เนื้อหาที่สำคัญในบทความ
- หลักฐานแสดงให้เห็นว่าหน้ากากอนามัยที่กระชับใบหน้าสามารถลดการแพร่กระจายของโควิด-19 ได้อย่างมาก
- ถึงแม้จะมีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ติดอันดับสูงที่สุดในโลก แต่ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ไม่ยอมสวมหน้ากากอนามัย
รัฐบาลรัฐวิกตอเรียประกาศเมื่อวันอังคารว่า รัฐจะแจกหน้ากากอนามัย ชนิดเอ็น 95 (N95) กว่าสามล้านชิ้นให้แก่ประชาชนฟรีในช่วงสองสามสัปดาห์ข้างหน้านี้ เพื่อพยายามลดการระบาดของโควิด-19 และโรคในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
การศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่า หรืออย่างน้อยก็ช่วยลดปริมาณไวรัสที่จะเข้าไปในร่างกายของผู้สวมใส่หน้ากากอนามัย
เหตุใดจึงไม่มีผู้คนในออสเตรเลียจำนวนมากกว่านี้ที่สวมหน้ากากอนามัย?
ทำไมผู้คนจึงกลับไปมีพฤติกรรมเหมือนช่วงก่อนโควิด?
จำนวนผู้คนที่สวมหน้ากากอนามัยในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุดในออสเตรเลียนั้นต่ำกว่าที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น จึงจะสามารถลดระดับของการแพร่ระบาดที่สูงลงได้ ศาสตราจารย์เบรนแดน แครบบ์ ผู้อำนวยการสถาบันเบอร์เน็ต กล่าว
"ยากที่จะระบุชัดได้ แต่อย่างดีที่สุดก็อาจจะไม่มากไปกว่า 20-25 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ส่วนใหญ่ในเมลเบิร์น" เขากล่าวกับพอดคาสต์ InSight+ ของ Medical Journal of Australia ในสัปดาห์นี้
รองศาสตราจารย์ ฮอลลี ซีล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า เป็นเพราะคนจำนวนมากกลับไปมีพฤติกรรมเหมือนช่วงก่อนเกิดโควิดระบาด
“เราไม่มีวัฒนธรรมในการสวมหน้ากากอนามัยในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ” รศ. ซีล บอกกับ เอสบีเอส นิวส์
"[ผู้คนกำลัง] ย้อนกลับไปทำสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคย สิ่งที่พวกเขาเคยทำ และฉันคิดว่าหากไม่มีการย้ำเตือนหรือไม่มีข้อจำกัดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว อะไรเล่าที่จะกระตุ้นให้พวกเขาสวมหน้ากากอนามัย"
[ผู้คนกำลัง] ย้อนกลับไปทำสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคย สิ่งที่พวกเขาเคยทำ หากไม่มีการย้ำเตือนหรือไม่มีข้อจำกัดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว อะไรเล่าที่จะกระตุ้นให้พวกเขาสวมหน้ากากอนามัยรศ.ฮอลลี ซีล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์
การเลือกที่ผู้คนเลือกว่าจะสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่นั้น อาจได้รับอิทธิพลจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ "ประโยชน์ที่ผู้คนเข้าใจ" เกี่ยวกับมาตรการด้านสาธารณสุขและโอกาสในการติดเชื้อซ้ำ ” รศ. ซีล กล่าว
แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีความเชื่อว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อซ้ำเป็นเวลาหลายเดือน
"มีการชี้แนะที่บอกว่าเรากลับไปอยู่ในช่วงเวลาที่ผู้คนปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขเพื่อตนเอง แทนที่จะทำเพราะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ของชุมชน" รศ.ซีล กล่าว
“ในขณะที่ในปี 2021 อาจมีผู้คนจำนวนไม่มากที่ติดเชื้อโควิด-19 จริง ๆ หรืออาจรู้จักคนไม่มากนักที่ติดเชื้อโควิด ในความเป็นจริงในตอนนี้ อาจเป็นทุก ๆ สองคนที่อาจมีประสบการณ์โดยตรงหรือมีคนในครอบครัวใกล้ชิดของพวกเขาที่ป่วยจากโควิด-19”
"นั่นเปลี่ยนกรอบความคิดของเราว่าเราจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ หรือเมื่อใดที่เราจำเป็นต้องได้รับวัคซีน และต้องใช้กลยุทธ์ด้านสาธารณสุขอื่นๆ"
การลดลงของการสวมหน้ากากอนามัยดูเหมือนจะเกิดขึ้นมากที่สุดในกลุ่มคนที่อายุน้อยที่สุดและกลุ่มคนที่อายุมากที่สุดในสังคม รศ. ซีล กล่าว
“เราต้องการทำให้แน่ใจได้ว่า เรากำลังกระตุ้นให้ผู้คนให้ไปรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (บูสเตอร์) ของพวกเขา และเรากำลังกระตุ้นให้พวกเขาตระหนักรู้เกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัย”
ควรนำข้อกำหนดการสวมหน้ากากอนามัยกลับมาหรือไม่?
