วุฒิสมาชิก เมห์รีน ฟารุคี (Mehreen Faruqi) สละสัญชาติปากีสถานเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในรัฐสภา และเธอกล่าวว่า นี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรมีใครต้องเผชิญ
“ฉันกรอกแบบฟอร์ม เซ็นชื่อ และเก็บมันใส่ไว้ในลิ้นชัก มันยากจริงๆ สำหรับฉันที่จะยื่นแบบฟอร์ม” เธอเล่าใน
รองหัวหน้ากรีนส์ (Greens) เดินทางมายังออสเตรเลียจากปากีสถานในปี 1992 พร้อมสามีและลูกชายของเธอ
เมห์รีน ฟารุคี กับ ออสแมน ลูกชายของเธอในปี 1992 หลังย้ายมายังซิดนีย์ Source: Supplied
วุฒิสมาชิกฟารุคีกล่าวว่า กระบวนการสละสัญชาติสัญชาติที่สองของเธอนั้นยากกว่าที่เธอคิด และเกือบจะทำให้เธอเปลี่ยนใจ
“ขณะที่ฉันกำลังกรอกแบบฟอร์มนั้น ต้องเขียนประวัติครอบครัวของฉัน ต้องพูดถึงพ่อแม่และปู่ย่าตายายของเรา” วุฒิสมาชิกฟารุคี กล่าว
“ฉันแค่รู้สึกราวกับว่าฉันถูกบังคับให้สละสิทธิ์โดยกำเนิด ให้ละทิ้งประวัติศาสตร์ของฉันและวัฒนธรรมของฉัน”
มาตรา 44 'การจำกัด' ความหลากหลาย
ขณะนี้รัฐสภาของออสเตรเลียมีความหลากหลายมากที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา แต่ก็ยังมีผู้แทนในรัฐสภาที่ไม่ใช่คนผิวขาวและชาวยุโรปอย่างไม่สมสัดส่วนของประชากร
นักวิจารณ์อย่างวุฒิสมาชิกฟารุคี เชื่อว่ากฎเกณฑ์นี้นั้นกำลังหยุดยั้งไม่ให้ผู้คนจากภูมิหลังที่หลากหลายเดินทางเข้าสู่แวดวงการเมือง
LISTEN TO
SBS Our House: Mehreen Faruqi
SBS News
31/07/202216:20
“ไม่มีเหตุผลอย่างยิ่งที่จะมีกฎหมายข้อนี้ในรัฐธรรมนูญของเรา มาตรา 44 ต้องถูกยกเลิกไป” วุฒิสมาชิกฟารุคี กล่าว
“จริงๆ แล้วมันจำกัดผู้คนไม่ให้มีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย”
ศาสตราจารย์จอร์จ วิลเลียมส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW) กล่าวว่า กฎหมายนี้ขัดแย้งกับสังคมออสเตรเลียยุคใหม่
“บางทีเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วเรากังวลว่าความลับในการป้องกันประเทศของเราจะถูกขายให้กับประเทศอื่นเพราะคุณเป็นพลเมืองของมหาอำนาจในต่างประเทศ”
“ทุกวันนี้คงไม่มีใครมองว่าเป็นข้อกังวลที่เป็นไปได้”
เมห์รีน ฟารุคี ขณะทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนปริญญาเกดที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ในช่วงปีทศวรรษ 1990 Source: Supplied
'สำคัญที่จะต้องแสดงความจงรักภักดีของเรา'
วุฒิสมาชิก ฟาติมา เพย์แมน (Fatima Payman) วุฒิสมาชิกคนใหม่ในเวสเทิร์นออสเตรเลียของพรรคแรงงาน ต้องสละสัญชาติอัฟกานิสถานของเธอก่อนที่จะสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในรัฐสภาได้
“มันทำให้ฉันเสียใจอย่างมาก แม้ว่าฉันจะมายังออสเตรเลียเมื่ออายุแปดขวบ” วุฒิสมาชิก ฟาติมา เพย์แมน กล่าว
“มันเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ของฉันที่ฉันชอบ – ฉันต้องละทิ้งแง่มุมทางวัฒนธรรมที่ฉันระบุว่ามาจากวัฒนธรรมนั้น”
แต่เธอเชื่อว่ากฎเกณฑ์นี้ควรคงอยู่เช่นเดิม
“ฉันรู้สึกว่ามันสำคัญมากที่จะแสดงความจงรักภักดีต่อประเทศที่คุณเป็นตัวแทน”
LISTEN TO
SBS Our House: Fatima Payman
SBS News
07/08/202216:11
