อาการป่วยเรื้อรังอะไรบ้างที่ทำให้อาการโควิด-19 รุนแรง

มีอาการทางสุขภาพที่เปราะบางที่สุดต่อการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดี หรือเนื้อเยื่อค้ำจุนอวัยวะต่างๆ อ่อนแอ

Asthma medication

Asthma medication Source: Getty ImagesRgStudio

ประชาชนหลากหลายที่มีอาการทางสุขภาพซึ่งเป็นมาก่อนแล้ว จะมีความเสี่ยงมากขึ้น หากติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันสูง และโรคหอบหืด เชื้อไวรัสนี้โจมตีเนื้อเยื่อปอด และทำให้อวัยวะภายในอักเสบ เกิดขึ้นเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยารุนแรงจนเกินไปต่อเชื้อไวรัสนี้

ทั่วโลกนั้น คนไข้ที่ติดเชื้อโควิด-19 กว่าร้อยละ 70 ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลในห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน มีอาการทางสุขภาพที่เป็นอยู่แล้วก่อนการติดเชื้อ

บทความนี้ให้อธิบายเกี่ยวกับอาการทางสุขภาพที่มีความเปราะบางที่สุดสำหรับเชื้อโควิด-19 เนื่องจากอาการเหล่านั้นทำให้เนื้อเยื่อค้ำจุนอวัยวะอ่อนแอ และ/หรือทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดี

อาการทางสุขภาพที่เป็นมาก่อนแล้วที่มีความสำคัญหากติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ โรคเกี่ยวกับปอดที่เรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อาการที่ตับและไต และการรักษาพยาบาลและการกินยาทุกอย่างที่ทำให้ระบบภูมิคุ้นกันของร่างกายอ่อนแอ รวมทั้ง การรักษาโรคมะเร็ง และการดูแลรักษาร่างกายหลังเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ

โรคหอบหืด

โรคหอบหืดเป็นอาการในระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดขึ้นจากไวผิดปกติของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้นและการอักเสบของทางเดินหายใจ โดยมีอาการต่างๆ เช่น ไอ หายใจมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือมีอาการหอบ ขณะนี้คาดว่าโรคหอบหืดส่งผลกระทบต่อประชาชนราวร้อยละ 11 ของประชาชนทั่วออสเตรเลีย ชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะมีรายงานว่าเป็นโรคหอบหืดมากกว่าชาวออสเตรเลียที่ไม่ใช่ชาวพื้นเมือง อาการหอบหืดเฉียบพลันอาจถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้จากสิ่งใดก็ตามที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ ประชาชนที่มีอาการป่วยจากโรคหอบหืดควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ยังสามารถโจมตีทางเดินหายใจได้

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคหอบหือ (เป็นภาษาอังกฤษ)

อาการที่ปอดอื่นๆ

อาการที่ปอดที่เด่นชัดที่สุดอื่นๆ นอกเหนือจากโรคหอบหืดในออสเตรเลียได้แก่ โรคปอดจากแร่ใยหิน โรคหลอดลมโป่งพอง โรคซิสติก ไฟโบรซิส (โรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการสร้างเสมหะข้นในปอด ตับ ตับอ่อน และลำไส้) โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคปอดจากฝุ่นหิน และวัณโรค อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่ปอด (เป็นภาษาอังกฤษ)

โรคหัวใจ

การวิจัยทั่วโลกชี้ว่า ประชาชนที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเสียชีวิตจากเชื้อโควิด-19 มากกว่าประชาชนทั่วไป ไม่ใช่เพราะพวกเขามีความเสี่ยงสูงกว่าในการติดเชื้อ แต่เพราะพวกเขามีความเสี่ยงสูงกว่าในการมีอาการป่วยที่รุนแรงกว่า เชื้อโควิด-19 ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บที่หัวใจและนำไปสู่อาการหัวใจวายเฉียบพลันได้

