กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน
เมลเบิร์นแซงหน้าซิดนีย์ขึ้นเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า 5 ล้านคน
นับตั้งแต่ปี 1902 ผู้อยู่อาศัยในซิดนีย์สูงกว่าเมลเบิร์นและรั้งตำแหน่งเป็นเวลาหลายร้อยปี จนถึงปัจจุบัน
สำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย (Australian Bureau of Statistics) ใช้หลายวิธีในการคำณวนจำนวนประชากรในเมือง การจำแนกเขตเมืองจากปัจจัยสำคัญต่างๆ รวมถึงบริเวณโดยรอบของใจกลางเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 10,000 คน
คุณแอนดรูว์ ฮาว (Andrew Howe) จากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียกล่าวว่า สถิติของเมืองเมลตัน (Melton) มีส่วนทำให้เป็นดังนั้น
“สำหรับเมลเบิร์น มีบริเวณตัวเมืองของเมลเบิร์นเอง แต่ยังรวมถึงเมลตันซึ่งเป็นศูนย์กลางการเติบโตของย่านตะวันตกของเมลเบิร์นด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วกลายเป็นศูนย์กลางของการเติบโตของประชากรอย่างต่อเนื่อง และขณะนี้สูงกว่าซิดนีย์”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เมลเบิร์นติดอันดับ 10 เมืองน่าอยู่ที่สุดในโลกปีนี้
การเติบโตของประชากรบริเวณภูมิภาคแถบตะวันตกของรัฐวิกตอเรียเพิ่มขึ้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันเมลเบิร์นมีจำนวนประชากรมากกว่าซิดนีย์ประมาณ 19,000 คน โดยมีประชากรทั้งหมดประมาณ 5.8 ล้านคน
คุณฮาวกล่าวว่าการย้ายถิ่นทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศทำให้เมลเบิร์นเติบโต
การย้ายถิ่นเป็นปัจจัยหลัก จำนวนประชากรเปลี่ยนไปเนื่องจากการย้ายถิ่น
"และจากการคำณวนจากจำนวนประชากรที่เกิดลบกับจำนวนประชากรที่เสียชีวิต ในอดีตเมื่อเราเปรียบเทียบเมลเบิร์นกับซิดนีย์ สิ่งที่เราพบในแง่ของการอพยพย้ายถิ่นจากต่างประเทศนั้นซิดนีย์มีสูงกว่าเมลเบิร์นเล็กน้อย สูงกว่าประมาณ 5 แสนคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างเมลเบิร์นและซิดนีย์ในแง่ของการย้ายถิ่นคือลักษณะที่ประชากรย้ายถิ่นฐานในบริเวณภูมิภาค”
สะพานข้ามแม่น้ำยาร์รา ที่เมลเบิร์น Source: SBS
“แน่นอนในแง่ของสถิติของเมืองหลวงซึ่งเป็นสิ่งที่มักใช้เพื่อกำหนดพื้นที่มหานครใหญ่ต่างๆ ของเมืองหลวงแต่ละรัฐของเรา ซิดนีย์จะยังคงใหญ่กว่าเมลเบิร์น เหตุผลหลักคือมันรวมถึงบริเวณชายฝั่งตอนกลางและบริเวณนี้เป็นเรื่องที่ไม่เหมือนใคร บริเวณนี้รวมอยู่ในมหานครซิดนีย์เพราะเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจของซิดนีย์และมีประชากรที่ทำงานอยู่ในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของเขตตัวเมืองที่สำคัญได้เพราะไม่ได้เป็นบริเวณเมืองที่อยู่ติดกัน เนื่องจากแม่น้ำฮอว์คสเบอร์รี (Hawkesbury River)”
ภาพสะพานฮาร์เบอร์ บริดจ์ และโอเปร่า เฮาส์ ที่ซิดนีย์ Source: AAP
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พอล แอชตัน (Paul Ashton) ผู้สอนด้านประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (University of Technology Sydney) กล่าวว่าการแข่งขันของทั้งสองเมืองใหญ่นี้จะยังคงดำเนินต่อไป
การแข่งขันระหว่างเมลเบิร์นและซิดนีย์ฝังรากลึกทางประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน
"ในช่วงทศวรรษ 1840 มีโครงการนำผู้อพยพจากเมืองในอาณานิคมมาเพื่อเป็นกรรมกร แรงงาน คนเลี้ยงแกะและอื่นๆ มีคำแนะนำจากรัฐนิวเซาท์เวลส์ให้โครงการดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนด้วยการขายที่ดินในพอร์ท ฟิลลิป (Port Phillip) ซึ่งปัจจุบันคือรัฐวิกตอเรีย ซึ่งเดิมไม่พอใจกับรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่ทำให้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ด้วยการใช้พวกเขาและขายที่ดินเพื่อนำแรงงานที่มีทักษะเข้ามาทำงานในเขตอาณานิคม สิ่งนี้กลายเป็นปัญหาที่ฝังรากลึกระหว่างทั้งสองเมือง”
ข้อโต้เถียงนี้จะยังคงดำเนินต่อไปอย่างแน่นอน
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ราคาบ้านพุ่งในนครหลวงทั่วออสเตรเลีย
เรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ
เมื่อการตรวจสอบบ้านเช่าไม่ใช่แค่จัดห้อง มาเช็คกันว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง?