ให้แสงนำทางปัญหาสุขภาพจิต

A little girl lies in bed, wrapped in a cozy duvet

ปริมาณและชนิดของแสงที่เราได้รับส่งผลต่อสุขภาพจิตของเรา Source: Getty / Catherine Falls Commercial/Getty Images

รายงานเผยแสงอาทิตย์ช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพจิต การได้รับแสงแดดตอนกลางวันสามารถลดความเสี่ยงให้น้อยลงได้


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

แสงแดดส่งผลต่อสุขภาพจิตของเรา

การวิจัยล่าสุดของสถาบันสมองและสุขภาพจิต (Institute for Brain and Mental Health) จากมหาวิทยาลัยโมนาช (Monash University) ระบุว่าแส งไฟในเวลากลางคืนเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการผิดปกติทางจิตเวช (psychiatric disorders)

และพบว่าการได้รับแสงแดดจะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องนี้ได้

ศาสตราจารย์ฌอน เคน หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าวิธีที่เราได้รับแสงในปัจจุบันนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย

“โดยปกติแล้วเราใช้เวลาอยู่ในตัวอาคารมากเกินไป และนั่นเป็นผลเสียหลายประการ หนึ่งคือแสงในเวลากลางวันที่เราได้รับสลัวกว่าที่ควรจะเป็น แต่แสงในเวลากลางคืนค่อนข้างสว่าง เราอาศัยอยู่ในบ้านที่เรามีแสงอยู่เหนือศีรษะ เราจ้องอุปกรณ์ซึ่งเป็นแสงประดิษฐ์ที่เรามีต่างๆ”
การวิจัยนี้นับว่าเป็นการวิจัยในหัวข้อการได้รับแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตรวจสอบการสัมผัสแสงกับผู้ร่วมทำการทดลองกว่า 87,000 คน ติดตามการได้รับแสงในเวลากลางวันและกลางคืน

จากนั้นนักวิจัยเชื่อมโยงกิจวัตรเหล่านั้นกับความเสี่ยงที่จะพัฒนาอาการผิดปกติทางจิตเวช

นักวิจัยพบว่า 30% ของผู้ร่วมทำการทดลองที่ได้รับแสงในเวลากลางคืนมากกว่าในเวลากลางวันมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า และ 20% ของผู้ร่วมทำการทดลองที่ได้รับแสงในเวลากลางวันและกลางคืนเท่าๆ กันมีความเสี่ยงน้อยกว่า

ผลการวิจัยยังพบได้กับกลุ่มที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง (self-harm behaviour) โรคจิต (psychosis) โรคไบโพลาร์ (bipolar disorder) โรควิตกกังวล (Generalised Anxiety Disorder) และโรคเครียดที่เกิดหลังประสบเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder)

ศาสตราจารย์เคนกล่าวว่าผลการวิจัยนี้ควรถูกพิจารณาอย่างจริงจัง
สิ่งที่เราทำได้คือพยายามรับแสงแดดในเวลากลางวัน
"ออกไปข้างนอกมากขึ้น รับแสงแดดทางตา ถอดแว่นกันแดดออก พยายามอยู่ในที่ที่มีแสงสลัวในเวลากลางคืน ใช้แสงอบอุ่นจะดีกว่า แสงจากเทียนก็ค่อนข้างดี”

ศาสตราจารย์เคนเสริมว่าแสงยังรบกวนวงจรการนอนหลับด้วย ทำให้นอนหลับลึกเป็นช่วงๆ

มูลนิธิการนอนหลับ (Sleep Health Foundation) กล่าวว่าการนอนหลับสัมพันธ์กับสุขภาพจิต และทั้งสองสิ่งส่งผลต่อกันและกัน

ผู้สนับสนุนเรื่องการนอนหลับที่ดีพบว่าการนอนหลับที่ดีอาจป้องกันไม่ให้ปัญหาสุขภาพจิตกำเริบอีกได้

คุณมอยรา จุงกา (Moira Junga) ผู้บริหารมูลนิธิกล่าวว่าแสงส่งผลต่อฮอร์โมนที่ช่วยเรื่องการนอนหลับและฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดี

“เราทราบดีว่าเมลาโทนิน (melatonin) เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการนอนหลับ และเมลาโทนินจะหลั่งออกมาในเวลามืด หลายคนไม่ทราบว่าแค่การหลับตาก็ยังมีปฏิกิริยากับแสงในสมองและกระบวนการของสมอง เช่นเดียวกันการออกไปที่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจะเพิ่มประมาณเซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดีและมีความสุข”
30% ของผู้ที่ร่วมทำการทดลองที่ได้รับแสงตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวันมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า
30% ของผู้ที่ร่วมทำการทดลองที่ได้รับแสงตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวันมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า Credit: Unsplashed, Nik Shuliahin
ศาสตราจารย์เคนกล่าวว่าสิ่งสำคัญคือการทำตามขั้นตอนง่ายๆ นี้เพื่อดูแลสุขภาพจิตของเรา

“มันเป็นเรื่องง่ายมากๆ มันคือการออกไปรับแสงในเวลากลางวันให้ได้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ และอยู่ในที่มืดในตอนกลางคืนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทำให้สม่ำเสมอ ร่างกายของเราต้องการความสม่ำเสมอ ร่างกายต้องการทราบว่าเวลากลางคืนเมื่อไหร่ กลางวันเมื่อไหร่ ดังนั้นการตระหนักถึงเรื่องนี้จะทำให้เรามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นและทำให้เรามีสุขภาพดีขึ้นโดยรวม"
ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องสุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการมีอายุยืนยาวและสุขภาพร่างกายด้วย
ศาสตราจารย์เคนกล่าว
บริการให้ข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพจิต 24 ชั่วโมง (Beyond Blue) 1300 224 636 หรือ

บริการสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาทางอารมณ์ 24 ชั่วโมง (Lifeline) โทร 13 11 14 หรือ 

บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องอารมณ์รุนแรง ความสัมพันธ์และการเลี้ยงดูบุตร 24 ชั่วโมง (No To Violence) 1300 766 491  

บริการปรึกษาสำหรับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ  โทร 1800 184 527

บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้เยาว์ 24 ชั่วโมง (Kids Helpline) โทร 1800 55 1800 หรือ  

บริการให้คำปรึกษาป้องกันการฆ่าตัวตายและสุขภาพจิต เป็นบริการโทรกลับ (Suicide Call Back Service) โทร 1300 659 467


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share