เหตุผลที่วัคซีนโควิดเข็มที่ 4 อาจจำเป็นรับฤดูหนาว

คาดสายพันธุ์ย่อยใหม่ของเชื้อโอมิครอนอาจกลายเป็นสายพันธุ์ระบาดหลักในออสเตรเลียในไม่ช้า นี่คือเหตุผลที่คุณอาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกันอีกโดส

A woman receives a COVID-19 vaccine at a pop-up vaccination clinic at the National Centre of Indigenous Excellence in Redfern, Sydney, on 4 September 2021

A woman receives a COVID-19 vaccine at a pop-up vaccination clinic at the National Centre of Indigenous Excellence in Redfern, Sydney, on 4 September, 2021. Source: AAP/Dan Himbrechts

งานวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ชี้ว่า วัคซีนต้านโควิด-19 โดสที่ 4  ขณะนั้นดูเหมือนว่าอาจไม่จำเป็นต้องให้ชาวออสเตรเลียทั้งหมดฉีดวัคซีนเข็มที่ 4

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้สถานการณ์กลับเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เช่นเดียวกับความเสี่ยงที่ผันแปรตามไปด้วย

นายแบรด แฮซซาร์ด รัฐมนตรีสาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า พบสายพันธุ์ย่อยของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนที่มีชื่อว่า BA.2 ระบาดเพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย โดยคาดว่าสายพันธุ์ย่อย BA.2 จะระบาดหนักแซงหน้าเชื้อโอมิครอนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และจำนวนผู้ติดเชื้ออาจในอีกหกสัปดาห์ข้างหน้า

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าสายพันธุ์ย่อย BA.2 จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในออสเตรเลียในอีกไม่กี่เดือน

ประมาณการณ์เบื้องต้นชี้ว่า สายพันธุ์ย่อย BA.2 มีอัตราการแพร่เชื้อสูงกว่าโอมิครอน (BA.1) ราวร้อยละ 25-40 และเริ่มระบาดแล้วในบางประเทศ เช่น เดนมาร์ก สวีเดน และสหราชอาณาจักร
กลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งออสเตรเลีย (Australian Technical Advisory Group on Immunisation หรือ ATAGI) ยังไม่มีการออกคำแนะนำให้ประชากรทุกคนฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 แต่กลุ่มผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง (severely immunocompromised)

เมื่อพิจารณาประกอบกับงานวิจัยชิ้นใหม่ที่ให้ข้อมูลว่า เราจึงอาจต้องฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่ 4 เพื่อรับมือกับยอดผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มสูงอีกครั้งเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว

นี่คือเหตุผลที่วัคซีนเข็มที่ 4 อาจเป็นสิ่งจำเป็น

ภูมิคุ้มกันจากบูสเตอร์เสื่อมลงรวดเร็ว

แม้จะชัดเจนว่าวัคซีนเข็มที่ 3 แต่ที่เพิ่งตีพิมพ์เดือนนี้ในวารสารนิวอิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซีน (New England Journal of Medicine) แสดงให้เห็นว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนเข็มที่ 3 เสื่อมลงรวดเร็ว ประสิทธิผลของวัคซีนต่อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนลดลงเหลือประมาณร้อยละ 45 หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 3 ราว 10 สัปดาห์

สาเหตุหลักคือ เชื้อโอมิครอนกลายพันธุ์หลายรูปแบบจนดูแตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เราพัฒนาวัคซีนมารับมือ

เซลล์ภูมิคุ้มกันที่วัคซีนผลิตขึ้นเพียงบางส่วนเท่านั้นที่จัดการโอมิครอนได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้น ภูมิคุ้มกันของเราจึงเสื่อมไว กล่าวคือ เราสร้างแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์ (neutralising antibodies) เพื่อต้านโอมิครอนได้น้อยลง แอนติบอดีชนิดนี้สำคัญต่อการสร้างความคุ้มครองจากการติดเชื้อ

สายพันธุ์ย่อย BA.2 เองก็ไม่ต่างกันเนื่องจากมีการกลายพันธุ์ทั้งที่เหมือนและต่างจากโอมิครอน การศึกษาวิจัย BA.2 อยู่ในช่วงเริ่มต้น เราจึงยังไม่ทราบว่าวัคซีนของเรามีประสิทธิภาพแค่ไหนกับสายพันธุ์ย่อยนี้ แต่เป็นไปได้ว่าประสิทธิผลอาจลดลงเช่นเดียวกับกรณีโอมิครอน BA.1

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเน้นย้ำว่าขณะนี้วัคซีนโควิดสามโดส

ทว่า เมื่อออสเตรเลียเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งปกติเป็นช่วงที่หวัดและไข้หวัดใหญ่ระบาดมากอยู่แล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 มานานเกินสี่เดือนแล้วทำให้ยิ่งเสี่ยงติดเชื้อโควิด การเสริมภูมิคุ้มกันอีกครั้งจึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผล

