กลุ่มเฝ้าระวังอ้างออสเตรเลียทราบล่วงหน้าว่าหมายแดงจับนาย อัล-อะไรบี ของตำรวจสากลนั้นเป็นโมฆะ

NEWS: จดหมายซึ่งส่งถึงนายปีเตอร์ ดัตตัน อ้างว่าตำรวจสหพันธรัฐของออสเตรเลียนั้นทราบล่วงหน้าแล้วว่าหมายแดงโดยประเทศบาห์เรนนั้นเป็นโมฆะ

Image of Mr. Hakeem Al-Araibi being detained by Thai police in Bangkok

Source: AAP/SBS News

You can read the full version of this story in English on SBS News .

กลุ่มเฝ้าระวังความยุติธรรมด้านอาชญากรรมนานาชาติได้เผยแพร่จดหมายซึ่งวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลออสเตรเลียว่ามีส่วนช่วยในเหลือการควบคุมตัวผู้ลี้ภัยชาวบาห์เรน นายฮะคีม อัล-อะไรบี

นายอัล-อะไรบีเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรของประเทศออสเตรเลียและเป็นนักฟุตบอลกึ่งมืออาชีพ ซึ่งขณะนี้เขากำลังเผชิญกับการที่อาจถูกส่งกลับประเทศบาห์เรนหลังจากถูกจับด้วยหมายแดงของตำรวจสากลเมื่อเดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครกับภรรยาของเขาเมื่อเดือนพฤศจิกายน
Detained Melbourne-based refugee Hakeem al-Araibi has thanked Australia for supporting him as he fears deportation from Thailand to his native Bahrain.
Detained Melbourne-based refugee Hakeem al-Araibi is facing deportation from Thailand to his native Bahrain. Source: AAP
ในจดหมายซึ่งจ่าหน้าถึงรัฐมนตรีมหาดไทย นายปีเตอร์ ดัตตัน และลงวันที่ 12 ธันวาคม กลุ่มเพื่อการดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมหรือแฟร์ไทรอัลส์ (Fair Trials) ได้กล่าวหาตำรวจสหพันธรัฐ (เอเอฟพี) ของออสเตรเลียว่าทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับนโยบายผู้ลี้ภัยของตำรวจสากล ซึ่งระบุว่าไม่อนุญาตให้มีหมายแดงต่อผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยหากว่าคำเตือนดังกล่าวถูกขอมาจากประเทศซึ่งพวกเขามีความนั้นหวาดกลัวว่าจะถูกเอาผิด


โดยจดหมายดังกล่าวมีใจความว่า “ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเอเอฟพีซึ่งเป็นสำนักงานศูนย์กลางแห่งชาติของออสเตรเลียสำหรับตำรวจสากล ควรจะตระหนักดีอยู่แล้วเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว และหากว่าทางเอเอฟพีทราบเกี่ยวกับสถานะการเป็นผู้ลี้ภัยของนายอัล-อะไรบีแล้วล่ะก็ ทางหน่วยงานก็จะต้องทราบว่าหมายแดงจากประเทศบาห์เรนสำหรับเขานั้นเป็นโมฆะ”
Hakeem Al-Araibi in Thai police custody.
นายฮะคีม อัล-อะไรบี ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศไทย (AAP) Source: AAP
“ความพยายามใดๆ ของทางเอเอฟพีเพื่ออ้างเหตุผลต่อสิ่งที่พวกเขาได้ทำ ว่าอยู่บนพื้นฐานของการมีเจตนาดีเพื่อให้มีความร่วมมือกันระหว่างตำรวจนั้น เป็นข้อแก้ตัวที่ฟังไม่ขึ้น”

วีซ่าของนายอัล-อะไรบีอนุญาตให้เขาอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้โดยไม่มีกำหนด และสามารถเดินทางออกจากประเทศและเข้าประเทศได้ ตราบใดที่เขานั้นไม่เดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิด

แต่ก็ได้มีการเปิดเผยว่าสำนักงานตำรวจสากลแห่งชาติของออสเตรเลียนั้นได้ชี้เบาะแสให้กับทางประเทศไทยก่อนที่นายอัล-อะไรบีจะเดินทางไปถึง

