว่า วัคซีนที่ใช้กันทั่วโลกตอนนี้เป็นวัคซีนที่ผลิตเพื่อต้านสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) หนึ่งในสายพันธุ์แรกเริ่มของโควิด-19
วัคซีนโควิด Source: Pexels/Maksim Goncharenok
องค์การบริหารควบคุมสินค้าเพื่อการรักษา (Therapeutic Goods Administration) คาดสามารถควบคุมสายพันธุ์บีเอ.4 และบีเอ.5 ได้อย่างดี และคาดว่าวัคซีนกระตุ้นจะอยู่ต่อไป
“เพื่อให้เรามีจำนวนผู้ที่อาจเสียชีวิตน้อยที่สุด มีผู้ป่วยที่อาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยที่สุด มีผู้ที่อาจมีปัญหาเรื่องสุขภาพเพราะโควิด-19 น้อยที่สุด เราต้องดำเนินการต่อไป ด้วยมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับอีก 2 ปีข้างหน้า” ศจ. แบ็กเทอร์กล่าว
ทำไมผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีถึงรับวัคซีนเข็มที่ 4 ไม่ได้?
ขณะนี้ ATAGI ยังไม่มีคำแนะนำในการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สองสำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี ยกเว้นว่าพวกเขามีโรคประจำตัวที่เสี่ยงที่จะมีอาการหนัก หากติดเชื้อโควิด-19
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าวว่า จะเป็นการดีหากประชาชนที่มีอายุระหว่าง 20 ปี สามารถได้รับการปกป้องจากการติดและแพร่ไวรัส
ตามข้อมูลทางสุขภาพของรัฐบาล เมื่อเดือนกรกฎาคม 2022 ประชากรออสเตรเลียที่มีอายุระหว่าง 20-29 ปี เป็นกลุ่มที่มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวกสูงที่สุด เนื่องจากมีการเดินทางบ่อยและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมากที่สุด
“แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตเหมือนผู้ที่มีอายุมากกว่า ผู้ที่เปราะบางมากกว่า พวกเขายังคงติดเชื้อและสามารถติดเชื้อได้อีกกับสายพันธุ์โอมิครอนตัวใหม่นี้ และแพร่เชื้อให้แก่ชุมชน” ศาสตราจารย์เบอร์รีกล่าว
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่