กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
คุณ จิ๊บ ปิยาภรณ์ ลา พอร์ ตา พยาบาลวิชาชีพในนครเมลเบิร์น เล่าว่าเธอเคยเป็นพยาบาลวิชาชีพที่เมืองไทยมาก่อนแต่การเข้าเวรและความกดดันในการทำงานทำให้เธอเลือกที่จะลาออกแล้วออกมาหาประสบการณ์ที่ออสเตรเลียโดยวีซ่า work and holiday
“เคยเป็นพยาบาลที่เมืองไทย เป็นพยาบาลห้องฉุกเฉิน เช็คอัพ ตามวอร์ดต่างๆ” แล้วรู้สึกว่าเบื่อกับการขึ้นเวร เลยออกมาหาประสบการณ์ที่ออสเตรเลีย”
คุณจิ๊บ เปิดเผยว่าแม้ว่าเธอจะเบื่อกับการทำงานในสายอาชีพพยาบาลที่เมืองไทยแต่สุดท้ายแล้วเธอกลับมาเลือกเรียนเป็นพยาบาลที่ออสเตรเลียอีกครั้ง แต่เพราะเธอทิ้งระยะเวลาตั้งแต่จบมาจากเมืองไทยจนตัดสินใจมาเรียนพยาบาลในออสเตรเลียนานเกินไป ทำให้เธอต้องเริ่มเรียนใหม่ทั้งหลักสูตร
“ตัวเองมีโอกาสในการทำงาน Nursing home เป็น personal care assistant (PCA) มา 7-8 ปี เลยคิดว่าถ้าเราทำตรงนี้ไปนานๆ แล้วจะทำอะไรดีในอนาคต ก็เลยมีความคิดที่จะกลับไปเป็นพยาบาลใหม่อีกครั้ง”
แต่ความที่ไม่ได้ทำงานหลายปี และมี gap เยอะจากที่จบมาก็ประมาณ 10 ปี ก็เลยต้องเริ่มเรียนใหม่ทั้งหลักสูตรเลยคุณ ปิยาภรณ์ ลา พอร์ ตา
คุณจิ๊บแนะนำว่าคนที่จบพยาบาลจากเมืองไทยสามารถเทียบโอนวุฒิกับสภาพยาบาลแห่งออสเตรเลียได้ แต่อาจจะต้องผ่านคุณสมบัติด้านภาษาหรือเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเพิ่มบางหน่วยกิตแล้วสามารถเริ่มอาชีพพยาบาลในออสเตรเลียได้
คุณ ปิยาภรณ์ ลา พอรฺ์ ตา พยาบาลวิชาชีพในนครเมลเบิร์นจบการศึกษาปริญญาตรีสาขาพยาบาลในออสเตรเลีย
“เราสามารถ self-check ได้ว่าเราอยู่ใน category ไหนของสภาพยาบาลแห่งออสเตรเลีย แล้วเค้าจะมีขั้นตอนบอกเราว่าเราต้องทำอย่างไรบ้าง อาจจะต้องสอบภาษา หรือเรียนต่อในมหาวิทยาลัยหรืออาจจะทำงานเป็นพยาบาลได้เลย”
อ่านเพิ่มเติม
สู่เส้นทางอาชีพพยาบาล
การทำงานเป็นพยาบาลในเนอร์สซิ่งโฮมและการเป็นในโรงพยาบาลมีความต่างกันในเรื่องของหน้าที่ความรับผิดชอบหรือหน้าที่ประจำวัน ซึ่งพยาบาลในเนอร์สซิ่งโฮมอาจจะมีงานเอกสารหรือการติดต่อสื่อสารกับหลายฝ่ายมากกว่างานโรงพยาบาล
“พยาบาลที่โรงพยาบาลจะมี clinical practice มากกว่า ใช้หัตกรรมมากกว่า แต่การเป็นพยาบาลในเนอร์สซิ่งโฮมจะมีงานเอกสารมากกว่างานโรงพยาบาล เราติดต่อคนเยอะมากในเวรแต่ละวันไม่ว่าจะกับหมอ เภสัชกร นักโภชนาการ นักกายภาพบำบัด”
ส่วนข้อดีของพยาบาลที่ทำงานในเนอร์สซิ่งโฮมคือสามารถเลือกวันและเวลาเข้าเวรได้ซึ่งอาจจะเหมาะกับวิถีชีวิตของใครหลายคนรวมถึงคุณจิ๊บด้วย และยังสามารถพัฒนาและสั่งสมประสบการณ์เพื่อที่จะต่อยอดในสายอาชีพได้
พยาบาลในเนอร์สซิ่งโฮมถ้าเป็น permanent สามารถเลือกกะที่ทำงานได้ ซึ่งเหมาะกับ lifestyle ของตัวเอง ตารางงานเหมือนกันทุกอาทิตย์ ไม่ต้องขึ้นเวรเหมือนในโรงพยาบาลซึ่งตารางเวรจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆคุณ ปิยาภรณ์ ลา พอร์ ตา
“เราสามารถพัฒนาตัวเองไปเป็น care manager ได้ เป็นหัวหน้าพยาบาลทำเกี่ยวกับ management บุคคลเหล่านี้ก็มีรายได้เยอะขึ้นไปอีก”
คุณ ปิยาภรณ์ ลา พอร์ ตา พยาบาลวิชาชีพที่ทำงานในสถานพักฟื้นคนชรา (Nursing home) นครเมลเบิร์น
คุณจิ๊บแนะนำคนที่สนใจสายงานอาชีพพยาบาลในเนอร์สซิ่งโฮมต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ ความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้คนหลากหลาย การมีความคิดวิเคราห์ที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีและการมีทักษะการจัดการได้ดี
“พยาบาลในเนอร์สซิ่งโฮมถือว่าเป็น leader ใน shift นั้นๆ เราต้องมีความรับผิดชอบสูงเพราะต้องมีการแก้ปัญหามากมายที่เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง มี good communication เพราะต้องติดต่อกับคนหลากหลาย stress management ซึ่งไม่เพียงแต่กับ residents แต่รวมไปถึงครอบครัวด้วย เพราะทำงานในเนอร์สซิ่งโฮมมีความกดดันง่าย แล้วก็มี critical thinking และ time management”
คุณจิ๊บทิ้งท้ายว่าสำหรับเธองานพยาบาลในเนอร์สซิ่งโฮมเป็นอาชีพที่เหมือนได้รางวัลกับชีวิตทุกวันเพราะไม่เพียงแต่ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อยู่ในความดูแลแต่ยังได้ช่วยเหลือครอบครัวของพวกเขาด้วย
ในเนอร์สซิ่งโฮม เราได้เจอ residents ทุกวันเราผูกพันดูแลกันเหมือนคนในครอบครัว พอเค้าจากไปก็มีการเชิญไปงานศพแล้วครอบครัวของพวกเขาก็มีการเอ่ยชื่อเราว่าขอบคุณที่ดูแลพ่อ /แม่เค้าเป็นอย่างดี มันทำให้เรารู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมามันเป็น reward ในทุกๆวันคุณ ปิยาภรณ์ ลา พอร์ ตา
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
พยาบาลคนไทยเล่าประสบการณ์ทำงานช่วงโควิด
เรื่องราวที่น่าสนใจ
หญิงไทยเล่านาทีระทึกโดนปรับเพราะนำผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อหมูเข้ามาในออสเตรเลีย