โดยที่หากประเทศไทยดำเนินการเพื่อส่งตัวเขากลับ ก็จะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ

รัฐบาลบาห์เรนกล่าวหาว่า นักฟุตบอลคนดังกล่าว “จงใจจู่โจมสถานีตำรวจแห่งหนึ่งด้วยระเบิดซึ่งทำขึ้นเอง” เมื่อปี ค.ศ. 2012 แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าวิดิโอซึ่งถูกเผยแพร่โดยสถาบันเพื่อสิทธิและประชาธิปไตยแห่งบาห์เรนนั้นแสดงให้เห็นว่านายอัล-อะไรบีกำลังเล่นฟุตบอลอยู่ในแมตช์การแข่งขันที่ได้รับการถ่ายทอดสดระหว่างเวลาที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
จดหมายจากกลุ่มเพื่อการดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมระบุว่า “กลุ่มแฟร์ไทรอัลส์เข้าใจดีว่ามีความจำเป็นที่เร่งด่วนเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกันของตำรวจข้ามพรมแดน แต่ทว่าเรื่องนี้นั้นจำเป็นจะต้องขึ้นอยู่กับข้อคุ้มกันต่างๆ ซึ่งมีไว้ปกป้องมิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังเช่นในกรณีต่างๆ ที่นายอัล-อะไรบีกำลังเผชิญอยู่”

“นี่เป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่า เพราะเหตุใดตำรวจสากลจึงมีกฎต่างๆ ซึ่งตั้งเอาไว้เพื่อเคารพสิทธิมนุษยชน และป้องกันการใช้หมายจากแรงจูงใจทางการเมือง มันสำคัญมากที่ประเทศออสเตรเลียจะต้องดำเนินการในลักษณะเดียวกัน”

“เราเชื่อว่าขั้นแรกที่กระทรวงมหาดไทยควรจะทำเพื่อป้องกันไม่ให้มีกรณีเช่นของนายอัล-อะไรบีเกิดขึ้นอีกในอนาคต ก็คือการยอมรับว่ายังสามารถปรับปรุงได้อีก - ไม่ใช่ออกมาปกป้องการกระทำต่างๆ ที่ฟังไม่ขึ้นแล้วก็ไปโทษประเทศอื่นๆ”
“มันเป็นกรณีโศกนาฏกรรม และเราจำเป็นจะต้องทำอย่างเต็มที่เท่าที่จะทำได้ในฐานะชุมชนฟุตบอล เพื่อนำเขากลับบ้าน” ผู้บริหารสูงสุดของฟุตบอลวิกตอเรีย นายปีเตอร์ ฟิโลพูลอสกล่าวผ่านวิดิโอทางโซเชียลมีเดีย

“นำเขากลับมายังรัฐวิกตอเรียที่ออสเตรเลีย เพื่อให้เขาสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้ตามที่เขาเลือกที่จะอยู่ที่นี่ ที่ออสเตรเลียซึ่งเขาเล่นฟุตบอลให้กับสโมสรระดับรองต่างๆ ในแนชันนอลพรีเมียร์ลีก สำหรับ(ทีม)ปาสโคเวล”
Filopoulos
Former Perth Glory CEO Peter Filopoulos Source: @SportsdayWA
โดยองค์กรซึ่งควบคุมฟุตบอลโลกหรือฟีฟ่า (FIFA) นั้นก็ได้ผลักดันให้มีการปล่อยตัวนักฟุตบอลคนดังกล่าว

ในขณะที่กำลังเขียนข่าวนี้ ก็มีการรณรงค์ทางโกฟันด์มี (GoFundMe) ซึ่งตั้งเป้าที่จะเรี่ยไรเงินให้เพียงพอต่อการว่าจ้างทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยให้กับนายฮะคีม โดยมียอดที่ $4522 ดอลลาร์แล้ว

แฟร์ไทรอัลนั้นเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระดับนานาชาติซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน กรุงบรัสเซลส์และกรุงวอชิงตันดีซี
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 27 December 2018 12:27pm
Updated 27 December 2018 12:29pm
By Maani Truu
Presented by Tanu Attajarusit


Share this with family and friends