ทางการออสเตรเลียกำลังเรียกร้องให้ประชาชนปฏิบัติตามคำนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเพื่อทำให้ชุมชนปลอดภัย ขณะที่ออสเตรเลียกำลังต่อสู้กับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
นายมาร์ค บัตเลอร์ รัฐมนตรีสาธารณสุขออสเตรเลีย กล่าวว่า มีผู้ติดเชื้อราว 300,000 รายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ก็ได้เตือนว่า โดยคาดว่าจุดสูงสุดของการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้
แล้วเราจะต้องทำอย่างไร
ตั้งแต่การสวมใส่หน้ากากอนามัย การทำงานจากที่บ้าน ไปจนถึงเรื่องการฉีดวัคซีน และยาต้านไวรัส นี่คือคำแนะนำด้านสุขภาพล่าสุดที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำอย่างยิ่งเพื่อลดอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในทั่วประเทศ
หน้ากากอนามัย
จากแถลงการณ์ของ ศาสตราจารย์ พอล เคลลี (Prof Paul Kelly) ประธานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออสเตรเลีย เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (19 มิ.ย.) ได้มีการระบุถึงคำแนะนำอย่างชัดเจนในส่วนของหน้ากากอนามัยว่า ให้สวมใส่ “ในที่มีผู้คนพลุกพล่าน ในสภาพแวดล้อมซึ่งอยู่ภายในอาคารสถานที่ ซึ่งรวมถึงระบบขนส่งสาธารณะ”
อย่างไรก็ตาม นายแอนโทนี อัลบานิซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ได้ย้ำถึงจุดยืนในความเห็นต่างต่อมาตรการบังคับสวมใส่หน้ากากอนามัย โดยอ้างว่าเป็นสิ่งที่เปล่าประโยชน์หากไม่มีการบังคับสวมใส่อย่างมีประสิทธิภาพ
“ความเป็นจริงก็คือ หากคุณมีมาตรการบังคับ คุณก็จะต้องบังคับใช้มัน” นายอัลบานิซี กล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันนี้ (20 ก.ค.)
นายกรัฐมนตรีกล่าวอีกว่า เขามีความเชื่อมั่นอย่างเพียงพอว่าชาวออสเตรเลียจะปฏิบัติตนอย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่ต้องได้รับการบอกกล่าวว่าพวกเขาจะต้องสวมหน้ากากอนามัยจากผู้นำของตนเอง
“เราต้องการที่จะจูงใจให้เกิดพฤติกรรมนั้น ผู้คนมีความรับผิดชอบอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ ทุกคนได้ทำมันอย่างหนักแน่น ผู้คนดูแลซึ่งกันและกัน และผมมั่นใจว่าพวกเจาจะยังคงทำเช่นนั้นต่อไป” นายอัลบานิซี กล่าว
อย่างไรก็ตาม มีการรณรงค์ด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่กลายเป็นไวรัลในสื่อสังคมออนไลน์อีกด้วย เช่น ที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ พญ.เคอร์รี ชานท์ ประธานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้รวมตัวกับเพื่อร่วมงานเพื่อผลิตวิดีโอรณรงค์สวมใส่หน้ากากอนามัยลงในแพลตฟอร์มออนไลน์ติ๊กต็อก (TikTok)
พิจารณาการทำงานจากที่บ้าน
ศาสตราจารย์เคลลี ประธานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขออสเตรเลีย กล่าวว่า นายจ้างควรพิจารณาโครงสร้างด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานอีกครั้ง เมื่อทำการตัดสินใจว่าสิ่งใดจะเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างมากที่สุด ซึ่งรวมถึงการให้พวกเขาทำงานจากที่บ้านเมื่อทำได้
“นายจ้างควรที่จะพิจารณาถึงความเป็นไปได้สำหรับลูกจ้างบางคนในการทำงานจากที่บ้าน การสวมใส่หน้ากากอนามัยในสถานที่ทำงาน และการสนับสนุนลูกจ้างให้ลาป่วยเมื่อไม่สบาย” ศาสตราจารย์เคลลี ระบุในแถลงการณ์
ขณะที่นายบัตเลอร์ รัฐมนตรีสาธารณสุขของออสเตรเลีย ระบุว่าเป็น “หลักปฏิบัติที่ดี” สำหรับนายจ้างทุกคนที่จะจูงใจให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน แต่ก็ต้องได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี
“สิ่งนี้ไม่ควรเป็นการตัดสินใจของนายจ้างเพียงฝ่ายเดียว นายจ้างควรมีปฏิสัมพันธ์กับลูกจ้าง นั่นเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการทำงาน สุขภาพ และความปลอดภัย เมื่อรวมกันแล้วเราก็จะพบมุมมองที่ว่า จะจัดให้มีการทำงานที่บ้านในลักษณะชั่วคราวได้ในระดับใด” นายบัตเลอร์ กล่าว
ด้าน นายอัลบานิซี นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ด้วย “การใช้จิตสำนึกเพียงเล็กน้อย” ก็จะทำให้สถานที่ทำงานทั่วประเทศจะหาจุดสมดุลในเรื่องนี้ได้
วัคซีน...จะต้องฉีดกี่เข็ม?
สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ไปรับการฉีดวัคซีนไวรัสโควิด-19 โดสที่ 3 ทางการออสเตรเลียเตือนว่าการได้รับวัคซีนเพียง 2 โดสแรกไม่เพียงพอที่จะปกป้องพวกเขาจากไวรัสโควิด-19
มีชาวออสเตรเลียมากกว่าครึ่งล้านคนได้รับการฉีด แต่ทว่าอัตราการฉีดวัคซีนบูสเตอร์เข็มแรก (โดสที่ 3) ทั่วประเทศนั้นยังไม่มากพอ มีประชาชนเพียงร้อยละ 70.9 จากทั้งหมดที่ได้รับการฉีดวัคซีนโดสที่ 3
“อัตราการรับวัคซีนโดสที่ 3 ยังเพิ่มขึ้นไม่เร็วพอ” นายบัตเลอร์ รัฐมนตรีสาธารณาสุขออสเตรเลีย กล่าวกับผู้สื่อข่าวในกรุงแคนเบอร์รา เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (19 ก.ค.)
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เด็ก 6 เดือนถึง 6 ขวบในออสเตรเลียใกล้จะมีสิทธิ์ฉีดวัคซีนโควิดแล้ว
“ยังคงมีชาวออสเตรเลียมากกว่า 5 ล้านคนซึ่งมีระยะห่างอย่างน้อย 6 เดือนนับตั้งแต่ได้รับวัคซีนโควิด-19 โดสที่ 2 ที่ยังไม่ได้ไปรับวัคซีนโดสที่ 3”
ขณะนี้ ชาวออสเตรเลียทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนโควิด-19 โดสที่ 4 ซึ่งวัคซีนดังกล่าวได้รับการแนะนำอย่างยิ่งหากคุณมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
สำหรับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง นี่จะเป็นวัคซีนโควิด-19 โดสที่ 5
ยาต้านไวรัส…ใครไปขอรับได้บ้าง
ซึ่งรวมถึงประชาชนในกลุ่มต่อไปนี้
- ผู้ที่มีอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไปและมีปัจจัยเสี่ยง 2 อย่าง
- ผู้ที่มีอายุเกิน 30 ปีขึ้นไปที่ระบุว่าเป็นชาวอะบอริจิน หรือชาวเกาะทอร์เรส สเตรท
- ผู้ที่มีอายุเกิน 18 ปีขึ้นไปซึ่งมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงระดับรุนแรง
โดยปัจจัยเสี่ยงนั้น หมายถึงภาวะด้านสุขภาพต่าง ๆ เช่น ผู้ที่มีความพิการ ภาวะเบาหวาน ปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ มะเร็งในระบบเลือด และอื่น ๆ
ทั้งนี้ ควรพูดคุยกับแพทย์ประจำตัวเกี่ยวกับยาต้านไวรัสหลังจากได้รับผลการตรวจหาโควิด-19 เป็นบวก โดยยาดังกล่าวสามารถซื้อได้ที่ร้านขายยาด้วยใบสั่งยาจากแพทย์
คุณสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาต้านไวรัส และผู้ที่มีสิทธิได้รับยาดังกล่าวได้ที่
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
เด็ก 6 เดือนถึง 6 ขวบในออสเตรเลียใกล้จะมีสิทธิ์ฉีดวัคซีนโควิดแล้ว