บริการเทเลเฮลท์จะช่วยผู้อพยพได้ดีขึ้นอย่างไร

Doctor holding cellphone

แพทย์ถือมือถือเพื่อให้คำปรึกษาผ่านบริการออนไลน์ Source: Unsplash/Daniel Sone

วิกฤตโควิดส่งผลให้การนัดพบแพทย์แบบออนไลน์เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และหนึ่งในสามของการให้คำปรึกษาเป็นการนัดผ่านเทเลเฮลท์ (Telehealth) ความต้องการล่ามทางออนไลน์ก็เพิ่มสูงขึ้นในหมู่คนไข้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก สมอลล์ บิสสิเนส ซีเคร็ตส์ (Small Business Secrets) พบว่าผู้อพยพบางรายอาจไม่ได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่สำคัญ


กดเพื่อฟังสัมภาษณ์
การระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนส่งผลให้ชาวออสเตรเลียหันมาใช้บริการทางแพทย์แบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในสามของการให้คำปรึกษาทางการแพทย์นั้นผ่านบริการเทเลเฮลท์ (Telehealth)

คุณซาฟา ฮาคิม (Safaa Hakim) ผู้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์เป็นภาษาอาราบิกกล่าวว่า เธอสามารถให้คำปรึกษาได้ดีขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากลูกค้าของเธอบางรายประสบปัญหาเมื่อต้องเข้าพบแพทย์ที่ต้องใช้ล่าม

“พวกเขาจะมาพบฉัน หลังจากได้พบแพทย์หรือที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตที่พูดภาษาอังกฤษแล้ว พวกเขาจะยังมาหาฉันและบอกว่า พวกเขาไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในห้องพบแพทย์นั้น ไม่เข้าใจ พวกเขาไม่รู้ว่าอะไรที่ถูกแปลในระหว่างที่พบแพทย์ แล้วพวกเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าแพทย์ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่?”
เมื่อแพทย์หญิงซิลเวีย ไฟเฟอร์ (Dr Sylvia Pfeiffer) ย้ายจากเยอรมันมาอยู่ที่ออสเตรเลีย เธอรู้สึกถึงความจำเป็นที่จะต้องเสาะหาแพทย์ที่สามารถพูดภาษาเยอรมันได้ ถึงแม้ว่าเธอจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องก็ตาม

“ชุมชนผู้อพยพมีความเสี่ยงในการพยายามพบแพทย์ที่ไม่พูดภาษาเดียวกับพวกเขา พวกเขาไม่สามารถบรรยายปัญหาที่พวกเขากำลังประสบ แพทย์ไม่สามารถเข้าใจได้จริงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา พวกเขาอาจไม่ได้รับการดูแลที่ดี อาจไปอยู่แผนกที่ไม่ถูกต้องในโรงพยาบาล อาจไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผลเสียทั้งหลายแหล่อาจเกิดขึ้นหากผู้อพยพไม่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาได้”
Stethoscope and Laptop
หูฟังของแพทย์และแลปทอป Source: Unsplash/Daniel Sone
แพทย์หญิงไฟเฟอร์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์มโควิว (Coviu) ของเทเลเฮลท์ ซึ่งให้คำปรึกษาออนไลน์กว่าหกล้านครั้ง ตั้งแต่เริ่มมีการระบาด เธอกล่าวว่าขณะนี้แพลตฟอร์มให้คำปรึกษาทางการแพทย์ถึง 20,000 ครั้งต่อวัน และให้บริการล่ามมากถึง 300 ภาษา
โควิวเป็นบริการวิดิโอผ่านแพลตฟอร์มเทเลเฮลท์ ที่คนไข้และแพทย์สามารถนัดหมายและอีซี สปีก (Easy Speak) จะจัดหาล่าม เราได้สร้างบริการเชื่อมโยงทางเทคนิกเพื่อให้แพทย์สามารถคลิกปุ่มโทรวิดิโอและล่ามที่พูดภาษาเดียวกันกับคนไข้จะรับสาย และเป็นบุคคลที่สามในการนัดหมายนั้น
แม้ว่าทางเลือกนี้จะสามารถช่วยรับมือกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงของการระบาด แต่ก็มีความกลัวว่าผู้อพยพบางรายยังไม่สามารถเข้าถึงบริการนี้ได้

แพทย์หญิงเมอราดีเอ เซลวี (Muradiye Selvi) ที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตในเมลเบิร์นกล่าวว่า ผู้อพยพที่สูงวัยบางรายประสบปัญหาในเรื่องการใช้เทคโนโลยี

“มีความคาดหวังว่า หากใครมีมือถือแบบสมาร์ทโฟน (Smartphone) พวกเขาจะรู้วิธีใช้ ไม่ว่าจะเป็นแอป (App) หรือฟีเชอร์ (Feature) บางอย่าง ดังนั้นมันเป็นการเหมารวมว่ามีข้อมูลเหล่านี้อยู่ มีแอปที่ดีๆ อยู่ แต่หลายๆ คนที่มีสมาร์ทโฟนไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ พวกเขาไม่ทราบถึงวิธีเข้าแอปว่าทำได้อย่างไร”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share