ตอบยากว่าเราเสี่ยงแค่ไหน

เมื่อปี 2021 หน่วยงานด้านสุขภาพประมาณได้ว่าภูมิคุ้มกันของประชากรต่อโควิด-19 อยู่ในระดับไหน มีข้อมูลจำนวนผู้ฉีดวัคซีนครบสองโดสในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ รู้ว่าวัคซีนต้านเชื้อเดลตาได้ดีแค่ไหน และอัตราการติดเชื้อยังต่ำมาก

แต่ตอนนี้ประชาชนนับล้านติดเชื้อในช่วงเวลาต่างกัน บางคนฉีดเข็มที่ 3 แล้ว บางคนยังไม่ได้ฉีด หลายคนอาจเคยติดโควิดแล้วโดยไม่รู้ตัว

การประเมินระดับภูมิคุ้มกันของประชากรจึงเป็นเรื่องยากมาก เช่นเดียวกับประมาณการณ์ว่าออสเตรเลียเสี่ยงแค่ไหนต่อ BA.2 และสายพันธุ์อื่นในอนาคต

ท่ามกลางสภาวะอันไม่แน่นอนนี้ หากให้ชาวออสเตรเลียรับวัคซีนเข็มที่ 4 ย่อมช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ พร้อมทั้งช่วยออสเตรเลียอยู่รอดผ่านพ้นการระบาดของเชื้อ BA.2 ในช่วงฤดูหนาวที่คาดว่าไวรัสหวัดและไข้หวัดใหญ่อื่น ๆ จะกลับมาอีกครั้ง
Omecron
Sub variant, of the Omicron Source: The Guardian

อาจสายเกินรอวัคซีนเฉพาะต้านโอมิครอน

มีหลักฐานสนับสนุนว่า เชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจากวัคซีนโควิดในปัจจุบันได้ดี เนื่องจากเชื้อโอมิครอนกลายพันธุ์หลายรูปแบบจนดูแตกต่างจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เราพัฒนาวัคซีนขึ้นมา

โดยทฤษฎีแล้ว วัคซีนจำเพาะเจาะจงโอมิครอนควรให้ความคุ้มครองได้ดีขึ้น แต่คำถามคือ เทียบกับเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนที่มีในปัจจุบัน วัคซีนเฉพาะโอมิครอนคุ้มครองได้ดีกว่ามากไหม

ไม่มากนัก อีกทั้งกว่าวัคซีนเฉพาะโอมิครอนจะพัฒนาเสร็จพร้อมลงตลาด สายพันธุ์ย่อย BA.2 คงกลายเป็นสายพันธุ์ระบาดหลักแล้ว

แล้วเราจะรับมือไวรัสที่มีความสามารถในการกลายพันธุ์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้อย่างไร อาจเป็นวัคซีนโควิดที่ครอบคลุมใช้ได้กับทุกสายพันธุ์

วัคซีนเหล่านี้มุ่งเป้าองค์ประกอบของไวรัสที่จำเป็นต่อการติดเชื้อแต่ไม่เปลี่ยนแปลงง่าย (นักวิทยาศาสตร์เรียกองค์ประกอบนี้ว่า “conserved”) เท่ากับว่าวัคซีนนี้น่าจะใช้ได้กับหลากหลายสายพันธุ์ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างพัฒนา

เป็นไปได้ว่าเราอาจได้เห็นรุ่นต้นแบบของวัคซีนเช่นนี้ในอีกสองสามปีข้างหน้า

หนทางต่อจากนี้

ทุกวันนี้ การจัดการโควิด-19 ทวีความซับซ้อนมากขึ้น สถานการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้าแทบพยากรณ์ไม่ได้ สายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นต่อเนื่องจนประเมินยากว่าเรามีภูมิคุ้มกันโรคนี้ขนาดไหนแล้ว

การติดตามตรวจจับและศึกษาลักษณะของไวรัสสายพันธุ์ใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น เราต้องเข้าใจว่าเชื้อนั้นแพร่กระจายง่ายแค่ไหน มีอาการรุนแรงเพียงใด แล้วปรับยุทธศาสตร์วัคซีนของเราให้สอดคล้องที่สุด เช่นเดียวกับที่เรารับมือไข้หวัดใหญ่อยู่ทุกป

อาจใช้เวลาอีกหลายปี แต่เมื่อเวลาผ่านไปและภูมิคุ้มกันของเราเข้มแข็งขึ้น หวังว่าโควิด-19 จะสงบลงกลายเป็นโรคที่รุนแรงน้อยลง พยากรณ์ได้มากขึ้น เสถียรขึ้นกว่านี้ และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยวัคซีนและวิธีรักษาใหม่ ๆ ที่ครอบคลุมใช้ได้ทุกสายพันธุ์

เกี่ยวกับผู้เขียน

รศ.ดร.นาธาน บาร์ตเล็ตต์ (Nathan Bartlett) จากคณะชีวเวชศาสตร์และเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล (University of Newcastle's School of Biomedical Sciences and Pharmacy) ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาและรับทุนจากบริษัท ENA Respiratory

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด

หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 17 March 2022 12:55pm
Presented by Phantida Sakulratanacharoen
Source: The Conversation

Share this with family and friends