มาตรา 44 ‘อุปสรรคใหญ่’ ปิดกั้นผู้อพยพจากสนามการเมืองออสฯ

2 ชาวออสเตรเลียในแวดวงการเมืองจากเขตเลือกตั้งที่มีความหลายหลายมากที่สุดในประเทศ 'พารามัตตา' เผยรัฐสภาออสเตรเลียยังไม่สะท้อนความหลากหลาย-พหุวัฒนธรรมของชุมชน

Abha Devasia discusses lack of representation of diversity in federal politics

Abha Devasia says there is a lack of diversity in federal politics Source: Abha Devasia

ประเด็นสำคัญ

  • รัฐธรรมนูญออสเตรเลียอาจเป็นอุปสรรคของผู้ถือสองสัญชาติที่จะเข้าสู่เส้นทางการเมืองสหพันธรัฐ
  • ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองระบุว่า สมาชิกสภาสหพันธรัฐในปัจจุบันไม่สะท้อนถึงความหลากหลายมากพอ
  • อบา เดวาเซีย สมาชิกพรรคแรงงานออสฯ ระบุว่า ปัญหาเรื่องที่พักอาศัย การดูแลเด็กเล็ก และค่าครองชีพ คือประเด็นสำคัญในเมืองพารามัตตา

อบา เดวาเซีย (Abha Devasia) ชาวออสเตรเลียเชื้อสายอินเดีย-มาลายาลัม ซึ่งเกิดที่ประเทศเอธิโอเปีย กล่าวว่า ขณะที่สมาชิกในสภาสหพันธรัฐกว่าร้อยละ 95 มาจากภูมิหลังแองโกล-เซลติก (Anglo-Celtic) ร้อยละ 20 ของประชากรในวงกว้างกลับเป็นผู้ที่ไม่ระบุตนว่ามีภูมิหลังเหล่านี้

นางเดวาเซีย กล่าวว่า อุปสรรค์ใหญ่สำหรับผู้ที่มาจากภูมิหลังหลากวัฒนธรรมในการเข้าสู่เส้นทางการเมืองของสภาสหพันธรัฐ คือ มาตรการ 44 ในรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ซึ่งกำหนดว่าพลเมืองที่มีสิทธิ์หรือถือสัญชาติในประเทศอื่นไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองในออสเตรเลียได้

มาตรา 44 ได้รับความสนใจในวิกฤตคุณสมบัติสมาชิกรัฐสภาออสเตรเลีย (Australian parliamentary eligibility crisis) ปี 2017-18 และเป็นเหตุให้ศาลสูงมีคำตัดสินให้สมาชิกสภาจำนวนหนึ่งหมดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ชาวออสเตรเลีย 39% มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่แองโกล-เซลติก (Anglo-Celtic) หรือชนพื้นถิ่นออสเตรเลีย ขณะที่ 21% มีบรรพบุรุษที่ไม่ได้มาจากประเทศในทวีปยุโรป
นางเดวาเซียยังได้วิพากษ์วิจารณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนพหุวัฒนธรรมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในทำนองว่าปัญหาของพวกเขาไม่เหมือนกันกับปัญหาในสังคมออสเตรเลียวงกว้าง โดยระบุว่าเป็น “แนวคิดเพื่อการแลกเปลี่ยน”

มีข้อสันนิษฐานที่ผิดว่า ชุมชนส่วนใหญ่จะลงคะแนนเสียงไปในทางเดียวกันในทุกการเลือกตั้ง ซึ่งมันไม่ใช่ประเด็นนางเดวาเซีย กล่าว

นางเดวาเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคแรงงานออสเตรเลีย (ALP) หวังว่าเธอจะได้ลงสมัครรับเลือกล่วงหน้าในเขตพารามัตตา หลัง จูลี โอเวนส์ (Julie Owens) สส.พารามัตตาซึ่งยังดำรงตำแหน่งอยู่ใกล้จะเกษียณ แต่ทางพรรคกลับเลือก แอนดรูว์ ชาลตัน (Andrew Charlton) นักธุรกิจเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงในเร็ว ๆ นี้แทน
Osmond Chiu
ออสมอนด์ ชิว (Osmond Chiu) กล่าวว่า ออสเตรเลียยังตามหลังสหราชอาณาจักร แคนาดา และนิวซีแลนด์ ในแง่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสมาชิกในสภา Source: Osmond Chiu
ออสมอนด์ ชิว (Osmond Chiu) สมาชิกพรรคแรงงานออสเตรเลีย (ALP) และชาวจีน-ออสเตรเลียรุ่นที่ 2 เห็นด้วยกับนางเดวาเซียว่า รัฐสภาออสเตรเลียไม่สะท้อนถึงสังคมในวงกว้างที่มีความหลากหลายของชาติ