การดำเนินชีวิตที่ส่งผลดีต่อสุขภาพนั้นสำคัญอย่างยิ่ง ได้แก่ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่สมดุล การดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชาชนควรออกกำลังกายในระดับหนักพอควร (moderate intensity) 150 นาที หรือออกกำลังกายในระดับหนัก (vigorous intensity) 75 นาทีต่อสัปดาห์ หรือผสมผสานกันทั้งสองรูปแบบ สำหรับกิจกรรมที่ใช้กำลังกายของประชาชนที่ทำที่บ้านได้

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด (เป็นภาษาอังกฤษ)

โรคเบาหวาน

ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานสามารถเผชิญปัญหาด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น องค์กรโรคเบาหวานแห่งออสเตรเลีย แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มีแผนบริหารจัดการเมื่อป่วยเตรียมไว้ และบริหารจัดการระดับกลูโคสในเลือดของตน ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ และมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะมีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานส่งผลให้ภูมิคุ้นกันบกพร่องในการต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส และในการต่อสู้กับความเป็นไปได้ของการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียที่ปอด ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 จำนวนมากเป็นโรคอ้วน และโรคอ้วนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานและเชื้อโควิด-19 (เป็นภาษาอังกฤษ)

อาการป่วยที่ตับ

ประชาชนที่มีเชื้อไวรัสตับเสบ บี หรือ ซี หรือมีอาการผิดปกติที่ตับอื่นๆ ควรใช้มาตรการป้องกันเช่นเดียวกับที่แนะนำสำหรับประชาชนทั่วๆ ไป แต่ให้ระมัดระวังและปฏิบัติตามมาตรการที่แนะนำไว้เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 มีคำแนะนำให้ประชาชนที่เป็นโรคตับที่ร้ายแรงให้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และเชื้อนิวโมคอคคัส

  • อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบและเชื้อโควิด-19 (เป็นภาษาอังกฤษ)
  • อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 และโรคเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ บี  (เป็นภาษาอังกฤษ)
  • อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 และโรคเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ ซี  (เป็นภาษาอังกฤษ)

โรคไต

ประชาชนที่เป็นโรคไตควรตระหนักว่า เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ พวกเขามีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะมีอาการป่วยที่รุนแรงและมีอาการแทรกซ้อนจากเชื้อไวรัสโคโรนา เชื้อโควิด-19 สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต หากผู้ป่วยไม่สบาย ร่างกายขาดน้ำ หรือมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อนนอกเหนือจากอาการจากเชื้อไวรัสโคโรนาแล้ว

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 และโรคไต  (เป็นภาษาอังกฤษ)

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับแผนบริหารจัดการขององค์กรสุขภาพไตแห่งออสเตรเลีย  (เป็นภาษาอังกฤษ)

การรักษามะเร็ง

เมื่อผ่านการเป็นมะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกันของประชาชนมีแนวโน้มจะอ่อนแอลง และพวกเขาควรปฏิบัติตามคำแนะนำเฉพาะที่แพทย์ที่ให้การดูแลพวกเขาแนะนำ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ระหว่างและหลังการรักษา สำคัญอย่างยิ่งที่พวกเขาจะต้องอยู่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้หลีกเลี่ยงการเดินทางทุกอย่างที่ไม่จำเป็น และหลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยอยู่ในภาวะเช่นเดียวกันภายใต้การรักษาหลังเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนผู้ป่วยมะเร็ง  (เป็นภาษาอังกฤษ)

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร ให้ตรวจสอบข้อจำกัดในรัฐของคุณเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกัน

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ

เอสบีเอสมุ่งมั่นให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 แก่ชุมชนหลากหลายภาษาในออสเตรเลีย เรามีข่าวและข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ 63 ภาษาที่เว็บไซต์

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

 


Share
Published 5 May 2020 3:49pm
Updated 21 August 2020 2:08pm
By SBS Radio
Presented by SBS Thai
Source: SBS Radio


Share this with family and friends