นายกรัฐมนตรีไทย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “อย่าเพิ่งด่วนสรุป” ในเรื่องการตัดสินใจของศาลต่อนักฟุตบอลผู้ลี้ภัยที่ถูกควบคุมตัว นายฮะคีม อัล-อะไรบี หลังจากที่การว่าความเรื่องการส่งตัวกลับประเทศเริ่มต้นขึ้นที่ศาลในกรุงเทพมหานครเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
โดยเป็นการพูดถึงเรื่องนี้ครั้งแรกนับตั้งแต่นายฮะคีมถูกควบคุมตัวเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยนั้นกำลังทำงานกับทั้งออสเตรเลียและบาห์เรนเพื่อหาทางออก
“ก็อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าจะตัดสินอะไรออกไปอย่างไรนะครับ และก็อย่าให้เป็นประเด็นการเมือง ระหว่างนี้กระทรวงการต่างประเทศก็มีการประสานกับทั้งสอบประเทศนะ ทั้งออสเตรเลียและบาห์เรนอยู่นะครับ เพื่อจะหาทางออกในเรื่องนี้นะครับ” พลเอกประยุทธ์กล่าวในการแถลงต่อผู้สื่อข่าว
ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย นายสกอตต์ มอร์ริสันกล่าวกับสกายนิวส์ว่า ภาพที่เห็นนายอัล-อะไรบีเดินทางมาถึงศาลที่กรุงเทพฯ โดยถูกตีตรวนที่ขานั้นสร้างความไม่พอใจให้กับชาวออสเตรเลียจำนวนมากซึ่งรู้สึก “อย่างแรงกล้าว่า” เขาควรจะได้รับการปล่อยตัว
นายอัล-อะไรบีได้รับมอบสถานภาพผู้ลี้ภัยของประเทศออสเตรเลีย แต่กลับเผชิญกับการส่งตัวกลับประเทศบาห์เรนโดยมีการกล้าวหาว่าเขาสร้างความเสียหายให้กับสถานีตำรวจแห่งหนี่งเมื่อปี ค.ศ. 2012
เขาถูกจับที่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ขณะกำลังเดินทางท่องเที่ยวพักผ่อน และเมื่อวันจันทร์ก็ถูกพบเห็นขณะเดินทางมาถึงศาลโดยถูกตีตรวนที่ขา และตะโกนว่า “อย่าส่งผมกลับไปบาห์เรน”
นายมอร์ริสันกล่าวเมื่อคืนนี้ (5 ก.พ.) ว่า เขาได้รับจดหมายตอบกลับ ต่อจดหมายซึ่งเขาเขียนถึงพลเอกประยุทธ์ เพื่อเรียกร้องให้นักฟุตบอลซึ่งอาศัยอยู่ในนครเมลเบิร์นคนดังกล่าวถูกส่งตัวกลับประเทศออสเตรเลีย: “ผมเขียนถึงท่านอีกครั้ง เพราะว่าผมรู้สึกกระทบกระเทือนใจจากภาพการปรากฏตัวของฮะคีมซึ่งมาที่การว่าคดีความเมื่อวันก่อน”“เขาถูกตีตรวนแล้วผมก็คิดว่ามันน่าไม่พอใจเป็นอย่างมาก และผมก็ทราบว่ามันจะทำให้ชาวออสเตรเลียเป็นจำนวนมากไม่พอใจ” นายมอร์ริสันกล่าว
Craig Foster has been at the forefront of efforts to secure Hakeem Al-Araibi's release. Source: AAP
“ผมขอเตือนท่านนายกรัฐมนตรีไทยด้วยความเคารพว่า ชาวออสเตรเลียนั้นรู้สึกอย่างรุนแรงมากต่อเรื่องนี้ รุนแรงมากมาก”
“นายอัล-อะไรบี ถูกพิพากษาลับหลัง (in absentia) ให้รับโทษจำคุก 10 ปีโดยทางบาห์เรน แต่ก็ปฏิเสธเรื่องที่เขามีส่วนร่วมในการทำลายทรัพย์สิน”
หัวหน้าทัณฑสถานของประเทศไทยได้ปกป้องการตัดสินใจส่งนายอัล-อะไรบีไปศาลโดยถูกตีตรวนที่ขา ซึ่งปะทุให้กระแสความไม่พอใจที่ประเทศไทยเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเขาราวกับอยู่ใน “ยุคกลาง”
อธิบดีกรมราชทัณฑ์ พ.ต.อ. ณรัชต์ เศวตนันทน์ ปฏิเสธรายงานของสื่อมวลชนที่ว่า นายอัล-อะไรบีนั้นถูกตีตรวน
โดยเขากล่าวว่า นายอัล-อะไรบีนั้นถูกสวมอยู่ใน “กุญแจข้อเท้า” ซึ่งสามารถถูก “ลงกลอนและถอดกลอน” ได้
เขากล่าวว่า เป็นไปตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ เมื่อผู้ต้องขังถูกคุมตัวไปนอกเรือนจำและเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ควบคุมเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องใช้ “เครื่องพันธนาการ” เจ้าหน้าที่จึงพิจารณาเห็นสมควร
“เห็นแล้วว่าผู้ต้องขังรายนี้เป็นที่สนใจของสังคม และมีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่จึงพิจารณาเห็นสมควรใส่กุญแจข้อเท้า ซึ่งเป็นเครื่องพันธนาการอย่างหนึ่งตามกฎหมาย” พ.ต.อ. ณรัชต์ กล่าวผ่านแถลงการณ์
“เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ต้องการให้นักโทษมีการแหกหักหลบหนี”
ภาพถ่ายและวิดิโอของนายอัล-อะไรบีในโซ่ตรวนและชุดนักโทษ ได้เป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้คณะสื่อมวลชนท้องถิ่นอภิปรายกัน ถึงภาพพจน์ที่ประเทศไทยต้องการแสดงต่อโลก
สื่อไทยถูกห้ามโดยมาตรฐานทางจริยธรรมซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยสภาสื่อมวลชนไทย ไม่ให้แสดงภาพของนักโทษที่ถูกพันธนาการ
นายอัล-อะไรบีจะยังคงถูกควบคุมตัวต่อไปอีกอย่างน้อยห้าสัปดาห์ โดยมีกำหนดการฟังความในเบื้องต้นในวันที่ 22 เมษายนที่ศาลอาญากรุงเทพ
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
“อย่าส่งผมกลับบาห์เรน”: ฮะคีม อัล-อะไรบี ขอหน้าศาล
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
ใช้ชีวิตอย่างไรไม่เสี่ยงมะเร็ง