การวิจัยจากสถาบันเบอร์เน็ต แสดงให้เห็นว่า ข้อกำหนดให้ต้องสวมหน้ากากอนามัยที่นำมาใช้ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกสองในเมลเบิร์นในเดือนกรกฎาคม 2020 "เปลี่ยนการเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณในการระบาดในชุมชนให้ลดลงแบบทวีคูณในเกือบชั่วข้ามคืน"
ในช่วงการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนระลอกล่าสุด รัฐบาลออสเตรเลียและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้สนับสนุนอย่างยิ่งให้ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง และเมื่อพวกเขาไม่สามารถรักษาระยะห่างจากผู้อื่นได้ แต่ก็ไม่ได้ประกาศเป็นข้อกำหนด
ศาสตราจารย์แครบบ์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพิจารณาการตัดสินใจของพวกเขาอีกครั้ง โดยแนะนำว่าการกำหนดให้สวมหน้ากากอนามัยในบางสถานที่อาจกระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นสวมใส่หน้ากากอนามัยนอกพื้นที่เหล่านั้นด้วย
“พวกเราชอบข้อบังคับ แต่เฉพาะเมื่อเรายอมรับในเหตุผลของข้อบังคับนั้นแล้ว และสำหรับโควิด พวกเรายังไม่ยอมรับในเหตุผลเรื่องนี้” ศ.แครบบ์ กล่าว
“จนกว่านายกรัฐมนตรี มุขมนตรี และหัวหน้าคณะรัฐมนตรีจะตื่นขึ้น ... ผมไม่คิดว่าเราจะเปลี่ยนความคิดของชาวออสเตรเลียได้”
แต่รองศาสตราจารย์ซีลกล่าวว่า รัฐบาลต่างๆ ดูเหมือนจะไม่มี "ความกระหาย" ให้ข้อกำหนดการสวมหน้ากากอนามัยกลับมา
“ฉันคิดว่าพวกเขาต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นองค์รวม มากกว่าประเด็นเดียวคือการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่ และแค่เรื่องแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุข” รศ.ซีล กล่าว
“เราสามารถเปิดตัวแคมเปญการประชาสัมพันธ์ใหม่ๆ ได้ แต่มันจะมีผลอะไรไหมในตอนนี้ หรือผลที่ได้รับนั้นจะจำกัด และควรใช้เงินไปกับอย่างอื่นมากกว่า?”
"มีเงินจำกัดที่พวกเขาจะใช้สำหรับเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ผู้คนได้รับวัคซีนเข็มที่สามและสี่ ซึ่งนั่นควรเป็นสิ่งที่ต้องทำอันดับแรกหรือเปล่า? และเรามองหาวิธีอื่นในการพยายามเตือนผู้คนให้สวมใส่หน้ากากอนามัย?"
จะโน้มน้าวใจให้ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยได้อย่างไร?
รศ.ซีล กล่าวว่า โครงการริเริ่มแจกหน้ากากอนามัยฟรีของรัฐวิกตอเรียสามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะสั้น
“มันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้” รศ.ซีล กล่าว
“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณเห็นคนอื่นในบริเวณใกล้เคียงสวมหน้ากากอนามัยทันที นั่นเป็นการสะกิดคุณให้ทำแบบเดียวกันและขจัดความรู้สึกที่ว่าคุณเป็นคนเดียวในบริเวณนั้นที่สวมหน้ากากอนามัย"
แต่นี่อาจไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว รองศาสตราจารย์ซีลกล่าว
“บางทีนั่นอาจเป็นทั้งหมดที่เราต้องการขณะนี้ในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ในขณะที่เราฟันฝ่าผ่านระยะสุดท้ายของการระบาดที่พุ่งสูงในระลอกปัจจุบัน” รศ.ซีล กล่าว
ท้ายที่สุดแล้ว รศ.ซีล กล่าวว่า วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเพิ่มการสวมหน้ากากอนามัยในหมู่ประชาชนคือการส่งสารแบบจากเพื่อนสู่เพื่อน
“ในการวิจัยของเรา เราพบว่าสมาชิกในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในด้านการแพทย์ ดังนั้นในวงสังคมของคุณมีผู้ที่มีภาวะสุขภาพเรื้อรังหรือผู้ที่เป็นผู้สูงอายุ ให้เตือนคนรอบข้างให้ว่าเมื่อใดและเหตุใดเราจึงควรสวมหน้ากากอนามัย” รศ.ซีล กล่าว
“ให้พวกเขาว่า 'ดูสิ ยังคงมีเชื้อโควิดอยู่รอบๆ' บอกว่า 'นี่เป็นเชื้อสายพันธุ์ที่เราเพิ่งพบมาไม่นานนัก ซึ่งหมายความว่าแม้ว่าคุณจะเคยติดโควิดมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณมีภูมิคุ้มกันอยู่ตอนนี้' และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่สามหรือสี่ ซึ่งพวกเขายังคงมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยหนัก"
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
โควิดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ในออสเตรเลียในปีนี้จนถึงขณะนี้