รายงานฉบับใหม่โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยหลายล้านคนทั่วโลกกำลังประสบกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ย่ำแย่กว่าผู้ทั่วไปในชุมชนที่พวกเขาย้ายเข้าไปอยู่ใหม่
ในออสเตรเลีย นอกเหนือจากพลเมืองออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ผู้อยู่อาศัยถาวรและผู้ยื่นสมัครเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร ผู้ถือวีซ่าอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง และผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยบางกลุ่ม มีสิทธิ์ได้รับสิทธิประโยชน์จากเมดิแคร์ (Medicare)
แม้ว่านักศึกษาต่างชาติจะไม่มีสิทธิ์มีบัตรเมดิแคร์ แต่พวกเขาได้รับการคุ้มครองจากประกันสุขภาพสำหรับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งมีให้เลือกซื้อได้จากบริษัทประกันสุขภาพบางแห่ง โดยซึ่งค่าเบี้ยประกันต่ำสุดคือ 478 ดอลลาร์ สำหรับระยะเวลา 12 เดือน สำหรับคนโสด
แต่จากความเห็นของหนึ่งในกระบอกเสียงของชุมชนหลากหลายวัฒนธรรม อย่างคุณ ริตา ปราซาด-อิลเดส จาก World Wellness Group ในรัฐควีนส์แลนด์ เธอกล่าวว่า แม้แต่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่สามารถเข้าถึงเมดิแคร์ได้ก็ต้องเผชิญกับ “ปัญหาที่สำคัญต่างๆ”
“มีปัญหาและความท้าทายที่สำคัญสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล” คุณปราซาด-อิลเดส ผู้มีเชื้อสายดัตช์และฟิจิ-อินเดียน กล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์
เรื่องการเงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาเท่านั้น โดยการไปปรึกษาแพทย์ทั่วไป (GP) อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายร้อยดอลลาร์สำหรับผู้ที่ไม่มีเมดิแคร์
คุณเด็บ สตริงเกอร์ ประธานกรรมการบริหาร ของสมาคมผู้ลี้ภัยแห่งอออสเตรเลีย (Australian Refugee Association) กล่าวว่าอุปสรรคทางภาษาเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด
“ระบบ (การดูแลสุขภาพ) ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นสำหรับผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษมาทั้งชีวิต” คุณสตริงเกอร์บอกกับเอสบีเอส นิวส์
ระบบ (การดูแลสุขภาพ) ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นสำหรับผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษมาทั้งชีวิต
“ฉันไม่คิดว่าได้มีการคำนึงถึงอย่างเพียงพอเกี่ยวกับการบริการทุกคนในออสเตรเลีย ที่ขณะนี้เป็นผู้พำนักอาศัยในออสเตรเลีย ซึ่งภาษาแม่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษและเป็นผู้ที่ไม่ได้เติบโตขึ้นมาในระบบสุขภาพของสังคมตะวันตก”
“ภาคส่วนการดูแลสุขภาพสามารถทำอะไรได้อีกมากเพื่อทำให้โครงการต่างๆ นั้นครอบคลุมผู้คนมากขึ้น”
ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สูงกว่า 3 เท่าในหมู่ชาวออสเตรเลียที่เกิดในต่างประเทศ
คุณ ปราซาด-อิลเดส กล่าวว่าอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ในออสเตรเลียชี้ให้เห็นว่าผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยด้อยโอกาสกว่าอย่างมากในเรื่องการรักษาพยาบาล
เธออ้างถึงข้อมูลของสำนักสถิติแห่งออสเตรเลียที่เผยแพร่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวออสเตรเลียที่เกิดในต่างประเทศเสียชีวิตจากโควิด-19 ในอัตรา 3 เท่าของผู้ที่เกิดในออสเตรเลีย
“สำหรับในบางชุมชน เช่น ชุมชนชาวตะวันออกกลาง (อัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19) สูงกว่า 10 เท่า” คุณปราซาด-อิลเดส กล่าวคุณ สตริงเกอร์ กล่าวว่า การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 แก่ประชาชนเป็น “ตัวอย่างที่ดีทีเดียวที่สารด้านสุขภาพไม่ได้เข้าถึงชุมชนเหล่านี้ได้อย่างดี”
คุณ ริตา ปราซาด-อิลเดส จาก World Wellness Group ในรัฐควีนส์แลนด์ Source: SBS News
“อย่างแรกเลย ในช่วงแรกๆ การแปลบางส่วนนั้นไม่ถูกต้อง” คุณ สตริงเกอร์ กล่าว
"(จากนั้น) มีความคาดหวังว่าผู้คนสามารถหาเส้นทางในระบบออนไลน์ที่ซับซ้อนเพื่อจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งไม่สามารถเป็นไปได้สำหรับบางชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ แทบไม่ต้องพูดถึงเรื่องความรู้ด้านดิจิทัล"
คุณ สตริงเกอร์ กล่าวว่าข้อมูลมหาศาลถูกทุ่มลงไปในชุมชน แต่มี "ความเข้าใจน้อยมากว่าแต่ละชุมชนเข้าถึงข้อมูลอย่างไร"
รายงานขององค์การอนามัยโลกพูดว่าอะไร?
ผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัย “ไม่ได้มีสุขภาพที่แย่กว่าอันเนื่องมาจากพันธุกรรม” รายงานเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นฐานในระดับโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าว
แต่ปัจจัยต่างๆ เช่น การศึกษา รายได้ ที่อยู่อาศัย และการเข้าถึงบริการต่างๆ ส่งผลให้ผู้คนของชุมชนเหล่านี้มีสุขภาพที่แย่กว่า
รายงานระบุว่าสถานการณ์นี้นั้นรุนแรงขึ้นไปอีก จากอุปสรรคด้านภาษา วัฒนธรรม และกฎหมาย
กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
คุณ ปราซาด-อิลเดส กล่าวว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการบางอย่างเพื่อแก้ไขปัญหานี้
World Wellness Group ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหพันธรัฐ และมีฐานการดำเนินการในบริสเบน ได้เปิดตัวโทรศัพท์สายด่วนด้านสุขภาพที่มุ่งเน้นชุมชนหลากวัฒนธรรมโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า
“นี่เป็นโครงการนำร่องระดับชาติ ที่ขณะนี้เปิดตัวให้ใช้บริการแล้วในรัฐวิกตอเรีย และจะทยอยเปิดให้บริการทั่วออสเตรเลีย” คุณ ปราซาด-อิลเดส กล่าว
"นี่เป็นสายข้อมูลด้านสุขภาพสำหรับชุมชนพหุวัฒนธรรมในออสเตรเลียโดยเฉพาะ ที่ให้ข้อมูลด้านสุขภาพและคำแนะนำเป็นภาษาต่างๆ"
ในแถลงการณ์ถึงเอสบีเอส นิวส์ โฆษกของกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติ ถูกระบุว่าเป็นประชากรกลุ่มที่จะได้รับความสำคัญอันดับแรกในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติระดับชาติ ซึ่งได้ตระหนักถึงความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพที่กลุ่มคนเหล่านี้ประสบ
“ขณะนี้กระทรวงกำลังทำงานร่วมกับ Healthdirect เพื่อจัดโครงการนำร่องโทรศัพท์สายด่วนสำหรับชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม โดยจัดให้เป็นพิเศษแก่ผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม คาดว่าสายด่วนนี้จะปรับปรุงการหาข้อมูลในระบบสุขภาพและการเข้าถึงคำแนะนำด้านสุขภาพสำหรับปัญหาที่พบมากในชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม”
บริการ ที่ให้ข้อมูลและคำแนะนำด้านสุขภาพเป็นภาษาต่างๆ 160 ภาษา ในเบื้องต้นนั้นมีให้บริการแล้วสำหรับประชาชนในรัฐวิกตอเรีย ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1800 186 815 โดยให้บริการระหว่างเวลา 11:30-20:00 น. ทุกวัน
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
กังวลหลายคนไม่ใช้ล่ามเมื่อไปพบแพทย์
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
แพทย์ต่างกล่าวว่ารัฐบาลต้องทำมากกว่านี้เพื่อรับมือเชื้อโควิดกลายพันธุ์