กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
จากงานเสวนามองสถานการณ์และอนาคตประชาธิปไตยในอาเซียน ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกลเข้าร่วมงาน หนึ่งในประเด็นที่มีการกล่าวถึงคือความร่วมมือระหว่างประเทศของไทยและออสเตรเลีย
เอสบีเอสไทยสัมภาษณ์ถึงความเห็นและมุมมองในประเด็นดังกล่าว
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
พิธาร่วมเสวนามองสุขภาพประชาธิปไตยอาเซียนที่ม.เมลเบิร์น
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย
ประเทศไทยและออสเตรเลียมีความสัมพันธ์ทางการทูตร่วมกันกว่า 70 ปี ทั้งไทยและออสเตรเลียเป็นสมาชิกอาเซียน โดยออสเตรเลียเป็นประเทศพาร์ทเนอร์ที่ร่วมก่อตั้งอาเซียนเป็นประเทศแรก มีบทบาทมากในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมประชาธิปไตยในภูมิภาค
พิธามองว่าไทยสามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับออสเตรเลียให้ดีขึ้นได้อีก ทั้งเรื่องการพัฒนาศักยภาพ การค้า การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการร่วมกันแก้ปัญหาหรือความท้าทายที่กำลังเผชิญ เพื่อให้สามารถเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่มูลค่า (value chain) ของโลกร่วมกันได้ โดยไม่เลือกข้างตามประเทศมหาอำนาจ
“ใช้ competitive advantage ของทั้ง 2 ประเทศให้กลายเป็น collective advantage”
พิธามองว่า เมื่อเรามีอำนาจกลาง (middle power) ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เราจะมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น และอาจพัฒนาไปสู่การเป็นสะพานเชื่อมมหาอำนาจได้
คนทำงานในฟาร์มกำลังเก็บผลไม้ Credit: Pexels/Thủy Durio
การพัฒนาศักยภาพแรงงานไทย
ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศจุดหมายปลายทางของการศึกษาต่อและการมาทำงานของคนไทย
สำหรับการพัฒนาศักยภาพแรงงานไทย พิธามองว่าต้องเริ่มจากในประเทศไทยและปรับตามตลาดของแต่ละประเทศที่จะส่งไป โดยสนับสนุนการส่งออกแรงงานที่เป็น hi-tech และ hi-touch เช่น อาชีพบาร์เทนเดอร์หรือสาขาอาชีพการช่างต่างๆ
“ตอนที่ผมไปนิวยอร์ก บาร์เทนเดอร์เป็นอาชีพเป็นที่ต้องการมาก มันเป็นสิ่งที่คนไทยเก่ง เป็นสิ่งที่คนไทยขายได้ เป็นสิ่งที่อยู่ใน DNA ของคนไทยอยู่แล้ว”
นอกจากเรื่องทักษะแล้ว พิธาย้ำว่าควรมีการฝึกฝนภาษาอังกฤษตั้งแต่แรก โดยยกตัวอย่างคนมาเลเซียว่าสามารถพูดได้ 4 ภาษาจึงเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเป็นแรงงานในต่างประเทศ
ในทางกลับกัน ไทยควรดูแลสวัสดิภาพแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยด้วย เช่น แรงงานจากเมียนมาร์และกัมพูชา
รวมถึงสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนไทยในต่างแดน ทั้งการถูกขูดรีดเอาเปรียบและแรงงานที่เข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย
มาที่นี่ก็มีความเสี่ยง มาที่นี่ต้นทุนชีวิตก็สูงเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะมีระบบสาธารณูปโภคที่ดี แต่ก็ยังเป็นประชาชนชั้นสอง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการเจรจาพิธากล่าว
ช่างกำลังซ่อมรถยนต์ Credit: Pexel-Malte Luk
การผลักดัน Soft power ของไทย
การส่งออก soft power ที่รัฐบาลไทยยกให้เป็นวาระแห่งชาติ พิธาวิเคราะห์ว่าไม่ใช่ทุกอย่างจะเป็น soft power ได้ทั้งหมด ยังมีปัจจัยเรื่องธุรกิจสร้างสรรค์ (creative economy) การสร้างแบรนด์ (branding) และการตลาด (marketing) ร่วมด้วย
เมื่อถามถึงสิ่งที่ไทยจะสามารถดึงดูดชาวต่างชาติ รวมถึงชาวออสเตรเลีย ให้เดินทางเข้ามาประเทศไทย พิธาคิดว่าจุดแข็งของประเทศไทยคือเรื่องทักษะทางเทคนิค (technical skill) ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศเพื่อนบ้านสามารถมาศึกษาเพื่อกลับไปพัฒนาประเทศได้
“Technical skill ที่คนไทยมี ในอุตสาหกรรมยานยนต์ สิ่งทอ งานฝีมือ การทำอาหาร การท่องเที่ยว”
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ขณะให้สัมภาษณ์กับ SBS Credit: SBS
ฟังได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
ฟังบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
'พิธา' วิเคราะห์ความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลีย การส่งออกแรงงาน และ soft power
SBS Thai
12/07/202411:59
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่