ประเด็นสำคัญในข่าว
- การศึกษาล่าสุดพบว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียหักรายได้ทั้งปีจำนวน 11% เป็นเงินที่ส่งไปกับครอบครัวที่อาศัยอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด
- ผู้อพยพย้ายถิ่น 4 ใน 5 ระบุว่า การส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวหรือเพื่อนที่บ้านได้นั้น ทำให้ชีวิตของพวกเขามีความหวัง
- แต่เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องในออสเตรเลีย ทำให้ผู้อพยพย้ายถิ่นเกินครึ่งต้องทำงานมากขึ้น เพื่อให้ส่งเงินกลับบ้านได้ไม่ขาดมือ
มีรายงานล่าสุดที่เปิดเผยว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นร้อยละ 51 ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียเชื่อว่า เพื่อน ๆ หรือครอบครัวของตนจะเข้าสู่ความยากจน หากไม่ใช่เพราะเงินที่พวกเขาส่งกลับไปให้ทางบ้านเป็นประจำ
คุณค่าของเงินส่งกลับบ้าน (The Value of Remittance) รายงานของเวสเทิร์น ยูเนียน (Western Union) ผู้ให้บริการส่งเงินรายหนึ่ง เปิดเผยถึงอิทธิพลของเงินส่งกลับบ้านที่มีในชีวิตจริงของผู้อพยพย้ายถิ่น โดยพบว่า
- ร้อยละ 57 ของผู้อพยพย้ายถิ่นในออสเตรเลีย เชื่อว่า หากไม่สามารถส่งเงินกลับบ้านได้ ครอบครัวหรือเพื่อนของพวกเขาจะไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล
- ร้อยละ 56 ของผู้อพยพย้ายถิ่นในออสเตรเลีย เชื่อว่า หากไม่สามารถส่งเงินกลับบ้านได้ เพื่อนหรือครอบครัวอาจไม่มีเงินซื้ออาหารที่มีคุณภาพ
- ร้อยละ 53 ของผู้อพยพย้ายถิ่นในออสเตรเลีย เชื่อว่า หากไม่ใช่เพราะเงินที่พวกเขาส่งกลับบ้าน ครอบครัวของพวกเขาอาจไม่ได้เรียนหนังสือ หรือศึกษาต่อในอนาคต
- และร้อยละ 51 ของผู้อพยพย้ายถิ่นในออสเตรเลีย เชื่อว่า หากไม่ใช่เพราะเงินที่พวกเขาส่งกลับบ้าน ครอบครัวของพวกเขาอาจไม่มีเงินจ่ายค่าเช่า หรือผ่อนชำระสินเชื่อซื้อที่อยู่อาศัย
ฟังเรื่องที่เกี่ยวข้อง
คนไทยต้องดิ้นรนแค่ไหนในวิกฤตเศรษฐกิจออสเตรเลีย
SBS Thai
16/05/202319:11
ทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าว ซึ่งทำการสำรวจผู้อพยพย้ายถิ่นที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียจำนวน 1,500 คน แสดงให้เห็นถึงผลในเชิงบวกของเงินส่งกลับบ้านที่มีต่อครอบครัวต่าง ๆ ทั่วโลก โดยพบอีกว่า
- ผู้อพยพย้ายถิ่นร้อยละ 79 ที่ตอบแบบสำรวจ เชื่อว่า คุณภาพชีวิตของครอบครัวพวกเขาดีขึ้นอย่างมากจากเงินที่ส่งกลับบ้าน
- และร้อยละ 77 เชื่อว่า เพื่อนและครอบครัวของพวกเขาได้รับโอกาสในชีวิตมากกว่า อันเป็นผลจากเงินที่ส่งกลับบ้าน
ครอบครัวและเพื่อนของผู้อพยพย้ายถิ่นในออสฯ ใช้เงินเหล่านี้อย่างไร
จากการศึกษาดังกล่าว พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้อพยพย้ายถิ่นแบ่งรายได้ร้อยละ 11 จากรายได้ทั้งหมดในแต่ละปีเพื่อเป็นเงินส่งกลับบ้าน เหตุผลหลักในการส่งเงินกลับบ้าน ได้แก่
- เพื่ออุดหนุนค่าอาหารในครอบครัว (ร้อยละ 67)
- เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล (ร้อยละ 60)
- เพื่อเป็นค่าที่อยู่อาศัย (ร้อยละ 42)
นอกจากนี้ ผู้อพยพย้ายถิ่นร้อยละ 92 ที่ตอบแบบสอบถามนี้ระบุอีกว่า พวกเขาส่งเงินกลับบ้านไปให้ครอบครัวในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา และร้อยละ 67 ระบุว่า การส่งเงินกลับไปให้ทางบ้านได้นั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจย้ายมาออสเตรเลีย
Source: SBS
ความกดดันในการส่งเงินกลับบ้าน
การศึกษานี้ยังพบอีกว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้อพยพย้ายถิ่นต้องดิ้นรนในการส่งเงินกลับบ้านไปให้ครอบครัวและเพื่อน โดยมีรายละเอียดสำคัญดังต่อไปนี้
- ผู้อพยพย้ายถิ่นร้อยละ 56 ระบุว่า ต้องทำงานในจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้นหรือต้องทำงานเสริม เพื่อให้ส่งเงินกลับไปที่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง
- ผู้อพยพย้ายถิ่นร้อยละ 62 ระบุว่า ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องลดจำนวนเงินที่ส่งกลับไปให้ทางบ้าน
- ผู้อพยพย้ายถิ่นร้อยละ 52 ระบุว่า มีความกังวลว่าจะตกงานในอีก 12 เดือนข้างหน้า รวมถึงผลกระทบตามมาที่จะมีต่อความสามารถในการส่งเงินกลับไปให้ครอบครัว ซึ่งความกดดันนี้สร้างความตึงเครียดอย่างมากต่อสภาพจิตใจของผู้ย้ายถิ่นฐานที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
‘แฟร์เวิร์ก’ ปกป้องลูกจ้างแจ้งถูกเอาเปรียบ ไม่ต้องกลัวถูกถอนวีซ่า
นอกจากนี้ ยังพบผู้อพยพย้ายถิ่นที่ตอบแบบสอบถามนี้ร้อยละ 69 ที่ระบุว่า ความรับผิดชอบในการต้องสนับสนุนครอบครัวหรือเพื่อนนั้น ในบางครั้งก็มากเกินกว่าจะรับไหว และผู้อพยพย้ายถิ่นเกินครึ่งที่ตอบแบบสำรวจนี้ (ร้อยละ 69) ยังระบุอีกว่า พวกเขาต้องเสียสละความสุขสบายในชีวิตส่วนตัวที่นี่ เพื่อทำให้แน่ใจว่ายังส่งเงินกลับบ้านไปให้ครอบครัวและเพื่อนได้อย่างต่อเนื่อง
ร้อยละ 58 ของผู้อพยพย้ายถิ่นที่ตอบแบบสำรวจนี้ยังระบุอีกว่า พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งชี้ว่าผู้อพยพย้ายถิ่นให้ความสำคัญกับการทำงานมากกว่าการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว
อย่างไรก็ตาม ผู้อพยพย้ายถิ่นร้อยละ 81 ที่ตอบแบบสอบถามนี้ระบุว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าพวกเขาสามารถส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวและเพื่อนที่บ้านได้ทำให้ชีวิตของพวกเขามีจุดมุ่งหมาย นอกจากนี้ 3 ใน 4 ของผู้อพยพย้ายถิ่นที่ตอบแบบสอบถามนี้ยังระบุอีกว่า หากไม่ได้ย้ายมาอยู่ออสเตรเลีย พวกเขาจะไม่สามารถให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ครอบครัวและเพื่อนได้เลย
Source: SBS News Source: SBS
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่น่าสนใจ จาก เอสบีเอส ไทย
ยื่นเอกสารเช่าบ้านอย่างไรให้ได้บ้าน วิเคราะห์ตลาดบ้านเช่าในออสเตรเลีย