“รัฐสภาของสหราชอาณาจักร แคนาดา และนิวซีแลนด์ เป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้มากกว่า” นายชิว กล่าว
ขณะที่ในออสเตรเลียนั้น 21% ของชาวออสเตรเลียมีภูมิหลังจากต่างประเทศที่ไม่ใช่ประเทศในทวีปยุโรป แต่มีสมาชิกสภาเพียง 4% จากภูมิหลังนั้น
นายชิว ซึ่งเคยเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาที่เมืองพารามัตตา กล่าวว่า ออสเตรเลียไม่ได้ให้ความสำคัญในการปรับปรุงภาพสะท้อนของความหลายหลายทางวัฒนธรรม
เราไม่เคยแม้แต่จะเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านความหลากหลายอย่างเป็นลักษณะทางการ ซึ่งนั่นจะต้องเปลี่ยนไป นายชิว กล่าว
“การนำคำแนะนำจากการวิเคราะห์โดย The Jenkins มาปรับใช้ในยุทธศาสตร์ 10 ปี เพื่อเพิ่มการแสดงออกถึงความหลากหลาย ซึ่งรวมถึงผู้คนจากภูมิหลังหลากวัฒนธรรม และการเผยแพร่ข้อมูลคุณสมบัติด้านความหลากหลายของสมาชิกสภา เป็นขั้นตอนที่เหมาะสมซึ่งควรปฏิบัติ”

นายชิว กล่าวว่า ไม่ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งจะเป็นสมาชิกจากพรรคการเมืองใด หรือจะมาจากสังกัดอิสระก็ตาม มันจะเป็นเรื่องง่ายดายมากในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หากพวกเขามีเวลา ทรัพยากร และความสัมพันธ์กับผู้คน

“มันหมายความว่า ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งสำเร็จซึ่งมักเป็นคนอายุมาก เป็นที่ยอมรับ ทำงานในบางสาขาอาชีพ และมีความมั่งคั่ง ไม่ปกตินักที่จะมาจากภูมิหลังหลากวัฒนธรรม”

นายชิว ซึ่งทำงานด้านนโยบายสาธารณะ กล่าวว่าเขาได้พบกับผลกระทบจากการตัดสินใจของรัฐบาลที่มีต่อชีวิตในแต่ละวันของผู้คน

“ไม่ว่าผู้คนจะพูดอย่างไร แต่ผมรู้ว่ามันสำคัญว่าใครเข้ามามีบทบาทหน้าที่”

สนามการเมืองคือโอกาสที่ผู้อพยพย้ายถิ่น ‘จะได้ตอบแทนสังคม’

นางเดวาเซีย หวังว่าเธอจะได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองได้ในอนาคต ซึ่งเป็นหนทางที่เธอจะได้ตอบแทนออสเตรเลีย ซึ่งได้มอบ “สำนึกความเป็นเจ้าของ” ให้กับเธอ

ในตอนนี้ เธอทำงานเป็นผู้ประสานงานกฎหมายแห่งชาติ ให้กับสหภาพคนทำงานฝ่ายผลิตแห่งออสเตรเลีย (Australian Manufacturing Workers’ Union) หรือ AMWU ซึ่งมีสมาชิกสหภาพฯ มากกว่า 100,000 คนจากหลายภาคส่วน

“ออสเตรเลียเป็นบ้านของฉัน ฉันได้รับการศึกษาที่นี่ และที่นี่ได้มอบทุกโอกาสให้กับฉัน” นางเดวาเซีย กล่าว
ฉันมองคุณวุฒิของฉันในฐานะประตูสู่การได้รับใช้ชุมชนและประเทศชาติ
“ฉันอยากลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.ในสภาสหพันธรัฐ เพราะฉันต้องการจะเป็นแสงส่องทางให้กับคนอย่างฉัน เพื่อให้พวกเขาได้เห็นตัวเองในฐานะนักการเมืองและผู้นำในกระแสหลัก”

“ฉันอยากช่วยผู้คนด้วยการเป็นตัวแทนพวกเขา ความสนใจของพวกเขา และมีส่วนร่วมในการอภิปรายในสภาเพื่อให้เราทำการตัดสินใจจากการพิจารณาหลายมุมมองจากชุมชนของเรา ไม่ใช่แค่กลุ่มประชากรที่มีการเป็นตัวแทนอย่างดีแล้วโดยหลายตำแหน่งที่มีอำนาจ”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

มีโรคประจำตัว ติดโควิดอาจเสี่ยงอาการหนัก


Share
Published 6 April 2022 3:35pm
Updated 6 April 2022 3:58pm
By Shirley Glaister
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends