‘ไม่ฉีด ไม่จ่าย’ ‘ไม่ฉีด ไม่เล่น’ มาตรการการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กของออสเตรเลียมีอะไรบ้าง

Australia Explained - Child Immunisation

วัคซีนที่ฉีดให้แก่เด็กในออสเตรเลียได้รับการตรวจสอบจากองค์การบริหารผลิตภัณฑ์เพื่อการรักษาแล้ว Credit: Science Photo Library - IAN HOOT/Getty Images

วัคซีนสำหรับเด็กช่วยปกป้องเด็กและส่งผลดีกับคนรอบตัวเด็กด้วย รัฐบาลสหพันธรัฐของออสเตรเลียมีนโยบาย ‘ไม่ฉีด ไม่จ่าย’ และรัฐบาลมลรัฐมีนโนบาย ‘ไม่ฉีด ไม่เล่น’ เพื่อให้เด็กได้รับวัคซีนครบถ้วนตามโปรแกรมการฉีดวัคซีนแห่งชาติ


ประเด็นสำคัญ
  • ออสเตรเลียมีโปรแกรมการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งชาติ โดยวัคซีนที่ให้แก่เด็กไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • นโยบาย 'ไม่ฉีด ไม่จ่าย' และ 'ไม่ฉีด ไม่เล่น' มุ่งให้เด็กได้รับวัคซีนครบถ้วน
  • หากคุณกังวลเรื่องภูมิคุ้มกันของเด็ก ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

มีการประเมินว่าเด็ก 1 ใน 5 คนอาจเสียชีวิตจากโรคติดต่อ หากไม่ได้รับวัคซีนที่เหมาะสม

นโยบายการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กอาจแตกต่างไปตามแต่ละประเทศ แต่มีเหตุผลทางการแพทย์ที่คล้ายกัน นั่นคือ

รองศาสตราจารย์เคที แอตต์เวลล์ จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนโยบายการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กอธิบายว่าทำไมการฉีดวัคซีนถึงเป็นนโยบายของรัฐบาล

“ฉันคิดว่าเหตุผลหลักที่การได้รับวัคซีนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับรัฐบาล สำหรับชุมชน และเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะสถานะการฉีดวัคซีนของผู้คนมีผลต่อความเสี่ยงต่อโรค หากคุณมีอัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโรคสูง เช่น ประชากร 95% มีภูมิคุ้มกันโรคหัด ชุมชนก็จะไม่มีโอกาสติดโรคหัด แต่หากมีอัตราการฉีดต่ำ โรคหัดก็จะแพร่เชื้อได้ง่าย”
Australia Explained - Child Immunisation
โรคหัดเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายสำหรับเด็ก การฉีดวัคซีนสามารถช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันการติดเชื้อโรคหัดได้ Source: Moment RF / Witthaya Prasongsin/Getty Images
รองศาสตราจารย์แอตต์เวลล์เสริมว่า โปรแกรมการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กยังป้องกันโรคร้ายแรงให้แก่ผู้ที่อยู่กับเด็กได้ด้วย

ทั้งเด็กทารกแรกเกิด ผู้ใหญ่ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเด็กที่กำลังรักษาโรคมะเร็ง

รองศาสตราจารย์ฟิลลิป บริตตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็กและเด็กวัยรุ่นจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่า โปรแกรมการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กของออสเตรเลียเป็นโปรแกรมดูแลสุขภาพที่ค่อนข้างครอบคลุม สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคที่เคยเป็นโรคร้ายแรงในอดีตหรืออาจเป็นโรคที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ในบางประเทศ
โรคอย่างเช่น โรคหัด คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เมื่อ 20 ปีก่อนมีไวรัสที่ทำให้เด็กท้องเสียรุนแรงเรียกว่า โรตาไวรัส เรามีวัคซีนป้องกันโรคนี้ที่ออสเตรเลีย โรคอีสุกอีใสที่ติดต่อง่ายสำหรับเด็ก บางคนป่วยหนักจากการติดโรคนี้ เรามีวัคซีนป้องกันโรคเหล่านี้แล้ว
รศ.บริตตันกล่าว
ภายใต้โปรแกรมการฉีดวัคซีนแห่งชาติ กรมอนามัยมีกำหนดตารางเวลาการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กและผู้ที่อายุน้อยกว่า 20 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ด้วยนโยบาย ‘ไม่ฉีด ไม่จ่าย’ วัคซีนจากโปรแกรมจะเชื่อมโยงกับเงินสวัสดิการช่วยเหลือของรัฐบาลสหพันธรัฐ

ดังนั้นเพื่อสามารถขอรับเงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนค่าเลี้ยงดูบุตร ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลบุตร 20-85% ผู้ปกครองต้องปฏิบัติตามตารางการฉีดวัคซีนของโปรแกรม

คุณจัสติน บอตต์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลชุมชนของเซอร์วิสส์ ออสเตรเลียอธิบาย

“เซอร์วิสส์ ออสเตรเลียไม่สามารถจ่ายเงินช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนค่าเลี้ยงดูบุตรได้ หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนตามที่กำหนด คุณอาจจะไม่ได้รับเงินในส่วนแรกที่คุณควรได้ เมื่อคุณยื่นขอรับเงินครั้งแรก หรือคุณอาจไม่ได้รับเงินช่วยเหลือตามกำหนด เพราะลูกของคุณไม่ได้รับวัคซีน”
Australia Explained - Child Immunisation
เด็กๆ และครูขณะรับประทานอาหารเที่ยง Credit: JohnnyGreig/Getty Images
คุณไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนของบุตรหลานกับเซอร์วิสส์ ออสเตรเลีย เพราะข้อมูลจะส่งถึงหน่วยงานเองโดยอัตโนมัติ

“วิธีที่เราใช้ติดตามเรื่องนี้คือ เมื่อคุณยื่นขอรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล เราจะขอรายละเอียดบัตรเมดิแคร์ของเด็ก ระบบเมดิแคร์เก็บรายละเอียดการฉีดวัคซีนของเด็ก เพื่อความแน่ใจว่าลูกของคุณได้รับวัคซีนตรงตามช่วงอายุที่ควร และเพื่อที่เราจะจ่ายเงินสวัสดิการได้ต่อเนื่อง”

สำนักทะเบียนการฉีดวัคซีนแห่งออสเตรเลียเป็นเป็นฐานข้อมูลที่เก็บบันทึกประวัติการฉีดวัคซีนทั้งหมดที่มีการขึ้นทะเบียนในออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนที่ได้รับจากโปรแกรมการฉีดวัคซีนระดับประเทศ โปรแกรมที่โรงเรียน หรือการฉีดวัคซีนกับผู้ให้บริการเอกชน

ประวัติการฉีดวัคซีนจะเชื่อมโยงกับระบบเมดิแคร์โดยอัตโนมัติ และผู้ให้บริการฉีดวัคซีนที่ได้รับการรับรอง เช่น แพทย์จีพี (แพทย์ทั่วไป) หรือศูนย์สุขภาพชุมชน จะเป็นผู้อัปเดตข้อมูล

สำหรับกรณีที่เด็กได้รับวัคซีนที่ต่างประเทศ คุณบอตต์อธิบายว่า

“หากคุณมีหลักฐานหรือเอกสารการฉีดวัคซีน คุณควรนำหลักฐานนั้นไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือที่เจ้าหน้าที่ทางแพทย์ที่คุณไปรับวัคซีนประจำ เจ้าหน้าที่จะอัปเดตข้อมูลในประวัติการฉีดวัคซีนที่ออสเตรเลียของลูกของคุณคุณ หากคุณไม่มีหลักฐาน ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำว่าควรทำอย่างไร”
Australia Explained - Child Immunisation
การฉีดวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อสำหรับเด็ก เด็กคนอื่น และผู้ปกครอง Source: Moment RF / Alan Rubio/Getty Images
หากเอกสารการฉีดวัคซีนของเด็กเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เซอร์วิสส์ ออสเตรเลียสามารถแปลเอกสารนั้นให้คุณได้

อย่างไรก็ตาม นโยบาย ‘ไม่ฉีด ไม่เล่น’ ยังเป็นอีกข้อกำหนดในระดับปฐมศึกษา ทั้งไชลด์แคร์ เดย์แคร์ และโรงเรียนอนุบาลด้วย

เนื่องจากข้อกำหนดแตกต่างไปตามแต่ละท้องถิ่น ผู้ปกครองควรตรวจสอบข้อกำหนดที่บังคับใช้ในรัฐหรือมณฑลที่อาศัยอยู่

รศ. แอตต์เวลล์สรุปข้อกำหนดที่ใช้ส่วนใหญ่

“รัฐที่บังคับใช้นโยบาย ‘ไม่ฉีด ไม่เล่น’ คือรัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย รัฐวิกตอเรีย รัฐนิวเซาท์เวลส์ และรัฐเซาท์ ออสเตรเลีย ทั้ง 4 รัฐนี้มีระเบียบที่คล้ายกันในการลงทะเบียน คุณต้องแสดงประวัติการฉีดวัคซีน เพื่อแสดงว่าลูกของคุณได้รับวัคซีนครบถ้วนตามกำหนด หรือได้รับการยกเว้น หรือกำลังรอการฉีดวัคซีนกระตุ้น หรือมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ของการยกเว้นของรัฐ”

ยังคงมีบางกรณีที่เด็กไม่เหมาะจะรับวัคซีนด้วย

“มีเหตุผลสองประการ ประการแรกคือเด็กประวัติแพ้วัคซีนรุนแรง ประการที่สองคือ วัคซีนบางชนิดผลิตขึ้นจากสิ่งมีชีวิตหรือไวรัสเฉพาะ โดยไวรัสนั้นถูกทำให้อ่อนแอลงแต่ไม่ได้ถูกฆ่า เรียกว่าวัคซีนเชื้อตาย และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอไม่ควรได้รับวัคซีนเชื้อตาย เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขา”
Australia Explained - Child Immunisation
หากบุตรหลานของคุณมีโรคประจำตัวหรือมีโรคที่ซับซ้อน คุณสามารถปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีนกับแพทย์ทั่วไปได้ Credit: The Good Brigade/Getty Images
การยกเว้นการรับวัคซีนมีข้อจำกัดที่เข้มงวด และผู้ให้บริการฉีควีคซีนที่ได้รับการรับรองเท่านั้นที่จะสามารถประเมินและรับรองว่าเด็กไม่ควรรับวัคซีน

รศ. แอตต์เวลล์กล่าวว่า ผู้ปกครองที่กังวลเรื่องการฉีควัคซีนสำหรับเด็กหรือมีข้อสงสัย ควรหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่มีหลักฐานอ้างอิง เช่น ซึ่งดำเนินการโดย
ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์และขอคำปรึกษา พูดคุยกับแพทย์จีพี หรือหากผู้ปกครองยังลังเลและคิดว่าแพทย์จีพียังไม่สามารถให้คำตอบได้ สามารถขอส่งตัวไปที่คลินิกวัคซีนพิเศษของรัฐ แต่ต้องมีการส่งตัวไป ดังนั้นควรพยายามพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เสียก่อน
รศ. แอตต์เวลล์กล่าว
เมื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก ผู้ปกครองควรรู้สึกว่าสามารถถามคำถามได้โดยไม่ต้องกังวล ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสิน หรือจะได้รับการดูถูก

“มันเป็นการหาผู้เชี่ยวชาญที่มีปฏิสัมพันธ์อันดีกับคุณ ที่คุณรู้สึกปลอดภัยที่จะถาม เพื่อหาคำตอบ และเพื่อให้การยืนยันกับคุณ”

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share