คำอภิธานศัพท์ไทยของกลุ่ม LGBTIQA+ การใช้ภาษาให้เหมาะสม ครอบคลุมทุกกลุ่ม

BS cover Interview LGBT terminology.jpg

ล่าม นักแปลและอาสาสมัครคนไทย เบื้องหลังการจัดทำคำอภิธานศัพท์สำหรับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ Credit: Supplied

ล่ามไทย นักแปลไทย และอาสาสมัครจาก AGMC องค์กรช่วยเหลือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในออสเตรเลียพูดถึงคำอภิธานศัพท์สำหรับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศในชื่อ Rainbow Terminology การทำงานในการสร้างคำอภิธานศัพท์นี้ และการใช้ให้เหมาะสม


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คำอภิธานศัพท์ภาษาไทยสำหรับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย RMIT และองค์กร AGMC (Australian GLGBTIQ Multicultural Council)
มีการจัดทำตั้งแต่ต้นปี 2023 ขณะนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วในชื่อ ด้วยจุดประสงค์เพื่อนิยามคำศัพท์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

คุณสมพิศ (หม่อม) วัตกินส์และคุณนวลอนงค์ (นวล) เศรษฐศรีดำรง ทั้งสองท่านเป็นล่ามและนักแปลไทยที่มีใบรับรอง NAATI และอาจารย์จากมหาวิทยาลัย RMIT พูดถึงการใช้คำอภิธานศัพท์นี้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีคำกำกับอยู่ด้านหน้าสำหรับการนำไปใช้
คำศัพท์ภาษาอังกฤษสีเขียวกำกับด้านหน้าว่า Ok to use (ใช้ได้)

“เป็นคำศัพท์ที่ใช้ได้ทั่วไปและไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กับใครค่ะ” คุณนวลอนงค์ (นวล) กล่าว

สำหรับคำศัพท์ภาษาอังกฤษสีแดงกำกับด้านหน้าว่า Warning (คำเตือน)

“คำศัพท์ที่ถือว่าเป็นคำที่ล้าสมัย หรือว่าเป็นเชิงดูถูก หรือเป็นที่โต้เถียงกันในภาษาอังกฤษ อาจจะเป็นที่โต้เถียงในภาษาไทยเราด้วย เพราะฉะนั้นเวลาจะใช้ก็ต้องใช้ความระมัดระวังนะคะ เพราะอาจจะสร้างความขุ่นเคืองได้ค่ะ” คุณสมพิศ (หม่อม) กล่าว
Photo-TI 03.jpg
คุณนวลอนงค์และคุณสมพิศให้สัมภาษณ์ที่สตูดิโอ เอสบีเอส เมืองเมลเบิร์น Credit: SBS Thai
คุณสมพิศและคุณนวลอนงค์เล่าถึงการทำงานว่าการหาคำศัพท์เป็นกระบวนการที่เริ่มจากการทำเวิร์คชอป (workshop) กับอาสาสมัครที่ใช้ศัพท์เหล่านี้จากกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ
หลังจากได้คำศัพท์มาแล้วเราก็มากลั่นกรองกัน มีการค้นหาคำศัพท์จากหน่วยงานต่างๆ ที่น่าเชื่อถือจากประเทศไทย
"เอามาคัดกรอง แล้วก็เวิร์คชอปอีกครั้งหนึ่งเพื่อทดสอบว่าคำพวกนี้ใช้ได้จริงหรือไม่กับชุมชนที่มีความหลากหลายทางเพศ” คุณสมพิศ (หม่อม) กล่าว

“หลังจากขั้นตอนเวิร์คชอปสิ้นสุดลงแล้ว มันก็ไม่ได้จบแค่นั้นค่ะ นักแปลในทีม 2 คนก็ต้องมาคุยและคัดกรองกันอีกหลายขั้นตอน แล้วก็มีการส่งกลับไปกลับมา เช็ค ทวนกันหลายรอบมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้น"
แล้วก็เพื่อให้แน่ใจว่าเราแปลถูกแล้วจริงๆ ครอบคลุมทุกอย่างจริงๆ ไม่ให้มีอะไรผิดพลาดได้ค่ะ
คุณนวลอนงค์กล่าว
คุณสมพิศ (หม่อม) วัตกินส์และคุณนวลอนงค์ (นวล) เศรษฐศรีดำรงได้พูดถึงการนำอภิธานศัพท์นี้ไปใช้ได้ทั้งในวงการล่ามและนักแปล ในกลุ่มชุมชนคนไทย และอนาคตของการพัฒนาคำอภิธานศัพท์นี้ตามสมัยและภาษาที่เปลี่ยนแปลงเสมอ รวมถึงเคล็ดลับการใช้ภาษาให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม

ฟังได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม

Photo-Sam 02.jpg
คุณแซม แป้นสิงห์ อาสาสมัครจาก AGMC องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ Credit: Supplied
คุณแซม แป้นสิงห์ อาสาสมัครจาก AGMC เผยว่ารู้สึกดีใจที่ได้เห็นคำอภิธานศัพท์ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
คนไทยจะได้มีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำศัพท์เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศมากขึ้นนะครับ
"แล้วที่สำคัญเราแปลและส่งต่อข้อมูลไปในระบบออนไลน์หมดเลย ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัยด้วยครับ”

เนื่องจากคำอภิธานศัพท์ไม่ได้มีแค่ภาษาไทย คุณแซมกล่าวว่าเพราะกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศต่างก็มีภูมิหลังและวัฒนธรรมที่หลากหลายเช่นกัน สิ่งนี้จะช่วยให้มีความเข้าใจในภาษาและในบริบทที่แตกต่างกัน

“เราสามารถแปลคำภาษาอังกฤษที่มีความเฉพาะเจาะจงในหมวดหมู่ของความหลากหลายทางเพศในหลายภาษา และไปปรับเข้ากับวัฒนธรรมของภาษานั้นด้วยครับ”

คุณแซมยังพูดถึงการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมและเคารพในความหลากหลายของแต่ละบุคคลด้วย

ฟังได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม

กด ▶ เพื่อฟังบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
Thai_Interview_LGBT terminology complete_201023 image

คำอภิธานศัพท์ไทยของกลุ่ม LGBTIQA+ การใช้ภาษาให้เหมาะสม ครอบคลุมทุกกลุ่ม

SBS Thai

20/10/202313:08
บริการปรึกษาสำหรับกลุ่มความหลากหลายทางเพศ  โทร 1800 184 527

สมาพันธ์เพื่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศแห่งออสเตรเลีย (Australian GLGBTIQ Multicultural Council หรือ AGMC) agmc.org.au


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share