เมื่อเร็ว ๆ นี้ คุณ กฤษณะ ละไล พิธีกรชื่อดังจากประเทศไทย พร้อมคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เดินทางมายังหลายเมืองในออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นสำหรับผู้คนที่ต้องนั่งรถวีลแชร์หรือรถเข็นโดยเฉพาะ
“ผมเรียกตัวเองว่าเป็น ‘มนุษย์ล้อ’ เพราะว่าใช้ล้อเดินต่างเท้า เนื่องจากประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ประเทศไทยเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ทำให้ต้องใช้ชีวิตบนวีลแชร์มาโดยตลอด ที่ผมมาออสเตรเลียเพื่อมาศึกษาดูการพัฒนาการออกแบบของชาวออสซีว่าเขาทำอย่างไรให้ทุกคนรู้สึกถึงความเสมอภาคเท่าเทียม”
ถึงจะนั่งวีลแชร์ แต่คุณกฤษณะ ละไล ก็สามารถเดินทางไปชมความงามของขุนเขาในออสเตรเลียได้ Source: Supplied / Krisana Lalai
คุณ กฤษณะ เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้รับในการเดินทางมาดูงานในออสเตรเลียครั้งนี้
“ผมได้มาเห็นออสเตรเลียครั้งนี้ ผมรู้สึกทึ่งมาก ๆ เลยนะ ผมพูดจากใจจริงเลยว่า ออสเตรเลียดีกว่าที่ผมคิดเอาไว้ มาคราวนี้ผมมาเจาะลึกโดยไปหลายที่หลายเมือง ก็ทำให้ได้เห็นความเป็นแก่นแท้ในหลักธรรมของการออกแบบที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อย่างที่สหประชาชาติตั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั้งยืน คือออสเตรเลียเป็นต้นแบบในเรื่องนี้ได้เลย ผมมาคราวนี้ ผมรู้สึกว่าผมไม่เป็นภาระของคณะที่มาด้วยกันเลย”
คุณกฤษณะ ละไล ได้เดินทางไปตามสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งในออสเตรเลีย เพื่อสำรวจระบบทางเท้าและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้วีลแชร์ที่นี่ Source: Supplied / Krisana Lalai
ผมรู้สึกทึ่งมาก ๆ เลยนะ ผมพูดจากใจจริงเลยว่า ออสเตรเลียดีกว่าที่ผมคิดเอาไว้ มาคราวนี้ผมเห็นความเป็นแก่นแท้ในหลักธรรมของการออกแบบที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังกฤษณะ ละไล
เขากล่าวต่อไปว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ออสเตรเลียมีจุดเด่นสำคัญที่สร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้คนที่ใช้วีลแชร์ ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันและการเดินทางท่องเที่ยว
“ที่ผ่านมา เราไปยุโรปกับคณะหลายเมือง ก็จะต้องเดือดร้อนถึงขนาดหัวหน้าคณะก็ต้องมายก มาแบกผม และเกือบต้องอุ้มด้วยซ้ำไป เพราะเจอบันไดในเมืองโบราณหรือเมืองเก่า แต่มาที่นี่ทุกคน happy มาก เพราะไม่ต้องยกผมขึ้นบันได เพราะที่ออสเตรเลียเนี่ย amazing มากสำหรับผมคือ หาบันไดหายากกว่าหาทางลาด แม้บางที่จะเป็นเนินเขา หลายที่เป็นหุบเขาสูงชัน อันตราย แต่เขาออกแบบให้เป็นมิตรมาก อย่างเช่น Blue Mountains ที่ Katoomba ซึ่งตั้งอยู่บนหุบเขา ถ้าโดยทั่วไป ไปไหนก็จะเจอแต่บันได ก็จะต้องยก อุ้ม แบก หาม ผมเป็นปกติ แต่ที่นี่บันไดหายากมาก ต้องขอบคุณสถาปนิก และทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่พร้อมจิตพร้อมใจทำบ้านเมืองให้เป็นมิตรกับคนนั่งวีลแชร์มาก ๆ ผมปลื้มมาก ๆ เลย เพราะเป็นการออกแบบที่ใส่ใจและมีน้ำใจมาก” คุณ กฤษณะ ละไล กล่าว
ต้องขอบคุณสถาปนิก และทุกองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน (ในออสเตรเลีย) ที่พร้อมจิตพร้อมใจทำบ้านเมืองให้เป็นมิตรกับคนนั่งวีลแชร์มาก ๆกฤษณะ ละไล
พิธีกรที่เรียกตนเองว่า 'มนุษย์ยกล้อ' ผู้นี้ยังได้ชี้ให้เห็นถึงนโยบายของออสเตรเลีย ที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันทำ เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้แก่ผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะมีสภาพร่างกายอย่างไร
จากที่ผมได้ไปมาสามเมืองคือ เมลเบิร์น ซิดนีย์ และบริสเบน ทำให้ผมเข้าใจและรู้สึกได้ถึงคำว่า ‘ลื่นไหล ไร้รอยต่อ’ และ Independent Living การใช้ชีวิตอิสระโดยไม่ต้องเป็นภาระหรือต้องพึ่งพาคนรอบข้างกฤษณะ ละไล
คุณ กฤษณะ ละไล ขณะเดินทางด้วยเรือของระบบขนส่งสาธารณะในออสเตรเลีย Source: Supplied / Krisana Lalai
คลิก ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์
พิธีกรดังจากไทยสำรวจการเดินทางในออสเตรเลียสำหรับคนนั่งวีลแชร์
SBS Thai
11/01/202418:12
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
จากเคสนร.ไทยติด 'แบคทีเรียกินเนื้อคน' จนต้องเสียขา มารู้จักโรคนี้ที่ระบาดอยู่ในออสเตรเลีย