ชาวออสเตรเลียที่ได้รับการรักษาจากไวรัสโคโรนาจนอาการดีขึ้น สามารถบริจาคเซลล์พลาสมาเพื่อช่วยรักษาผู้ติดเชื้อรายอื่น ๆ ที่อาจอยู่ในภาวะวิกฤตจากไวรัสนี้
สารภูมิต้านทาน (antibodies) จากผู้ป่วยไวรัสโคโรนาที่อาการดีขึ้น คือสารสำคัญของวิธีการรักษาที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งจะถูกนำไปผลิตเป็นสารภูมิต้านทานในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 โดยบริษัท CSL Behring ในนครเมลเบิร์น
ทั้งนี้ ออสเตรเลีย เป็นประเทศแรก ๆ ของโลก ที่เริ่มผลิตสารภูมิต้านทานในการรักษา ซึ่งอาจใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะวิกฤตซึ่งมีอาการแทรกซ้อนจากเชื้อไวรัสโคโรนา โดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจLifeblood โดยกาชาดออสเตรเลีย จะเริ่มเชิญผู้ได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นจากเชื้อไวรัสโคโรนาร่วมบริจาคพลาสมา โดยสารภูมิต้านทานที่ได้จากพลาสมาของผู้บริจาค จะถูกทำให้บริสุทธิ์และเข้มข้น เพื่อนำไปทำเป็นแอนติบอดีในการรักษา (immunoglobin) ต่อไป ซึ่งจะนำจ่ายสู่ผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นตอนการทดลองทางคลินิก
Health Minister Greg Hunt. Source: AAP
ทั้งนี้ ในการรักษาผู้ป่วยวิกฤติจากไวรัสโคโรนาจำนวน 50-100 ราย จำเป็นต้องใช้พลาสมาที่ได้รับจากกการบริจาค 800 ครั้ง
นายเกร็ก ฮันท์ รัฐมนตรีด้านสุขภาพของรัฐบาลสหพันธรัฐ กล่าวว่า ความคืบหน้าในครั้งนี้เป็น “ตัวอย่างที่ดีเยี่ยม” ของชาวออสเตรเลีย ของการช่วยเหลือชาวออสเตรเลียด้วยกัน ในช่วงเวลาอันวิกฤตนี้
ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร ให้ตรวจสอบข้อจำกัดในรัฐของคุณเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกัน
การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080
รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ
เอสบีเอสมุ่งมั่นให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 แก่ชุมชนหลากหลายภาษาในออสเตรเลีย เรามีข่าวและข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ 63 ภาษาที่เว็บไซต์
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย
อาการป่วยเรื้อรังอะไรบ้างที่ทำให้อาการโควิด-19 รุนแรง