วุฒิสมาชิกเพย์แมนหลบหนีออกจากอัฟกานิสถานมาพร้อมกับครอบครัวของเธอ และเดินทางถึงออสเตรเลียในฐานะผู้ลี้ภัย โดยไม่กี่ปีก่อนหน้านั้นพ่อของเธอเดินทางมาออสเตรเลียโดยทางเรือเพื่อขอลี้ภัย
เธอเป็นสมาชิกรัฐสภาคนแรกที่สวมฮิญาบในห้องประชุมรัฐสภา และเป็นหนึ่งในผู้แทนที่อายุน้อยที่สุด
เธอกล่าวว่า การสละสัญชาติภายใต้ระบอบตาลีบัน (Taliban) ยังสร้างความท้าทายที่ไม่เหมือนใคร
“ตอนที่ฉันพยายามจะสละสัญชาติ มันเป็นกระบวนการที่ยืดยาวยุ่งยาก [เพราะ] จริงๆ แล้วไม่มีหน่วยงานทางการในอัฟกานิสถานที่จะดำเนินการกับใบสมัคร”
วุฒิสมาชิก ฟาติมา เพย์แมน (เสื้อดำคนขวา) กับพ่อแม่และพี่น้อง Source: Facebook / Fatima Payman
“ฉันเรียกออสเตรเลียว่าเป็นบ้าน และไม่มีทางที่ฉันจะกลับไป (ที่อัฟกานิสถาน) แต่มันก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระเบียบปฏิบัติ และฉันก็เคารพในเรื่องนี้”
วุฒิสมาชิกพรรคแรงงานฟาติมา เพย์แมนในห้องประชุมวุฒิสภาระหว่างการเปิดประชุมรัฐสภาสหพันธรัฐครั้งที่ 47 ที่อาคารรัฐสภาในกรุงแคนเบอร์รา เมื่อวันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 2022 Source: AAP / MICK TSIKAS
ประวัติมาตรา 44
มาตรา 44 เป็นกฎกว้างๆ ในรัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
มาตรานี้ระบุถึงบุคคลที่ถูกศาลตัดสินจำคุกมากกว่าหนึ่งปี ชาวออสเตรเลียที่ล้มละลาย และพลเมืองที่ถือสองสัญชาติ
เรื่องนี้ได้รับความสนใจในปี 2017 หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคน รวมทั้ง นางแคที แกลแลเกอร์ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและนายบาร์นาบี จอยซ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถูกไล่ออกจากรัฐสภาเนื่องจากถือสองสัญชาติ
กฎหมายเกี่ยวกับการมีสิทธิ์เข้าร่วมในรัฐสภาแตกต่างกันไปทั่วโลก
ศาสตราจารย์วิลเลียมส์กล่าวว่ากฎหมายของออสเตรเลียเข้มงวดกว่ากฎหมายเรื่องนี้ในประเทศอื่นๆ
“เป็นเรื่องปกติที่จะกล่าวว่าคุณควรเป็นพลเมืองของประเทศ แต่โดยทั่วไป [ประเทศอื่นๆ] จะไม่ไล่คุณออกไปหากคุณมีสองสัญชาติ”
ในสหราชอาณาจักร คุณไม่จำเป็นต้องเป็นพลเมืองด้วยซ้ำถึงจะลงสมัครเพื่อเป็นตัวแทนในรัฐสภาได้
“คุณเป็นพลเมืองอังกฤษก็ได้ หรือแม้แต่คุณอาจเป็นพลเมืองเครือจักรภพก็ได้ และมันมีความเปิดกว้างมากกว่า” ศาสตราจารย์วิลเลียมส์กล่าว
การจะเปลี่ยนแปลงมาตรา 44 นั้น ก็เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญคือ จะต้องมีการลงประชามติ
รัฐบาลอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบคำถามในการการลงประชามติเพื่อนำเสนอต่อชาวออสเตรเลีย ให้มีการจัดตั้งกลุ่มชาวพื้นเมืองที่เป็นที่ปรึกษาต่อรัฐสภาที่เรียกว่า Indigenous Voice to Parliament โดยระบุไว้อย่างถาวรในรัฐธรรมนูญ
นับตั้งแต่รัฐและมณฑลต่างๆ ในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐในปี 1901 มีการลงประชามติเพียง 8 ครั้งจากทั้งหมด 44 ครั้งที่ได้รับการลงมติอนุมัติ
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 44 ‘อุปสรรคใหญ่’ ปิดกั้นผู้อพยพจากสนามการเมืองออสฯ
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
‘ขนลุก’: นักเรียนจีนไม่รู้ว่าห้องเช่าที่ไปดูเป็นห้องที่สองสาวซาอุฯ ตาย